“งมกุ้ง” วิถีชีวิตที่กลับคืนมา ของ ชาวบ้านแหลมตะลุมพุก แหล่งอาหาร แหล่งรายได้ยุคโควิด 19 พื้นที่ประมงหน้าบ้าน รัฐควรจัดงบสนับสนุน ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 20 มิ.ย. 2564 ชาวบ้านแหลมตะลุมพุก จำนวนหนึ่งกว่า 50 คน ได้ลงทะเลงมกุ้งในพื้นที่อนุรักษ์ เขตบ้านปลา หรือ พื้นประมงหน้าบ้าน ได้กุ้งแชบ๊วย ขนาด 200 ตัว/กก. ประมาณคนละ 10-15 กก.นำมาบริโภค และขาย ราคา กก.ละ 55 บาท เป็นแหล่งอาหาร เป็นรายได้ยังชีพ ในยุค ที่ต้องต่อสู่กับ วิกฤตโควิด-19
#ตำบลแหลมตะลุมพุก เป็นหนึ่งในหลายๆพื้นที่ที่มีปัญหาการลักลอบใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ประเภท อวนลาก อวนรุน คราดหอย และ ลอบพับได้ หรือ ไอ้โง่ ส่งผลให้สัตว์น้ำลดจำนวนลง จนถึงสภาวะที่ กล่าวกันว่า ทะเลร้าง มีความขัดแย้งระหว่างชาวประมง ที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกับชาวประมงที่ใช้เครื่องมือถูกกฎหมายสูงมากพื้นที่หนึ่ง#ต่อมาในปี 2561 เมื่อง”เมืองคอน” จ.นครศรีธรรมราช ได้มีโครงการแก้ไขปัญหาชาวประมงแบบบูรณาการ หรือ “ปากพนังโมเดล” โดยการสนับสนุนงบประมาณของ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.นครศรีธรรมราช ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการแก้ปัญหา ให้ผู้ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือ และ ตรวจจับกุมผู้กระทำผิด ลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องและต่อมาได้รับงบอุดหนุนสร้างซั้งไม้ไผ่ หรือ กระโจมบ้านปลา ในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ พื้นที่ประมงหน้าบ้าน หรือ พื้นที่อนุรักษ์ มีอาสาสมัคร ผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยการนำของ นายประยุทธ ฐานะวัฒนา กำนัน ตำบลแหลมตะลุมพุก พลิกฟื้นทะเลร้าง ให้กลับมามาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิต สัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา กลับฟื้นมาในเวลาอันรวดเร็ว สร้างแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ รองรับวิกฤต โควิด 19
#รัฐควรสนับสนุน ขยายผลโครงการ ขยายผลสู่ชมชนประมงชายฝั่งทะเลอื่นๆ เพื่อพลิกฟื้นทรัพยากรสู่ชุมชน ได้เห็นผลภายในสี่เดื่อน
#…ถ้าหากว่าคุณสงสัยขอเชิญไปดูอยู่บ้านกำนัน..
# นายพรศักดิ์ ศักดิ์ธานี ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช..รายงาน
#รูปถ่ายโดย นายสุรชัย ชาวประมงตำบลแหลมตะลุกพุก