ยะลาเรียกอิหม่ามฝืนคำสั่งจุฬาฯ ‘ลงแส้’ อาจถึงล็อกมัสยิดห้ามเข้า

รอง ผู้ว่าจังหวัดยะลาเรียกสอบ โตะอีหม่านที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจุฬารัฐมนตรี ให้งดการละหมาดญะมาอะห์และการละหมาดวันศุกร์ (ญุมอะห์) ที่มัสยิดเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563

วันที่ 30มีนาคม63 ที่ห้องประชุม ที่ห้องศรียะลา ศาลากลางจังหวัดยะลา นายนิมะ มะกาเจ รอง ผู้ว่าราชการ จ.ยะลา เป็นประธาน ประชุมอีหม่าม ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสำนักจุฬารัฐมนตรี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่มัสยิดบางแห่งในจังหวัดยะลายังประกอบปฏิบัติการตามปกติ ซึ่งมีมัสยิดในอำเภอเมืองยะลาทั้งหมด 116 มัสยิด ทุกมัสยิดไม่มีการประกอบศาสนกิจละหมาดวันศุกร์  อำเภอเบตงมีมัสยิดทั้งหมด 33 มัสยิด ประกอบศาสนกิจจำนวน 2 มัสยิด
อำเภอยะหามีมัสยิดทั้งหมด 72 มัสยิด ประกอบศาสนกิจ 22 มัสยิด

อำเภอรามันมีมัสยิดทั้งหมด 137 มัสยิด ทุกมัสยิดไม่มีการประกอบศาสนกิจละหมาดวันศุกร์  อำเภอบันนังสตา มีมัสยิดทั้งหมด 74 มัสยิด ประกอบศาสนกิจจำนวน 2 มัสยิด
อำเภอธารโต มีมัสยิดทั้งหมด 22 มัสยิด ประกอบศาสนกิจจำนวน 4 มัสยิด
อำเภอกาบัง มีมัสยิดทั้งหมด 22 มัสยิด ทุกมัสยิดไม่มีการประกอบศาสนกิจละหมาดวันศุกร์ อำเภอกรงปีนัง มีมัสยิดทั้งหมด 38 มัสยิด ทุกมัสยิดไม่มีการประกอบศาสนกิจละหมาดวันศุกร์

ได้มีการลงนามคำสั่งมาตรการป้องการไวรัสโคโรนา โควิด-19 ร่วมกับประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลาได้วางมาตรการเด็ดขาดและออกประกาศในวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 อันเนื่องจากการตรวจสอบพบว่ามัสยิดที่ไม่ให้ความร่วมมือมีจำนวนหลายมัสยิด จึงทำให้มีการออกคำสั่งติดประกาศหน้าประตูมัสยิด วันที่ 3 เมษายน 2653 ห้ามมีการประกอบศาสนกิจละหมาดวันศุกร์ จะมีการปิดประตูมัสยิดทุกแห่ง และจะมีเจ้าหน้าที่มาควบคุมหน้ามัสยิด เพื่อป้องกันและกันประชาชนที่จะมาร่วมละหมาดวันศุกร์ตามที่คำสั่งได้ห้ามไว้ หากยังมีการฝ่าฝืนมตารการอีกพร้อมยกจัดการในมาตรการที่หนักขึ้น”

ด้านนายรุสดี บาเกาะ รองประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการประชาสัมพันธ์อาจมีการดำเนินการล่าช้า จึงทำให้ข้อมูลไม่ทั่วถึง บางสถานที่ได้รับรู้ถึงการประชาสัมพันธ์ แต่ไม่ร่วมมือปฏิบัติตามที่คำสั่งกำหนด และหลังจากนี้ตามที่ได้ประชุมคณะกรรมการอิสลามละอีหม่านจะไม่ให้มีการละหมาดวันศุกร์ และละหมาด 5 เวลาในการชั่วคราวในมัสยิด แต่อนุญาตให้อาซานทุก 5 เวลา ทุกคนต้องละหมาดที่บ้าน ยกเว้น
โต๊ะอีหมาน โต๊ะบีลาล โต๊ะกอเต็บ เพื่อเป็นการดึงเราะห์มัต (ศิริมงคล) จากพระเจ้าให้พ้นจากโรคระบาดดังกล่าว

สำหรับสถานการณ์ Covid-19 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ข้อมูลณ วันที่ 30 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย ยืนยันสะสม 38 ราย เป็นผู้ป่วย อ.เมือง 17 ราย อ.ยะหา 3 ราย อ.บันนังสตา 14 ราย อ.รามัน 3 ราย อ.ธารโต 1 ราย รักษาหาย 3 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้สัมผัสที่มีอาการ 301 ราย และรอผล LAB อีก14 ราย
โดยนายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ประชุม คณะทำงานศูนย์เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) จังหวัดยะลา เพื่อประเมินสถานการณ์ และติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมานนี้ ณ ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคาร 3 จังหวัดยะลา
มติในที่ประชุมในการประเมินสถานการณ์ เรื่องการออกประกาศปิดการเดินทางเข้า-ออกจังหวัดยะลา เพื่อเป็นการระงับการนำเข้า ส่งออกเชื้อ Covid-19 ที่ประกาศใช้นั้น ประชาชนอาจจะไม่ได้รับความสะดวกต่อการเดินทาง แต่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และการหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังพื้นที่ ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เว้นแต่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค การป้องกันโรค การฆ่าเชื้อโรค การขนส่งสินค้าที่จำเป็น สินค้าอุปโภค -บริโภค การไปรษณีย์ อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ยานพาหนะเพื่อการกู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล และได้รับอนุญาตจากเจ้าหนักงานควบคุมโรคติดต่อ ย้ำในพื้นที่จังหวัดยะลา ขณะนี้ ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว นอกจากนี้ การเดินทางด้วยขบวนรถไฟในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีประกาศหยุดเดินแล้ว ทุกขบวนในวันนี้ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย

สำหรับนักศึกษาไทยจากปากีสถาน ที่เดินทางกลับมาถึงจังหวัดยะลา จำนวน 34 ราย เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นั้น นักศึกษาได้ผ่านการคัดกรองมาจากกรุงเทพแล้ว และมีการคัดกรองคัดกรองอีกครั้งที่จังหวัดยะลา ยังไม่พบผู้ใดมีอาการเสี่ยง ขณะนี้นักศึกษาได้เข้ากักตัวที่ศูนย์สังเกตุอาการระดับอำเภอเมืองยะลา จำนวน 14 ราย ส่วนที่เหลือส่งกักตัวที่ศูนย์สังเกตุการระดับอำเภอ ตามภูมิลำเนาของนักศึกษา ซึ่งจะมีการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อรอดูอการ ก่อนอนุญาตให้กลับบ้านได้
#โควิด-19
#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา#