“อันวาร์”ยกคำ รองหน.ปชป. วอนพรรคร่วมรัฐบาล ช่วยฝ่าวิกฤตโควิด อย่าทอดทิ้งกัน

57

รองเลขาฯปชป.และ สส.ปัตตานี ยกคำพูด “สาธิต ปิตุเตชะ” เรียกร้องพรรคร่วมรัฐบาล ช่วยกันฝ่าวิกฤต สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

วันที่ 6 มิ.ย. นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี และรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีนายสาธิต ปิ ตุเตชะ รมช.สาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรค ระบุ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาร่วมมือแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ควบคู่กับปัญหาการเมือง ที่เป็นเงื่อนไข เพื่อเดินไปข้างหน้า โดยกำหนดไทม์ไลน์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน และยุบสภาภายในเดือนธันวาคมนี้ หากพรรคร่วมรัฐบาลใครชิงถอนตัวก่อน ถือว่าพรรคนั้นซ้ำเติมปัญหาชาติ โดยผู้มีอานาจสูงสุดกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ พิจารณาใน ครม. เพื่อพรรคร่วมรัฐบาลจะได้ไม่หวาดระแวงกัน เพื่อประเทศชาติ และพักเรื่องสืบทอดอำนาจ หากยังทำงานอื่นในสถานการณ์แบบนี้

นอกจากจะเป็นการนับถอยหลังของแต่ละฝ่ายแล้ว ก็ยังเป็นการถอยหลังของประเทศด้วย ว่า ตนเคยเสนอให้แก้ไขปัญหาทางการเมืองตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย โดยขอให้พรรคประชาธิปัตย์ถอนตัวออกจากรัฐบาล เพื่อเปิดโอกาสให้นายกฯจัดตั้ง รัฐบาลใหม่ และกลไกสุดท้ายคือ การยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชนหลายครั้งแล้ว ในที่สุดก็มีคนพูดความในใจที่เคยเก็บไว้ออกมา แถมเป็นเบอร์ใหญ่ระดับรัฐมนตรีด้วย ตนเตือนมาตลอดว่าที่เรียกร้องไปนั้น ทำเพื่อพรรคและประเทศชาติมีคนเห็นด้วยกับผมมากกว่าครึ่งพรรค แต่เก็บไว้ในใจไม่กล้าพูด

นายอันวาร์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย อภิปรายโจมตีการจัดทำงบฯ ที่ไม่ตอบโจทย์และตำหนิหัวหน้ารัฐบาล แต่สุดท้ายกลับมีมติโหวตหนุน จนสื่อเรียกว่าลิเกโรงใหญ่ หรือ เล่นปาหี่เพราะไม่มีโหวตสวน โดยอ้างมติพรรคนั้น ตนก็เป็นผู้อภิปรายและเป็นคนหนึ่งที่ยกมือโหวตสนับสนุนเพราะพ.ร.บ.งบประมาณประจำปีมีความสำคัญ

เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่จะใช้บริหารประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติโรคระบาด ตนยกมือหนุนเพราะเหตุผลนี้ไม่ใช่เพราะพรรคมีมติบังคับ ซึ่งได้เคยพิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่า ระหว่างมติพรรค หากสวนทางกับมติประชาชน ตนขอเลือกมติของประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้ที่เลือกตนเข้าสภาฯมาทำหน้าที่ให้พี่น้องประชาชน

“ทั้งนี้ ผมเป็นคนมีหลักการ เคยแสดงให้เห็นแล้วกรณีการอภิปรายท่านนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.ที่ถูกชี้ว่าคดีมีมูล แต่ศาลยังไม่ตัดสิน ผมก็ยกมือไว้วางใจให้ในสภาฯ ทั้งที่ในพรรคทราบกันดีว่า ท่านไม่ชอบผม และกีดกันไม่ให้ ผมลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ผลของการยึดหลักการครั้งนั้น ก็ทำให้ท่านนิพนธ์เริ่มเข้าใจและมองผมในแง่ดีขึ้น”