สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล Champion DNA Investigator Award

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานสัมมนา “DNA-หัวใจของ กระบวนการยุติธรรม” และ ได้รับรางวัล Champion DNA Investigator Award

นายแพทย์ศราวุฒิ สุจริตธรรม โฆษกสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ รองผู้อํานวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองสารพันธุกรรม สถาบันฯ ร่วมงานสัมมนา “DNA-หัวใจของ กระบวนการยุติธรรม” ณ ห้องประชุมแจ้งยอดสุข อาคารศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากสํานักงานพิสูจน์หลักฐานตํารวจ สถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตํารวจ นําโดย พลตำรวจโท ดิเรก ธนานนท์นิวาส ที่ปรึกษา (สบ.8) แล ะสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิจากเครือข่ายนิติพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
การสัมมนาครั้งนี้จัดโดย Gordon Thomas Honeywell Government Affairs (GTH-GA) หน่วยงานระหว่างประเทศที่ดูแลเกี่ยวกับกฎหมาย และนโยบาย ฐานข้อมูลดีเอ็นเอ และมีการบรรยายพิเศษจาก Mr. Tim Schelberge ประธาน GTH-GA ในหัวข้อ วิธีการปฏิบัติระดับสากลในการใช้ฐานข้อมูล ดีเอ็นเอ และตัวอย่างคดีจากต่างประเทศที่สามารถนําไปสู่การจับกุมผู้กระทําความผิด เป็นการเน้นย้ำถึงความสําคัญของการจัดตั้งฐานข้อมูลดีเอ็นเอ โดย Mr. Tim กล่าวว่าหากมีฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติจะสามารถสืบหาจับกุมตัวคนร้ายได้ทันท่วงที ลดความสูญเสียต่อครอบครัวเหยื่อ และหากมีข้อมูลดีเอ็นเอในฐานข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นนอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอผู้ต้องขัง และกระบวนการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการเพื่อจัดทําฐานข้อมูลดีเอ็นเอของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองในระบบมาตรฐาน ISO 17025:2017 ร่วมด้วย พลตำรวจตรีหญิง สุเจตนา โสตถิพันธุ์ ผู้บังคับการ ศพฐ.1 บรรยายเรื่องการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอผู้ต้องขังทั่วประเทศ และการปฏิบัติงานร่วมกันในการจัดส่งรูปแบบสารพันธุกรรมเพื่อเปรียบเทียบในฐานข้อมูลสารพันธุกรรมของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จนประสบความสําเร็จในหลายคดี และในอนาคตจะได้มีการส่งเปรียบเทียบรูปแบบสารพันธุกรรมผ่านทางระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความรวดเร็วยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการตรวจพิสูจน์ การสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ Professor Dr. Bruce Budowle นักวิจัยระดับโลก จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ร่วมบรรยายและสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ Introduction to Likelihood Ratio Principles and DNA Mixtures และ Interpretation of complex DNA Profiles & Mixtures, Increased sensitivity of detection and reduced consumption of DNA Samples in Casework เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากรด้านการวิเคราะห์และการแปลผลการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมทางคดีของประเทศไทยอีกทั้ง สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยังได้รับรางวัล Champion DNA Investigator Award โดยกองสารพันธุกรรม ส่งผลงานการตรวจเปรียบเทียบทางคดีโดยใช้ฐานข้อมูลสารพันธุกรรมของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และได้รับรางวัลทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การตรวจเปรียบเทียบในฐานข้อมูลชี้ตัวผู้กระทําความผิดฐานล่วงละเมิดทางเพศ 2) การตรวจระบุความสัมพันธ์ทางสายโลหิตในฐานข้อมูลคลี่คลายคดีบุคคลสูญหายยาวนาน 8 ปี และ 3) การใช้ฐานข้อมูลดีเอ็นเอของผู้ต้องขังเพื่อการบ่งชี้การกระทําผิดซ้ำในคดียิงต่อสู้เจ้าพนักงานจนเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอผู้ต้องขังเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในประเทศไทย ซึ่งควรจะต้องมีการบูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงได้ขยายฐานข้อมูลดีเอ็นเอมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติฐานข้อมูลสารพันธุกรรมของผู้ต้องขัง คำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ” ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดประชาพิจารณ์ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่จะทำให้การจัดการฐานข้อมูลดีเอ็นเอได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” ทั้งนี้ หากประสงค์ขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ในด้านใด สามารถขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการร่วม One Stop Service สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม โทร 02 142 2646