กรณีดาโต๊ะ”มุข-ฟารีดา” อะไรจริง-เท็จ ทำไมสื่อมุสลิมขัดแย้งรุนแรง

กรณีเครื่องราชดาโตีะ กลายเป็นประเด็นฮอตต่อเนื่อง กลายเป็นศึกศื่อมุสลิม ศึกนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเชื่อมโยงนำไปสู่ความขดแย้งระหว่างสื่อมุสลิม

กรณีเครื่องราชย์ “ดาโต๊ะ” เป็นประเด็นฮอตที่สังคมมุสลิมนำมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ เริ่มจาก “มุข และฟารีดา สุไลมาน” 2 สามีภรรยานักการเมืองจากปัตตานีและสุรินทร์ เดินทาง ไปรับเครื่องราชย์”ดาโต๊ะ” จากองค์กรในรัฐกลันตัน แต่จากกระแสการแสดงความยินดี กลายเป็นความเข้าใจผิด เมื่อดิอาลามี ชื่อมุสลิมนำนำสกู๊ป เครื่องราชย์ดาโต๊ะปลอม ในเวลาไล่เลี่ยกัน จนบรรณาธิการบริหาร ต้องออกจดหมายเปิดผนึกว่า การนำเสนอสกู๊ปไม่เกี่ยวกับกรณี มุข-ฟารีดา และล่าสุด พับลิคโพสต์ ได้นำเสนอสกู๊ป ตีแผ่ว่า กรณีการนำเสนอเครื่องราชย์ปลอม เป็นการแค้นฝังหุ่นของ อดีตนายกตำรวจ 3 จังหวัดที่แค้นฝังหุ่นกลุ่มวาดะห์

จนดูเหมือนเป็นความขัดแย้งระหว่างคนใน 3 จังหวัด และความขัดแย้งระหว่างสื่อมุสลิมด้วยกันเอง

การเดินทางไปรัฐกลันตันของ “มุข-ฟารีดา” จากการสังเกตุจากเฟส Farida sulaiman เป็นการดินทางไปเงียบๆ มีการนำเสนอภาพในงานเลี้ยงที่มีการสวมสายสะพาย ไม่มีข้อมูลอะไรมากนัก จนเมื่อ Mtoday ได้นำเสนอว่า เป็นการรับเครื่องราชย์จาก “ซุลต่าน” ฟารีดา ได้ขอให้แก้ไขว่า เป็นการรับจากองค์กรสายเลือดซุนต่านรัฐกลันตัน ไม่เกี่ยวกับ “ซุลต่าน”

ธรรมชาตินักการเมือง หากต้องการโชว์ เพื่อสร้างภาพห้กับตัวเอง สามารถทำได้ แต่กรณีนี้ “มุข-ฟารีดา” ต้องการเงียบมากกว่า เป็นสื่อเองที่นำเอาข้อมูลมานำเสนอ

มุข-ฟารีดา สุไลมาน รับสายสะพาย

แต่เมื่อ ดิอาลมี่ นำเสนอสกู๊ปเครื่องราชปลอม ความเข้าใจผิดจึงเกิดขึ้น ประกอบกับ มีอดีตนายตำรวจที่ผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง นำกรณีนี้มา “ขยายผล” ยิ่งสร้างกระแสความเข้าใจผิดมากขึ้น

thealami ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องราชย์ไว้ว่า ในประเทศมาเลเซียแต่ละรัฐทั้ง 13 รัฐ รวมทั้งดินแดนสหพันธรัฐ และระดับประเทศ คือ พระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong) ก็มักมอบยศ และเครื่องราชต่อบรรดาผู้มีบทบาทในสังคมมาเลเซีย และต่างประเทศ ยศ และเครื่องราช มีตั้งแต่ ดาโต๊ะ, ดาโต๊ะสรี, ตันสรี และ ตุน

