แรมโบ้ วอน! “เสื้อแดง” อย่ามาชุมนุม 14 ต.ค. ฉะยับ การเมือง ชักใย หมิ่นสถาบัน

แรมโบ้อีสาน เตือน คนเสื้อแดง อย่าเชื่อกลุ่มการเมือง ชักชวนมาชุมนุม 14 ต.ค. ชี้จงใจ เคลื่อนไหว ก้าวล่วงสถาบัน เป็นอดีต สส.อนาคตใหม่ และ กลุ่มการเมือง ขั้วตรงข้ามรัฐบาล อยู่เบื้องหลัง กำลังรวบรวม หลักฐาน ดำเนินการเอาผิด ทางกฎหมาย

วันที่ 8 ต.ค. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุในการรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล กรณีหากการชุมนุมประท้วงในวันที่ 14 ต.ค. โดยส่วนตัวเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน และการเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่ามีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง และยืนยันว่า คนเสื้อแดงหรือแกนนำคนเสื้อแดงจะไม่เข้าชุมนุม แต่ยังมีกลุ่มพรรคการเมือง เช่น อดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่พยายามปลุกระดมให้คนมาร่วมชุมนุม จึงขอชี้แจงว่าไม่ควรมาร่วมชุมนุม อย่างไรก็ตาม เราไม่ประมาทจะดูแลทุกอย่างให้รอบคอบ ที่สำคัญ คือการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุม และป้องกันอย่างเต็มที่ไม่ให้มีมือที่สามมาสร้างความวุ่นวาย รวมถึงขอผู้ชุมนุมอย่าทำอะไรที่ผิดกฎหมายและสร้างความรุนแรง

นายสุภรณ์ ย้ำว่า การชุมนุมวันที่ 14 ต.ค.ซึ่งเป็นวันเปิดทำการปกติ จึงขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงตรงนี้ด้วย และการก้าวล่วงสถาบันเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ รวมถึงไม่ควรเข้าไปในสถานที่ราชการ จนทำให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย และขอบอกว่าชีวิตความเป็นแกนนำที่สุดแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรราม อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย จากตัวอย่างที่ผ่านมามีให้เห็นมาแล้วในหลายๆคดีที่เกิดขึ้น แต่นับเป็นพระกรุณามหาธิคุณ ปัจจุบันแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว

ต่อข้อถามว่าด้านการข่าวมีใครให้การสนับสนุนการชุมนุมครั้งนี้บ้าง นายสุภรณ์ กล่าวว่า มีข้อมูลโยงใยถึงอดีตนักการเมือง อดีต ส.ส.อดีต ชักชวนปลุกระดมจ่ายค่ารถ ค่าเรือ ให้มาร่วมชุมนุม เมื่อถามว่า สามารถเปิดเผยผู้ที่ชักชวนประชาชนได้หรือไม่ นายสุภรณ์ กล่าวว่า เป็นอดีตนักการเมือง อดีต ส.ส. รวมถึง ส.ส.ปัจจุบัน ที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ซึ่งเรามีหลักฐาน กำลังรวบรวมอยู่ ถ้าถึงขนาดเปิดเผยตัวบุคคลได้จะนำมาเปิดเผย และใครพบเห็นขอให้ถ่ายคลิปถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เราจะนำมาเป็นหลักฐาน ประจานว่าคนเหล่านี้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการยุยงปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมมีการประเมินจำนวนผู้ชุมนุม แค่หลักหมื่น และแผนเผชิญเหตุได้มอบหมายให้ตำรวจเป็นผู้พิจารณา แต่ยังไม่ได้สรุปเสนอต่อที่ประชุม เบื้องต้นให้ยึด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะเป็นหลัก ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามเข้าใกล้พื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในระยะ 50 เมตร

วันที่ 8 ต.ค. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุในการรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล กรณีหากการชุมนุมประท้วงในวันที่ 14 ต.ค. โดยส่วนตัวเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน และการเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่ามีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง และยืนยันว่า คนเสื้อแดงหรือแกนนำคนเสื้อแดงจะไม่เข้าชุมนุม แต่ยังมีกลุ่มพรรคการเมือง เช่น อดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่พยายามปลุกระดมให้คนมาร่วมชุมนุม จึงขอชี้แจงว่าไม่ควรมาร่วมชุมนุม อย่างไรก็ตาม เราไม่ประมาทจะดูแลทุกอย่างให้รอบคอบ ที่สำคัญ คือการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุม และป้องกันอย่างเต็มที่ไม่ให้มีมือที่สามมาสร้างความวุ่นวาย รวมถึงขอผู้ชุมนุมอย่าทำอะไรที่ผิดกฎหมายและสร้างความรุนแรง

นายสุภรณ์ ย้ำว่า การชุมนุมวันที่ 14 ต.ค.ซึ่งเป็นวันเปิดทำการปกติ จึงขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงตรงนี้ด้วย และการก้าวล่วงสถาบันเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ รวมถึงไม่ควรเข้าไปในสถานที่ราชการ จนทำให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย และขอบอกว่าชีวิตความเป็นแกนนำที่สุดแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรราม อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย จากตัวอย่างที่ผ่านมามีให้เห็นมาแล้วในหลายๆคดีที่เกิดขึ้น แต่นับเป็นพระกรุณามหาธิคุณ ปัจจุบันแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว

ต่อข้อถามว่าด้านการข่าวมีใครให้การสนับสนุนการชุมนุมครั้งนี้บ้าง นายสุภรณ์ กล่าวว่า มีข้อมูลโยงใยถึงอดีตนักการเมือง อดีต ส.ส.อดีต ชักชวนปลุกระดมจ่ายค่ารถ ค่าเรือ ให้มาร่วมชุมนุม เมื่อถามว่า สามารถเปิดเผยผู้ที่ชักชวนประชาชนได้หรือไม่ นายสุภรณ์ กล่าวว่า เป็นอดีตนักการเมือง อดีต ส.ส. รวมถึง ส.ส.ปัจจุบัน ที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ซึ่งเรามีหลักฐาน กำลังรวบรวมอยู่ ถ้าถึงขนาดเปิดเผยตัวบุคคลได้จะนำมาเปิดเผย และใครพบเห็นขอให้ถ่ายคลิปถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เราจะนำมาเป็นหลักฐาน ประจานว่าคนเหล่านี้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการยุยงปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมมีการประเมินจำนวนผู้ชุมนุม แค่หลักหมื่น และแผนเผชิญเหตุได้มอบหมายให้ตำรวจเป็นผู้พิจารณา แต่ยังไม่ได้สรุปเสนอต่อที่ประชุม เบื้องต้นให้ยึด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะเป็นหลัก ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามเข้าใกล้พื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในระยะ 50 เมตร