“อลงกรณ์ พลบุตร” ในฐานะ ประธานมูลนิธิ Worldview Climate Foundation (WCF) ชี้ ปี พ.ศ. 2565 คือ จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุคใหม่ของการลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุภาวะโลกร้อน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานมูลนิธิ Worldview Climate Foundation (WCF) บรรยายพิเศษ หัวข้อ “ศักยภาพของโครงการบลู คาร์บอนในประเทศไทย” (Potential for blue carbon projects in Thailand” ในการประชุมนานาชาติจัดโดยมูลนิธิ Worldview International ที่ กทม. โดยแสดงวิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทย ในการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Nation) เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change) ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases:GHGs) อย่างจริงจังตามพันธกรณีที่นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศ เป้าหมายในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ โดยกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลาง (Carbon Neutrality)ของคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และ คาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งทำให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนเครือข่ายองค์กรประชาสังคม ได้เร่งรัดดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนเช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง มูลนิธิ WCF และ บริษัทเอกชนรายใหญ่เช่น เครือปูนซีเมนต์ไทย(SCG) ปตท. บริษัทเชลล์ประเทศไทย บริษัทบางจากปิโตรเลียม รวมทั้ง องคการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้กำหนดมาตรฐานของประเทศไทยว่าด้วยการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(T-VER)และกำลังพัฒนาสู่มาตรฐานสากลนายอลงกรณ์ กล่าวว่า ราคาการค้าคาร์บอน(Carbon Trading) เพิ่มขึ้น3เท่าตัวภายในปีเดียวจาก คาร์บอน ตันละ 34บาท ในปี ค.ศ. 2021เป็น107บาทในปี ค.ศ. 2022 เขื่อมั่นว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งราคาและปริมาณแบบก้าวกระโดดและปี ค.ศ. 2022 หรือ พ.ศ 2565 คือ จุดเปลี่ยนสำคัญของไทยในการขับเคลื่อนโครงการบลู คาร์บอนสู่ยุคใหม่ของการลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุภาวะโลกร้อน การตื่นตัวของภาคเอกชนและภาครัฐที่ดำเนินโครงการปลูกป่าบนบก โครงการปลูกป่าโกงกาง3แสนไร่ภายใน10ปีและล่าสุดคือโครงการส่งเสริมการปลูกเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลใน22จังหวัดติดชายทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันซึ่งดูดซับคาร์บอนสูงกว่าต้นไม้ทั่วไปถึง5เท่าทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงการดังกล่าวยังช่วยสร้างรายได้สร้างอาชีพใหม่ๆให้เกิดความเข็มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนประมงพื้นบ้านอีกด้วย.