เปิดตำนาน “วันกองทัพเรือ” ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 20 พ.ย. รศ.125 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน เสด็จพระราชดำเนิน มายัง โรงเรียนนายเรือ พระราชวังเดิม และ พระราชหัตถเลขา ในสมุดเยี่ยม “ปลื้มใจที่ ได้เหนการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว”ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆต่อมาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระองค์ทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ได้ตั้ง โรงเรียนนายสิบ ขึ้น และในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้จัดตั้ง โรงเรียนนายร้อยทหารเรือ ขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ ได้จัดตั้ง โรงเรียนนายเรือ ขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) มี นายนาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรกต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๓ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เหนการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบต่อไปในภายน่า
ทางราชการทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือ ตราบจนปัจจุบัน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคล และองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา