โต๊ะกูเป็ง นำทัวร์โบราณคดี ”เปิดตำนานลังกาสุกะสู่ปาตานี” ย้อนรอยประวัติศาสตร์สู่เมืองเก่า “ลังกาสุคะ”ในยุค ยินดู-พุทธศาสนา รุ่งเรืองนับพันปี ก่อนกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย
วันที่ 22 สค 63 เซลามัต โฮมร่วมกับ “ตึงกูอารีฟีน บินตึงกูจิ” พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ปัตตานี และปราชญ์ท้องถิ่นชายแดนใต้ ได้จัดกิจกรรมทัวร์วัฒนธรรม หวังสร้างต่อยอดนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ติดตามร่องรอยทางโบราณคดีจุดกำเนิดเมืองลังกาสุกะ อาณาจักรปลายแหลมมลายูเริ่มต้นเมื่อกว่าพันปี ก่อนกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย หลายร้อยปี
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ลังกาสุกะ เป็นแคว้นหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักโบราณคดี พิสูจน์ว่ามีลักษณะเป็นเมือง เรียงกันถึง 3 เมืองด้วยกัน ได้แก่ เมืองที่กำลังขุดอยู่ที่บ้านวัดบ้านจาเละ และบ้านปราแว (พระราชวัง) อำเภอยะรัง
บ้านปราแวอยู่ริมทะเล มีลักษณะ ค่ายคูประตูหอรบตามมุมเมืองคาดว่า น่าจะเป็นประชาคม 3 แห่ง ที่อยู่ร่วมกันมากกว่าเมืองโดยรวมแล้วพื้นที่ดังกล่าวนี้ พบร่องรอยทางโบราณคดีถึงกว่า
40 แห่ง แต่ได้ขุดเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น โดยหลักฐานชิ้นใหญ่ ๆ ที่กำลังขุดอยู่ เป็นศาสนสถานใน ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา และพบ
คำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณและภาษาสันสกฤตด้วย
‘บ่งบอกอย่างเด่นชัด แรกเริ่มนั้นชาวลังกาสุกะนับถือพราหมณ์ ก่อนจะเปลี่ยนมาถือพุทธ และต่อมา เปลี่ยนมานับถืออิสลาม ในยุคของปัตตานีดารุสาลาม’พล.ต.ต.จำรูญ ระบุ
จากปัตตานี คณะทัวร์โบราณสถาน ได้เดินทางต่อไปที่จังหวัดยะลา ที่”ถ้ำศิลป์” จากการสำรวจพบภายในถ้ำมืด ปรากฎภาพเขียนสีอยู่ตามผนังถ้ำและได้พบอิฐปูนเกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้น บางส่วนดูออกว่า เป็นเส้นเกศาของพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ ประมาณว่าเท่ากับพระพุทธไสยาสน์ที่ถ้ำพระนอน
ภาพเขียนสีเหล่านี้เป็นฝีมือสกุลช่างท้องถิ่นลังกาสุกะ ที่ได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบของภาพโดยตรงจากอินเดีย เมื่อพิจารณาลักษณะของรูปภาพแล้ว สัณนิษฐานว่า เป็นภาพเขียนสมัยศรีวิชัยตอนปลายคือราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 และยังเจอที่วัดถ้ำคูหาภิมุข เป็นที่ประดิษฐานงพระนอนศรีวิชัย คือพระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานยู่ภายในถ้ำด้านบน ยาวประมาณ 25 เมตร สร้างในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นแหล่งโบราณและ เป็นที่อยู่ที่อาศัย
ของคนในสมัย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียง ยังมีร่องรอยของภาพเขียนฝาผนัง ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์
ทั้งหมดนี้ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางกรมศิลปากร มีแผนในการบูรณะให้สถานที่
เหล่านี้คงความงดงามอยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป