“สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” นำคณะ สอท.จ่ายตลาดบางเขน อึ้ง! 500 บาทไม่พอค่ากับข้าว เห็นใจ “พ่อค้า-แม่ค้า-คนซื้อ” แบกภาระค่าครองชีพแพง จี้ รัฐบาลแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง
วันที่ 3 ก.ค.2565 เวลา 09.45 น. ที่ตลาดบางเขน กรุงเทพฯ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) พร้อมด้วยนายวัชระ กรรณิการ์ รองเลขาธิการพรรค นายนริศ เชยกลิ่น โฆษกพรรค นายพงศ์พรหม ยามะรัต และน.ส.โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ รองโฆษกพรรค ลงพื้นที่ตลาดบางเขน เขตหลักสี่ เพื่อสำรวจราคาสินค้าเครื่องอุปโภค บริโภค พร้อมจับจ่ายใช้สอยสินค้าภายในตลาด อาทิ เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เป็นต้น พร้อมทั้งพูดคุยรับฟังปัญหา และให้กำลังใจพ่อค้า แม่ค้า และประชาชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาค่าครองชีพแพงนายสนธิรัตน์ กล่าวว่าวันนี้มาลงพื้นเพื่อรับฟังปัญหาจากพี่น้องประชาชนโดยตรง ทั้งพ่อค้า แม่ค้า และผู้ซื้อว่าในสภาวะเช่นนี้เขารู้สึกอย่างไร ผู้ค้า และ ประชาชนลำบาก เรื่องของแพง และความเป็นอยู่ของประชาชนถือเป็นเรื่องใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข ซึ่งการเดินสำรวจตลาดครั้งนี้พ่อค้า แม่ค้าดีใจ ที่มาเยี่ยมเยียน ของแพงเกือบทุกอย่าง เราต้องกลับมาสะท้อนปัญหาของแพงไปให้ถึงรัฐบาล พรรคสร้างอนาคตไทยมีแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาของแพง คือ ทางรัฐบาลจะต้องโฟกัสให้ได้ในเรื่องของแพง เนื่องจากเป็นปลายทางที่กระทบที่น้องประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือน เพราะจะต้องซื้อของกินของใช้ อย่างเนื้อหมู ราคาแพงมาก ของต่างๆ ทั้งของกินของใช้มีการปรับราคาทั้งสิ้น เรื่องของแพงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเข้ามากำกับและควบคุมตั้งแต่ต้นทางเพราะของแพงมาจากหลายมิติ มิติแรกคือเรื่องค่าขนส่ง ที่กระทบจากราคาค่าพลังงานที่รัฐบาลจะต้องเจอปัญหาดังกล่าวไปอีกอย่างน้อยถึงสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งสมัยที่ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ค่าขนส่งจะคำนวณอยู่ที่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายสินค้าในตลาด แต่ไม่ได้หมายความว่าใน 2 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าขนส่งอย่างเดียว มีส่วนประกอบอื่นด้วยเช่นกัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เวลาขนส่ง ก็มีต้นทุนอยู่ในนั้นอีกประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนสินค้าที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นโดยเฉลี่ยคร่าวๆ ตนคิดว่าราคาน้ำมันแพงจะมีผลต่อราคาสินค้าปลายทางอย่างน้อย 3-4 เปอร์เซ็นต์นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า มิติที่สองคือ ต้นทางการผลิตอาหาร ซึ่งหัวใจสำคัญคือเรื่องอาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี ตรงนี้อยากเสนอให้รัฐบาลต้องไปดูตั้งแต่ต้นทาง เพราะวิธีแก้ปัญหาจะดูแต่เพียงปลายทางการกำกับราคาคงไม่ได้ เช่น ต้นทุนอาหารสัตว์ที่แพงขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี ที่ประสบปัญหาทั่วโลกจากภาวะสงคราม ขณะที่ข้าวโพด และมันสำปะหลังในประเทศก็ราคาแพงเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลต้องใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้ ต้องลงไปดูทีละรายการที่เป็นปัญหากระทบต่อราคาสินค้าของประชาชน รวมถึงการใช้มาตรการภาษีต่อสินค้านำเข้า เป็นต้น
“ข้อเสนอแนะอันหนึ่งให้ลองไปดูว่าเราสามารถใช้ความช่วยเหลือของรัฐบาลในการให้ปุ๋ยราคาถูกกับพี่น้องเกษตรกรในแนวคิดคล้ายๆ การประกันรายได้ได้หรือไม่ แต่การประกันรายได้เราไปประกันราคาปลายทาง แต่ขณะเดียวกันต้นทางมันขึ้น ถ้ารัฐบาลใช้มาตรการในการจัดสรรปุ๋ยราคาถูกต่อพี่น้องเกษตรกรหนึ่งครัวเรือนต่อจำนวนไร่ที่จะมีต้นทุนราคาถูก ให้รัฐบาลไปดำเนินการจัดหาปุ๋ยราคาถูกดำเนินการที่จะชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มนี้ ผมคิดว่านี่คือการแก้ปัญหาต้นน้ำ ของรายการสินค้าแพง ดังนั้นข้อเสนอแนะโดยรวมคือต้นน้ำที่สินค้าแพงมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า อยากให้รัฐบาลเข้าไปดูในรายละเอียดไม่ใช่ดูแค่ปลายทางว่าต้นทุนขึ้นหรือไม่ ขึ้นเท่าไหร่ ปรับราคาหรือไม่ปรับราคา ผมคิดว่าความลำบากของพี่น้องประชาชนนั้นรออยู่ ดังนั้นการเข้าไปลงลึกโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกาะติด และดูองค์ประกอบว่าอะไรที่จะอ่อนไหวต่อราคาสินค้า เป็นความจำเป็นของกระทรวงพาณิชย์กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และส่วนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง” นายสนธิรัตน์ กล่าวนายสนธิรัตน์ กล่าวว่า มิติสุดท้ายคือการบริหารจัดการ ต้นทุนสินค้าไปสู่มือพี่น้องประชาชน ซึ่งตนคิดว่าขณะนี้ผู้ค้าปลีก ค้าส่งก็ลำบาก ส่งต่อราคาสินค้าไม่ไหว ต้นทุนแพงขึ้น เรื่องนี้รัฐบาลต้องเข้าไปดูในการร่วมมือแก้ปัญหาพี่น้องผู้ประกอบการค้าปลีก ค้าส่ง 2 ด้าน โดยด้านที่ 1 คือทำอย่างไรไม่ให้เกิดการค้ากำไรเอาเปรียบในภาวะอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว ด้านที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มผู้ค้าที่เป็นผู้ค้าที่ดี ให้ผู้ค้าอยู่ได้ และไม่ส่งต่อราคาต้นทุนไปสู่ผู้ประกอบการในการที่จะดูทั้งระบบ
จากนั้นนายสนธิรัตน์ ได้โชว์สินค้าที่ซื้อจากตลาดในวันนี้ พร้อมระบุว่า “วันนี้ผมนำเงินมา 500 บาท ตั้งใจจะมาซื้อของ ซึ่งในอดีตเคยซื้อได้ ตอนนี้ไม่พอ เพราะของขึ้นเกือบทุกรายการ ผมอยากสะท้อนเรื่องนี้ อยากให้รัฐบาลไปดำเนินการแก้ไข” นายสนธิรัตน์ กล่าว