รัฐที่มีสุลต่าน เช่น รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปาหัง รัฐโยโฮร์ รัฐนัครีซัมบีลัน รัฐเปรัค รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐสลังงอร์ ยศที่ใช้ เช่น ดาโต๊ะ ดาโต๊ะสรี จะเขียนว่า Dato’ Dato’ Seri

ส่วนรัฐที่ไม่มีสุลต่าน เช่น รัฐมะละกา รัฐปีนัง รัฐซาบะห์ และ รัฐซาราวัค ยศที่ใช้ เช่น ดาโต๊ะ ดาโต๊ะสรี จะเขียนว่า Datuk Datuk Seri

ขณะที่ พระราชาธิบดี สามารถมอบยศ และเครื่องราชได้ทุกประเภท รวมทั้งยศ ตันสรี (Tan Sri) และ ยศสูงสุดคือ ตุน (Tun) อย่างไรก็ตาม สำหรับยศ ตันสรี และตุน ในระดับรัฐ ไม่สามารถออกได้

thealami ระบุแบบไม่ฟันธงว่า ยศหรือเครื่องราช แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Datuk Kurnia เป็นการได้มาด้วยความสามารถ และ ผลงานที่ได้สร้างมา ส่วนอีกประเภท คือ Datuk Niaga (beli) คือ การได้มาด้วยความเสน่หา ด้วยการซื้อมา ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวเอง เพื่อสะดวกในการทำธุรกิจและฐานะทางสังคม

thealami ไม่ได้พาดพิงถึง “มุข-ฟารีดา” แต่อย่างใด แต่การสรุปว่า ที่มาของเครื่องราย์มาจาก 2 ทางคือ จาก”ราชาธิบดีและซุลต่านประจำรัฐหรือผู้ปกครองรัฐ”นั้น เป็นประเด็นให้เข้าใจผิดได้

ในPublicpostonline นำเสนอข้อมูลจาก ฟาริดา สุไลมาน ในการเดินทางไปกลันตันว่า ได้รับเชิญไปร่วมงานเพราะเรื่องเครือญาติและการจะทำงานร่วมกันในเรื่องการค้นคว้าด้านปะวัติศาสตร์ร่วมกันในอนาคต

“การที่เราไปนั้น เพราะเราถือว่าคุณค่าของเกียรติที่ได้รับ นั่นคือ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด เพราะเกียรติยศ ชื่อเสียงเป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้น สิ่งที่ยั่งยืนและมีคุณค่ามากกว่าเหนือสิ่งอื่นใดคือคำว่า การเชื่อมสัมพันธ์เชิงเครือญาติ” ฟาริดา สุไลมาน โพสต์ชี้แจงในห้องไลน์กลุ่มหนึ่ง

“เรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น เราถือว่าเราได้สูงสุดจากเมืองไทยอยู่แล้ว มิจำเป็นต้องไปเสียเงิน ให้ทุนสนับสนุนเพื่อให้ได้เครื่องราชฯ” เธอ ระบุ

การจับกุมเครื่องราชย์ปลอม ไม่เกี่ยวข้องกับ องค์กร เจ๊ะ ซีตี วันกึมบัง ที่กลันตัน

ฟารีดา ยืนยันผ่านพับลิคโพสต์ว่า ได้ตรวจสอบคร่าวๆ แล้วว่า องค์กร เจ๊ะ ซีตี วันกึมบัง ที่เธอกับมุขไปร่วมงาน เป็นองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของมาเลเซีย และเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ อีกทั้งยังมีงานค้นคว้าทางวิชาการและประวัติศาสตร์ของโลกมลายู ที่ทางตนเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อชาวมลายูมุสลิมในไทย จึงตอบตกลงไปร่วมงาน ส่วนเรื่องการมอบสายสะพายนั้นเมื่อทางองค์กรเสนอมา ตนและสามีก็ไม่ได้ปฏิเสธเกียรติที่เขามอบให้

