กรมวิทยาศาสตร์บริการอบรมผู้ประกอบการOTOP วางมาตรฐานสู่ระดับอาเซียน

กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพOTOP ยกระดับสู่มาตรฐานมผช. และอย. เพิ่มรายได้ผู้ประกอบการ และก้าวเป็นผลิตสินค้าระดับประเทศและระดับอาเซียน

วันที่ 27 มีนาคม เวลา 09.30 น. ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP อาหารและเครื่องดื่มตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิตพื้นที่ภาคกลาง(สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) ณ โรงแรมเมธาวลัย จ.เพชรบุรี โดยมีผู้ระกอบการเข้าร่วมประมาณ 100 ราย มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา นำโดย ดร.รัตนา ปานเรียนแสน เป็นที่ปรึกษาโครงการ

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ผ่านมาผู้ประกอบการบางส่วนมีปัญหาการผลิตหรือการแปรรูปอาหารที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีปัญหาจากวัตถุดิบ หรือสถานที่ผลิตไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้  ผู้ประกอบการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาที่ดี โครงการนี้ต้องการต่อยอดผู้ประกอบการ OTOP  ให้สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตสินค้า ด้านอาหารและเครื่อง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพร ให้ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานมาฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

“ในการฝึกอบรมมีอาจารย์จากม.ราชภัฎสวนสุนันทา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้การอบรม ให้คำปรึกษา ในกระบวนการการผลิตทั้งหมด และจะนำผลิตภัณฑ์ไปเข้าห้องแลบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อดูว่า ไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานของอย. จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมได้รับการยอมรับ สามารถจำหน่ายสินค้าได้ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ” ดร.สิทธิเวช กล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มโครงการพัฒนาผู้ประกอบการมาตั้งแต่ปี 2556 มีผู้ผ่านการอบรมประมาณ 400 รายต่อปี ซึ่งถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นปีละ 200,000 ราย เนื่องจากมีปัญหาเรื่องงบประมาณได้พยายามประสานกับทางจังหวัดเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญ มีบางจังหวัดที่ให้ความสำคัญและมีการดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จ อาทิ จ.ระนอง

ดร.สุทธิเวช กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นเสาหลักในการให้บริการการสร้างมาตรฐานการผลิตสินค้าชุมชน เพื่อสร้างผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถก้าวสู่ระดับประเทศ สู่ระดับอาเซียนและระดับโลกต่อไป

ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ
ดร.รัตนา ปานเรียนแสน