เลยโมเดล!นักลงทุน-ชาวบ้านประสานเสียง หนุนโรงไฟฟ้าชุมชนช่วยอยู่ดีกินดี

นักธุรกิจ-ชาวบ้านจังหวัด ขานรับโรงไฟฟ้า ชี้ไม่มีมลพิษ แต่ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกร เตรียมพร้อมลงทุน 2 โรง

คณะทำงานของเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชน นำโดยนายเวียง วรเชิษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายพิกิฏ ศรีชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายสุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ ผู้อำนวยการใหญ่ประสานองค์กร 3 ฝ่ายโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน และคณะ ได้เดินทางไปทำความเข้าใจโรงไฟฟ้าชุมชนให้กับชาวบ้าน นักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อบต.นาแขม อ.เมือง จ.เลย โดยมีผู้สนใจ ทั้งนักธุรกิจ ชาวบ้าน เข้าร่วมรับฟังประมาณ 50 คน

นายเวียง กล่าวว่า นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มีความปรารถยาที่จะสร้างความอยู่ดินกินดีให้พี่น้องเกษตรกรในชุมชนให้ลืมตาอ้าปากได้ จึงได้ผลักดันนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนในการร่วมลงทุนและขายผลิตผลทางการเกษตรให้กับโรงไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้มีรายได้ที่มั่นคง ตลอดระยะเวลา 20 ปีของสัมทปทานโรงไฟฟ้า

ขณะที่นายพิกิฏฺ กล่าวว่า พื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือมีความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน เพราะมีพื้นที่เพียงพอที่จะปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อขายให้กับโรงไฟฟ้า โดยกระทรวงพลังงาน ประกาศให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชม ประมาณ 700 MW ถ้ามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโรงละ 1 MW จะมีชาวบ้านได้ประโยชน์เป็นหมื่นคน ที่จะมีรายได้มั่นคงจากการขาผลผลิตทางการเกษตร และเป็นโครงการที่คุ้มค่อต่อการลงทุน จากราคาที่รัฐรับซื้อ 5.83 บาทต่อยูนิต ผู้ลงทุนจะอยู่ได้ ชาวบ้านก็อยู่ได้ ขณะเดียวกันเราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ ไม่มีปัญหาไฟฟ้าตก

‘โรงไฟฟ้าชุมชนระบบไบโอแก๊ส ที่ใช้หญ้าเนเปียร์ หรือผลิตผลทางการเกษตรอื่น อาทิ อ้อย ชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการขายผลิตผลทางการเกษตร’ นายพิกิฏ กล่าว

ด้านนายสุรพัฒน์ ให้ข้อมูลกว่า โรงไฟฟ้าชุมชน 1 MW ใช้เงินลงทุนประมาณ 120 ล้านบาท จะใช้หญ้าเนเปียร์ ประมาณ 700-1,000 ไร่ พื้นที่ๆจะสร้างโรงไฟฟ้าผู้ลงทุนจะต้องทำสัญญารับซื้อหญ้าจากชาวบ้านประมาณ 200 ราย โดยหญ้าเนเปียร์ให้ผลิตผล 8-15 ตันต่อไร่ อยู่ที่การดูแล ต้นพันธุ์ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้ 8 ปี ๆละ 4-6 ครั้ง หากชาวบ้านปลูกจำนวน 5 ไร่ จะมีรายได้ต่อปี ประมาณ 125,000 บาท เดือนละหมื่นกว่าบาท นับเป็นรายได้ที่มั่นคงสำหรับเกษตรกร ในขณะที่การลงทุนมีจุดคุ้มทุนที่ 7 ปี มีรายได้ปีละ 28 ล้านบาท ถ้ามีการลงทุนทั้งระบบ 700 MW จะมีเงินหมุนเวียนในชุมชม ประมาณ 80,000 ล้นบาท เป็นรายได้ที่มั่นคงตลอด 20 ปี โดยเงินจำนวนนี้ จะหมุนเวียนอยู่ในชุมชุมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

‘นับเป็นโครงการที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ จึงขอเชิญนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในโครงการนี้ ถือเป็นการช่วยชุมชน ช่วยชาวบ้านให้มีรายได้ที่มั่นคง เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีด้วย’ นายสุรพัฒน์ กล่าว

ในส่วนของภาคเอกชน นายกิตติ์ธเนส หอมตระกูลขจร นักธุรกิจจังหวัดเลย กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการนี้ และสนใจที่จะลงทุน โดยมีเพื่อนนักธุรกิจของจังหวัดจำนวนหนึ่งให้ความสนใจ ส่วนตัวไม่มีเป้าหมายทางการเมือง แต่ชอบที่จะทำงานกับชุมชนต้องการให้ชาวบ้านมีรายได้ ลืมตาอ้าปากได้

เมื่อถามว่า โครงการกำหนดให้ชาวบ้านเข้ามาถือหุ้น และต้องทำสัญญาซื้อผลิตผลทางการเกษตรด้วย เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือไม่ เพราะนักธุรกิจส่วนใหญ่ต้องการลงทุนและต้องการอำนาจตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว นายกิตติ์ธเนส กล่าวว่า นักธุรกิจยุคใหม่ ต้องให้ความสนใจชุมชน ทำงานร่วมกันชุมชนให้ชุมชมมีรายได้ ซึ่งจะหนุนให้ธุรกิจเติบโตขึ้น

‘ส่วนตัวคิดว่า เป็นโครงการที่ดีมาก สนใจที่จะลงทุน’ นายกิตติ์ธเนส กล่าวทิ้งท้าย