“การที่เขาให้เกียรติเราถือว่ามีคุณค่ายิ่ง มันคงไม่เหมาะสมที่จะไปปฏิเสธการให้เกียรติจากผู้อื่นที่เรากำลังจะเชื่อมสัมพันธ์ แต่ที่สำคัญสำหรับเราคือคุณค่าของความเป็นเครือญาติ ที่ไม่เคยประสานรู้จักและติดต่อกันเลย ส่วนหนึ่งของกิจกรรมของสถาบันคือการศึกษาค้นคว้ารวบรวมเครือญาติ สายผู้เคยปกครองในภูมิภาคนูซันตารา และทราบว่า สายตระกูล “สุไลมาน” และ”ระเด่นอาหมัด” ก็เป็นส่วนหนึงในอดีตของเจ้าผู้เคยปกครองในภูมิภาคแถบนี้ รวมทั้งปัตตานีของประเทศไทยในอดีตด้วย”
“การส่งเสริมและการเชื่อมสัมพันธ์เชิงเครือญาติ เป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริมและสนับสนุนให้กระทำ และสำหรับเราไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไขว่คว้า หรือซื้อหา เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งอันมีเกียรติ เพราะสำหรับเราแล้วนั้น เกียรติยศ เครื่องราชย์ สายสะพายนั้น เราทั้งสองต่างได้รับเกียรติอันสูงสุดของประเทศไทยและจากองค์พระมหากษัตริย์อยู่แล้ว จึงมิจำเป็นต้องดิ้นรน แสวงหาให้ได้มาเพื่อตำแหน่ง จะด้วยการวิ่งเต้น ใช้เงินแลกซื้อเหมือนที่มีบางคนเข้าใจ และพยายามสร้างความเสื่อมเสีย และเสียหายกับเราทั้งสองคน”

ฟารีดา ยืนยันว่า เป็นการเข้าร่วมในการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ ไม่ได้จ่ายเงินจ่ายทองแต่อย่างใด

“สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราทั้งสองคน รู้สึกซาบซึ้งและขอขอบคุณผู้ส่งความปราถนาดีมายังเรา แต่รู้สึกผิดหวังกับคนบางคน บางถ้อยคำ ที่พยายามสร้างเรื่องให้เกิดความเสื่อมเสียและเสียหายต่อเราและองค์กรเช่นกัน”

สิ่งที่ “ฟารีดา” ระบุว่า รู้สึกผิดหวังกับคนบางคน บางถ้อยคำ ที่พยายามสร้างเรื่องให้เกิดความเสื่อมเสียและเสียหายต่อเราและองค์กร เป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า หมายถึงใคร
ซึ่ง พับลิคโพสต์ได้เฉลยไว้ว่า เป็นอดีตนายตำรวจคนหนึ่งที่ไม่พอใจบทบาทของกลุ่มวาดะห์ ที่ไม่ให้การช่วยเหลือหรือบดบังเส้นทางเดินของตัวเอง เป็นที่มาของหัวข่าวว่า ขี้อิจฉา

“เป็นอดีตนายตำรวจ จากจังหวัดชายภาคใต้คนหนึ่งซึ่งปัจจุบันวางตัวเป็นเอ็นจีโอและนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มลายู ได้โพสต์ในกลุ่มไลน์หนึ่ง มีเนื้อหาว่า
“ผมรู้จักองค์กรที่แจกสายสะพาย มอบเข็มให้ใครต่อใคร มา 3 ปีกว่า แม้เขาจะเชื้อเชิญไปรับ ผมก็ไปเพียงเป็นเกียรติเท่านั้น แต่ไม่ขอรับคำว่า ดาโต๊ะสรี ที่เขาให้แก่ผู้บริจาคทุนให้องค์กรดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะไม่ได้รับการรับรองใดจากราชสำนักแต่อย่างใด องค์กรนี้ไม่เกี่ยวโยงกับสุลต่านรัฐใด …ผู้ได้รับตำแหน่งชั้นยศ ที่ไม่มีองค์กรตามกฎหมายรับรอง เหมือนได้รับปริญญาปลอมๆ ที่ไม่ได้จบการศึกษาจริงที่มีดาษดื่นในวันนี้””บับลิคโพสต์ ระบุ

“แม้อดีตนายตำรวจคนนี้จะไม่ระบุชื่อว่าเป็นงานไหน องค์กรใด ใครได้รับ แต่คนที่ติดตามข่าวในวงการมุสลิมก็รู้ว่านัยยะของเขาหมายถึงองค์กร เจ๊ะ ซีตี วันกึมบัง และงานเลี้ยงที่ 2 สามีภรรยานักการเมืองมุสลิมได้ไปเข้าร่วม ซึ่งได้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิด ว่า 2 นักการเมืองมุสลิม “จ่ายเงินเพื่อรับตำแหน่งดาโต๊ะ” ซึ่งได้จุดกระแสวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโลกโซเชียลมุสลิม และย่อมส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและเกียรติยศของทั้งสองที่สั่งสมมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”พับลิคโพสต์ ระบุ

ข้อมลยังระบุว่า อดีตนายตำรวจนายนี้ อยู่ในงานในวันดังกล่าวด้วย มีชื่อขึ้นรับเครื่องราชย์ แต่เมื่อถึงเวลาขึ้นรับกลับหายตัวไป พับลิคโพสต์ ตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ปฏิเสธตั้งแต่แรกว่า ไม่รับสายสะพาย และเมื่อรู้ว่า ไม่ถูกต้องแล้วทำไม ต้องไปร่วมงานถึง 3 ปีซ้อน

มีการขยายผลว่า อดีตนายตำรวจเป็นผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ และอาจจะปรารถนาที่จะทำงานกับองค์กร เจ๊ะ ซีตี วันกึมบัง ในการสืบค้นข้อมูลด้านประวัติศาตร์ เมื่อองค์กรเซนต์ MOU กับมุข สุไลมาน ทำให้ไม่พอใจนำข้อมูลมาเปิดเผยดังกล่าว

มุข สุไลมาน เซ็นต์ MOU กับองค์กร เจ๊ะ ซีตี วันกึมบัง

“อดีตนายตำรวจคนนี้พยายามโปรโมทตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์โลกมลายู โดยเฉพาะเรื่องเจ้าผู้ปกครองจากสายตระกูลต่างๆ เขาได้พยายามไปร่วมงานกับองค์กรแห่งนี้มานานกว่า 3 ปี แต่การที่นายมุขสุไลมานซึ่งเพิ่งไปร่วมงานกับองค์กรนี้เป็นครั้งแรกกลับถูกให้เกียรติเป็นผู้ลงนาม จึงอาจจะสร้างความไม่พอใจและรู้สึกเสียหน้าจนหุนหันพลันแล่นออกไปจากงาน??” พับลิคโพสต์ สรุป

กล่าวโดยสรุป กรณืเครื่องราชย์ดาโต๊ะมุข-ฟารีดา รับจากองค์กรที่ถูกกฎหมายของมาเลเซีย แต่มีการนำมาขยายผล โดยคนๆหนึ่งที่ไม่พอใจ ขณะที่สิ่งที่ ดิอลามี่ นำเสนอไม่ได้เกี่ยวพันกับกรณีของ มุข-ฟารีดา เพียงแต่ออกมาในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ด้วยการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และเป็นการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย จำนวนถึง 3 ตอน จำเป็นต้องใช้เวลามาก ไม่เกี่ยวกับกรณี มุข-ฟารีดา แน่นอน

อย่างไรก็ตาม พาดหัวข่าวของพับลิคโพสต์ ที่ระบุว่า ปั้นข่าว “ดาโต๊ะปลอม-แท้” แค่ “ดราม่า” สังคมโซเชียลมุสลิม หรือ “ความริษยา” ของใครบางคน??นั้น สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งอย่างรุนแรงของสื่อมุสลิมหรือไม่

คำตอบอยู่ทีร้านน้ำชา
ขอบคุณข้อมูล ดิอลามี่/พับลิคโพสต์