ศอ.บต.ขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษจะนะ 600,000 ล้าน จัด 30 เวทีทุกกลุ่มชาวบ้าน

ศอ.บต.ขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ มูลค่า 600,000 ล้าน ให้จะนะ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การและขนส่งภาคตอนล่างเชื่อมต่อมาเลเซีย ระบุ 3 จังหวัดยากจนที่สุด หากไม่ทำก็จะยิ่งลำบาก ยืนยันไม่ปิดกั้นชาวบ้านแสดงความเห็น จัด 30 เวที รองรับทุกกลุ่ม

วันที่ 6 มิ.ย. 63 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการสร้างการรับรู้และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในพื้นที่ ขับเคลื่อนโครงการใน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีหน่วยงานภาคเอกชนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุม นำโดย นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ณ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของพื้นที่ที่ผ่านมา ประสบปัญหา ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวตกต่ำลงตามลำดับ คาดการณ์อนาคตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ นำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจภาคใต้ และเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ทั้ง 3 ส่วน ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พบว่า เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ 5 ตัวหลักในภาพรวม หดตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อติดลบ และจำนวนการวางงานเพิ่มขึ้น ที่น่าห่วง คือ โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้กว่าร้อยละ 60 ยังคงพึ่งพาภาคเกษตร ท่องเที่ยว การค้า และการผลิตเป็นหลัก

และคาดการณ์กันว่า จะมีกลุ่มแรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกงานกว่า 1.7 ล้านคน ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูจากการเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ แรงงาน ภูมิคุ้มกันให้ภาคครัวเรือน และ SMEs ที่เปราะบาง แต่ที่สำคัญที่สุด ต้องรับความท้าทายของโลกหลังโควิด-19 ที่จะก่อให้เกิดธุรกิจ Sector ใหม่ การโยกย้ายคนและทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ขณะที่ ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า 3 จังหวัดภาคใต้มีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำที่สุดในประเทศ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 1.5% เมื่อเที่ยบกับภาคใต้เติบโต 2.6% และระดับประเทศ 3.6% ซึ่งในอนาคตการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคใต้จะตามหลังภาคอีสานงาน หากเราไม่ได้ดำเนินการอะไร

ทางศอ.บต. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการนำเสนอที่มาและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ จากการมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ ตามที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 4 ตุลาคม 2559, 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 โดยเน้นย้ำในการดำเนินการ เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่อำเภอจะนะ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนั้น เป็นการบังคับใช้มาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันกำหนดและเชื่อมโยงมิติการพัฒนาไปพร้อมกับเน้นการจัดทำโครงการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ไปพร้อมกับแผนพัฒนาของเอกชน ซึ่งผู้บริหารของภาคเอกชน คือ บริษัททีพีไอโพลีน และไออาร์พีซี ซึ่งมีความประสงค์เข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ ร่วมกับรัฐบาลและประชาชน เพื่อยกระดับเมืองจะนะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งครบวงจร ศูนย์กลางพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย และอุตสาหกรรมขนส่งทางราง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ไปพร้อมกันอย่างสร้างสรรค์ และเน้นย้ำธุรกิจสีเขียว-สีน้ำเงิน ไม่มีปิโตรเคมีในแผนการพัฒนาแน่นอน ตามที่ผู้บริหารระดับสูงสุด ได้มีเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ ในการดูแลช่วยเหลือประชาชนให้เติบโตไปพร้อมกัน

‘กระบวนการจากนี้ ในส่วนของภาครัฐก็จะดำเนินการเรื่องด้านผังเมือง เปลี่ยนผังเมืองเป็นผังเมืองอุตสาหกรรม ส่วนเอกชนที่เข้าร่วมโครงการก็จะจัดทำแผนด้านสิ่งแวดล้อม และแผนด้านสุขภาพ ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในปีที่ 4 ถึงจะมีการก่อสร้าง ใช้เวลาประมาณ 4 ปี รวมเงินลงทุน ประมาณ 600,000 ล้านบาท ซึ่งในการลงทุน เอกชนที่เข้ามา ก็จะต้องไปหาเอกชนมาร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ โดยอาจจะมีภาครัฐชาวยในการโนดโชว์ ซึ่งหากโครงการสำเร็จจะมีการจ้างงาน ประมาณ 100,000 อันตรา’ รองเลขาธิการศอ.บต. กล่าว

ตัวแทนจากทีพีไอโพลีน

สำหรับการจ้างงานจำนวน 100,000 คน จะเน้นคนในพื้นที่ แต่เพื่อจะไม่ให้มีคนจากภาคอื่นเข้ามา ทางศอ.บต. ได้ประสานกับสถานศึกษาในท้องถิ่น อาทิ มอ.ปัตตานี มอ.สงขลา วิทยาลัยเทคนิคต่างๆ วางแผลผลิตบุคคลากรให้สอดคล้องกับการจ้างงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ส่วนที่ มีชาวจะนะ ออกมาคัดค้านโครงการ โดยระบุว่า ภาครัฐกีดกันไม่ให้เข้าร่วมการรับฟังและแสดงความเห็นนั้น ดร.ชนธัญ กล่าวว่า เวทีวันนี้ เป็นการสร้างความเข้าใจกัยนักธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ และแต่ทางศอ.บต. ได้จัดเวทีให้ชาวบานที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วน อาทิ ชาวประมง นักเรียน หรือกลุ่มต่างๆ ได้รับทราบข้อมูลและนำเสนอความคิดเห็น ประมาณ 30 เวทีรองรับทุกกลุ่ม ใน 3 ตำบลของอำเภอจะนะ

ขณะเดียวกันได้มาวบ้านจากอำเภอจะนะ จำนวนหนึ่ง มาเดินป้ายหน้าโรงแรม คัดค้านโครงการโดยระบุว่า ศอ.บต.ไม่ยินยอมให้ชาวบ้านเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็น