‘ประชัย เลี่ยวไพรัตน์’ มองเศรษฐกิจปี 64 ยากจะโต 4% จี้ตรึงค่าบาทกับดอลลาร์ที่ 34 บาท

มุมมองจากประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นักบริหารรุ่นเก๋า อดีตกรรมาธิการการเงิน การคลัง และอดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะภาครัฐตรึงค่าเงินบาทให้อ่อนลง 10% ให้อยู่ในระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นการส่งออก ทำให้เกิดการจ้างงาน ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ระบุ การล็อกดาวน์ประเทศ และกำหนดให้มีวันหยุดบ่อยไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่รัฐต้องเข้มงวดการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดด้วยการ ใช้หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สบู่แชมพูล้างมือ อาบน้ำซักผ้าทุกวัน หากเข้าไปในพื้นที่สงสัยให้ใช้ BIO KNOK ผสมน้ำดื่มฆ่าเชื้อทางปาก และฉีดสเปรย์ระบบทางเดินหายใจ

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2564ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจในระดับ 3-4% อาจจะเป็นไปได้ยาก หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ขอแนะนำว่า ค่าเงินที่เหมาะสมควรจะตรึงกับดอลลาร์สหรัฐฯในระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตถึง 6-7%

‘เงินบาทแข็งค่าแบบนี้ คนส่งออกลำบาก ควรให้ค่าเงินบาทอ่อนลง 10% เพราะขณะนี้รัฐบาลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจำนวน 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 7.5 ล้านล้านบาท มีความสามารถจะตรึงเงินเงินบาทกับดอลลาร์วหรัฐฯในระดับราคา 34 บาทได้ ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกพันธบัตรมาซื้อดอลลาร์เพื่อตรึงค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐฯในอัตตรา 34 บาทได้ ไม่น่ามีปัญหา เพราะขณะนี้ไทยเกินดุลการค้าอยู่เดือนละ 100,000 ล้านบาท ในการตรึงดอลลาร์กับเงินบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องจ่ายค่าเงินบาทให้ผู้ส่งออกเพิ่ม 10% หรือ 10,000 ล้านบาอต่อเดือนหรือ 120,000 ล้านบาทต่อปี ‘ นายประชัย กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ เรามีเงินทุนหมุนเวียน M1 Money Supply อยู่ 2.5 ล้านล้านบาท และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเราสามารถออกพันธบัตรเพิ่มได้โดยไม่ผิดกติกา เพื่อการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศในการใช้นโยบายทางการเงิน

‘เราไม่ได้เป็นประเทศราชของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือ ธนาคารโลก (World Bank)เราสามารถกำหนดค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ตามที่รัฐบาลต้องการได้ โดยคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชนเป็นหลัก ไม่ผิดกติกาใดๆ ทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ขึ้นลงตามตลาด ให้เป็นเหยบือันโอชะของนักปั่นเงินตรา ที่ชอบอ้าง IMFและ World Bank ว่าให้ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ขึ้นลงตามกลไกตลาด เพราะค่าเงินดอลลาร์ฯ ก็ขึ้นลงตามกลไกตลาด เพียงแต่เราเกาะติดกับดอลลาร์โดยไม่ถูกพวกนักปั่นค่าเงิน ขายชาติทำให้ประเทศเสียหาบยับเยินดังที่ผ่านมาตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง’ นายประชัย กล่าว

เขา กล่าวด้วยว่า หากกำหนดให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยโรงงานไม่ต้องปิดตัวลง คนงานมีงานทำ รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณช่วยเหลือ ตรงกันข้ามจะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

‘เราต้องยอมรับว่า การช่วยเหลือของรัฐบาล ที่ช่วยไม่ให้คนจนเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) หรือเป็นหนี้เสีย ถือเป็นตัวช่วยที่ดี รวมทั้งการเอาเงินมาช่วยคนยากคนจนในยามที่ตกทุกข์ได้ยาก แบบรัฐสวัสดิการที่ประเทศนิวซีแลนด์ ปฏิบัติอยู่ (สมัยผมเรียนนิวซีแลนด์ ภายใต้ทุนโคลัมโบ) หากคนเหล่านี้ฟื้นตัวได้ ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจ เพราะคนเหล่านี้กว่าครึ่งหนึ่งประสบปัญหาจากการปิดเมืองหรือล็อคดาวน์’ นายประชัย กล่าว และว่า ตัวอย่างประเทศเวียดนามที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ เพราะรัฐบาลกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้ค่าเงินดอง(VND)ต่อดอลลาร์สหรัฐฯถูกลงทำให้สามารถส่งออกได้ ถือเป็นอำนาจอธิปไตยของเขาและทุกประเทศก็ชมเชยว่า รัฐบาลเวียดนามเก่งและรักชาติ สมควรไปลงทุนที่นั่น โดยถอนการลงทุนจากประเทศไทยและจีน

‘ผมขอแนะนำรัฐบาลว่า อย่าล็อตดาวน์ประเทศและอย่าหยุดงานบ่อย เพราะคนจะไม่มีงานทำและเศรษฐกิจจะไม่ฟื้น ถ้ามีการว่าจ้างแรงงาน คนก็จะมีเงินจากการทำงาน และสามารถจับจ่ายใช้สอยทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและจะต้องพยายามส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศด้วยเพื่อเพิ่มการจ้างงานและค่าแรงจะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ต้องไม่ลืมการตั้งสติควบคุมไวรัสโควิด-19ให้มีประสิทธิภาพด้วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด’ CEO บมจ.ทีพีไอโพลีน กล่าว

นายประชัย กล่าวถึงมุมมองด้านพลังงานว่า คาดว่าแนวโน้มพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนยังคงเป็นกระแสโลกที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน อย่างรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น และคาดว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะไม่มีรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากฟอสซิลอีกแล้ว ธุรกิจที่เกี่ยวกับรถยนต์แบบดั้งเดิม จะต้องเปลี่ยนไปหมด ตามแนวโน้มของพลังงานสะอาดเพื่อธรรมาภิบาลรักษาสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อสังคมที่ดี Environmental, Social, and Corporate Governance (ESG) ที่จะกลายมาเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm Shift) สำคัญที่ภาคธุรกิจจะต้องทำตามแนวทางดังกล่าว ส่วนโรงไฟฟ้า 19,200 เมกกะวัตต์ (MW)โดยเฉลี่ย ถ้ามีการ Charge ไฟแบตตเตอรี โดย Slow charge 6 ชั่วโมง เต็มเพื่อใช้ใน 1 วัน ระบบไฟฟ้าจะต้องมีขนาด 24/6= 4 เท่าของ 19,200 MW หรือเท่ากับ 76,800 MW เพื่อรับ Peak load ถ้าใช้เฉลี่ยนจำนวนรถที่ใช้บริการ ชาร์จไฟพร้อมกันในจำนวนประมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งก็จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟอีก 2 เท่า ของ 19,200 MW หรือ 39,400 MW หรือรับ Peak Load
(หมายเหตุ: หากใช้ Fast Chargerชาร์จไฟแบตเตอรี่รถยนต์ครึ่งชั่วโมง ใช้ได้ทั้งวัน ถ้าชาร์จพร้อมกันทั้งหมด ระบบไฟฟ้าจะต้องมีกำลังการผลิต 24/0.5 = 48 เท่าของกำลังการผลิตปกติ และหากใช้เวลาที่เหลือ ชาร์จแบตเตอรี่ ได้ 2/48=4.1% ของรถ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้า 50% ของรถทั้งหมด ใช้ Fast Charger รวมแล้วใช้เวลา12 ชั่วโมง มี มาร์จิ้นเหลืออีก 6 ชั่วโมง ให้รถที่ใช้ค่าเฉลี่ยชาร์จไฟวันละ 2 ครั้ง เพื่อใช้ 24 ชั่วโมง ระบยบไฟจะต้องมีกำลังการผลิต 24(2×2)=6 เท่าของกำลังไฟฟ้าปกติเพื่อรับ Peak load จะสามารถชาร์จไฟได้พร้อมกัน 2/6=33.33% ของรถทั้งหมด)

ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนรถที่ใช้น้ำมันเป็นรถไฟฟ้า EV Cars จำนวน 20% ภายในระยะเวลา 5 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบอีกจขำนวน 39,400×20%=7,880 MW หรืออย่างต่ำ 39,400 Mw ภายในเวลา 20 ปี เพื่อรับ Peak Load จากที่กำหนดใน PDP18 ฉะนั้น PDP18 จะต้องมีการแก้ไขให้เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าโดยด่วน มิฉะนั้น จะเกิดการ Blackout ไฟดับทั้งเมือง ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แต่ละโรง จะต้องใช้เวลา 5 ปี โดยทำ EIA/EHIA 2 ในระยะเวลา 2 ปี จากนั้่นจะใช้เวลาก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีก 3 ปี รวมทั้งหมด 5 ปี เป็นอย่างต่ำ