เช็คเรตติ้งครั้งที่4 ‘คนกรุงอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ ละเอียดยิบแยก‘กลุ่มเขต’ ผลปรากฎว่า ส่วนใหญ่ เทคะแนนให้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้รับเสียงไว้วางใจมากที่สุด ให้เป็นผู้นำชาวเมืองหลวง
วันที่ 4 ก.ค. 2564 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 4” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.-2 ก.ค. 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และ มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็น ผู้ว่าฯ กทม. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” จะทำการเผยแพร่ผลสำรวจ เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.” ทุกสัปดาห์แรกของเดือน
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 27.98 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 26.16 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 14.60 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อันดับ 4 ร้อยละ 9.58 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 5 ร้อยละ 4.87 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.58 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือ พรรคก้าวไกล อันดับ 7 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 8 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 9 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 10 ร้อยละ 1.37 ระบุว่า ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อันดับ 11 ร้อยละ 1.29 ระบุว่าเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล และไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.19 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ผู้สมัครจากพรรคกล้า ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย ผู้สมัครจากพรรคเสรีรวมไทย นายชวน หลีกภัย นายจำลอง ศรีเมือง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 3 เดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือ พรรคก้าวไกล และนายสกลธี ภัททิยกุล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า 1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 29.86 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 20.83 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 13.89 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา และอันดับ 4 ร้อยละ 9.72 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 25.37 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 23.41 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 18.54 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา และอันดับ 4 ร้อยละ 9.76 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 34.42 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 27.17 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 14.49 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา และอันดับ 4 ร้อยละ 7.25 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 27.56 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 25.59 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 11.81 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 11.42 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา 5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 25.68 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 24.04 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 15.30 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา และอันดับ 4 ร้อยละ 9.84 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 29.25 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 27.27 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 14.62 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา และอันดับ 4 ร้อยละ 9.49 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงปัญหาที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.76 ระบุว่า ปัญหาการจราจร รองลงมา ร้อยละ 36.88 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ร้อยละ 35.59 ระบุว่า ปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ร้อยละ 24.41 ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 18.25 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง น้ำเสีย ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ปัญหาถนน/ทางเท้า ชำรุด ร้อยละ 16.12 ระบุว่า ปัญหาเรื่องขยะและความสะอาด
ร้อยละ 13.16 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 7.45 ระบุว่า ปัญหาหาบเร่ แผงลอย และปัญหาการศึกษา ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 2.59 ระบุว่า ปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชน ร้อยละ 1.67 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาไฟริมทาง ไม่เพียงพอ ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะ ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาหมาเเมวจรจัด และปัญหาการจัดสรร ที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนแออัด และร้อยละ 0.68 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