ในกรุงเทพมหานครมีมุสลิมประมาณ 800,000 คน มากกว่า 10% ของคนกรุงเทพฯ ประมาณ 5 ล้านคน นับเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกผู้ว่ากทม. เนื่องจากมุสลิมส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มกันแน่นในชุมชนมุสลิมที่กระจายทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่ฝั่งธนบุรีจนไปถึงสุดแดนตะวันออก
นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯเป็นคนแรกที่ตั้งมุตตอฝ้า หมันง๊ะ ผู้บริหารค่ายมือถือแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นมุสลิม ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น ผู้ว่าฯคนต่อมาก็จะตั้งมุสลิมเป็นีรองผู้ว่าฯ หรือไม่ก็ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ ยุคนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตั้ง นายวัลลภ สุวรรณดี เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. ต่อเนื่องมาจนถึงยุคม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ยังมีชื่อวัลลภ สุวรรณดี ก่อนจะถูกโยกไปนั่งที่ปรึกษาผู้ว่า ยุคพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
อย่างไรก็ตาม 2 ปีสุดท้าย พล.ต.อ.อัศวิน ดึงศักดิ์ บุญมา จากผู้อำนวยการสำนักการโยธาฯ มานั่งเป็นรองผู้ว่ากทม. และนายวัลลภ ยังเป็นที่ปรึกษา จนหมดจะหมดวาระไม่กี่เดือน มีนายสามารถ มะลูลีม อดีตส.ส. ของประชาธิปัตย์ ในตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่ากทม.เพิ่มความเหนียวแน่นในกลุ่มคนมุสลิม
ศักดิ์ชัย บุญมา เมื่อครั้งนั่งตำแหน่งรองผู้ว่ากทม. เป็นคนหนึ่งที่สังคมมุสลิมให้การยอมรับ จากการเดินสายเปิดงานมัสยิด งานโรงเรียน งานกิจกรรมของสังคมมุสลิมทั่วกรุงเทพฯ เป็นคนเข้าถุงง่ายไม่ถือตัว และมีวิสัยทัศน์ในการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ
เท่ากับว่า ในสายมุสลิม พล.ต.อ.อัศวิน ได้คะแนนตุนไว้ไม่น้อย บวกกับสามารถ ละลูลีม ที่ลาออกจากทุกตำแหน่งในประชาธิปัตย์และรัฐบาล มาช่วยพล.ต.อ.อัศวิน เต็มตัว คะแนนในสายของมุสลิมของพล.ต.อ.มุสลิม ก็น่าที่จะแน่นขึ้น
หากประกาศในโค้งสุดท้่ายว่า จะตั้งรองผู้ว่ามุสลิมแบบชัดเจน ก็การันตีเสียได้อีกในระดับหนึ่ง แตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น ที่ดูเหมือนจะมีน้อยคนที่มีแคนดิเดทรองผู้ว่ากทม. เป็นมุสลิมเพื่อดึงเสียงมุสลิมกรุงเทพฯ รวมทั้ง ผู้สมัครจากประชาธิปัตย์ ก็ยังไม่เห็นตัวบุคคลที่ชัดเจน หลังการถอยออกมาของสามารถ มะลูลีม
น่าสนใจว่า ในโค้งสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง จะมีผู้สมัครคนใด ใช้กลยุทธ์นี้ เพื่อดึงเสียงมุสลิมกรุงเทพฯ 800,000 คน เพราะคนจำนวนนี้ต้องการตัวแทนของเขาเข้าไปบริหารกทม.เพื้อผลักดันนโยบายเพื่อพวกเขา การมีตัวแทนดีกว่าไม่มี
วัดใจผู้สมัครผู้ว่าฯทุกคน