การประชุมสภาสมัยวิสามัญที่เพิ่งจบลงไป ส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพรรคอนาคตใหม่ ที่มีส.ส.หลายคน โหวตสวนมติพรรค ในวาระพระราชกำหนดพรก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบกกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562” และร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในจำนวนนี้ มี ส.ส.มุสลิม 2 คนรวมอยู่ด้วย คือ นายนิรมาน สุไลมาน และน.ส.กวินนาถ
น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ เป็น ส.ส.ชลบุรี เขต 7 พรรคอนาคตใหม่ ที่ร่างกายเป็นผู้หญิง แต่มีนิสัยเป็นผู้ชาย ใช้คำแทนตัวเองว่า `ผม` ในระหว่างแถลงกับข่าว เะป็นทนายควยามก่อนลงสมัคร ส.ส.ชลบุรี ในนามพรรคอนาคตใหม่
กวินนาถ เป็น ส.ส.คนเดียวของพรรคที่โหวตสวนมติพรรคในการโหวตเห็นด้วยกับ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายพ.ศ.2563 และและเป็น 1 ใน 4 คนที่โหวตสวนมติพรรค ในการโหวต พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังฯ
‘เป็น ส.ส.เขต ที่มีปัญหาเชิงพื้นที่เยอะ ซึ่งเราเองก็ลงพื้นที่ตลอด เรามองว่า สิ่งที่เราเห็นด้วย เราไม่ได้เห็นด้วยกับทุกเรื่อง’ เธอให้เหตุผลถึงปัญหาการทำงานในพื้นที่จึงได้โหวตสวนกับมติพรรคอนาคตใหม่ และปฏิเสธการรับเงิน 10 ล้านบาทเพื่อโหวตสวน โดยสาบานตาอหน้าไฟ
‘ที่ทุกคนตีข่าวกันว่ารับเงินสิบล้าน ก็ขอให้เอาหลักฐานมาให้ดู ผมขอสาบานต่อหน้าไฟเลยว่า ไม่เคยไปรับเงินที่ร้านเพลินตามข่าวลือที่ปรากฎ กลายเป็นว่า การที่เราสวนมติครั้งนี้ก็กลายเป็นงูเห่า รัฐบาลมีเสียงมากกว่าอยู่แล้ว เขาจะมาซื้ออะไรแค่คนเดียว ก่อนหน้านี้ มีคนมาเสนอ 30 50 70 ล้าน แล้ว ถ้าจะไปก็ไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว จะมาไปอะไรแค่ 10 ล้าน’ กวินนาถ กล่าวคำปฏิเสธ
อีกคนหนึ่ง นายนิรามาน สุไลมาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่โหวตสวนมติพรรค ในพระราชกำหนดโอนอัตรากำลัง เป็นทนายความจากปัตตานี ที่ลงสมัครส.ส.ในนามอนาคตใหม่ลำดับที่ 30 กว่าๆ และได้เป็นส.ส.
ในแถลงการณ์ 2 หน้าขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ นิรามาน ระบุว่า วาระการลงมติร่าง “พรก.โอนอัตรากำลังพลฯนั้น ส่วนตัวมีความเห็นต่างต่อเสียง ส่วนใหญ่ของที่ประชุมส.ส.อนค.จำนวน 69 คน(เมื่อวันที่ 16 ต.ค.62) ซึ่งมีมติคัดค้าน 2:1= 47 คน(ไม่รับ) และให้งดออกเสียง 21 คน ส่วนเลขาธิการฯซึ่งดำเนินการประชุมขอใช้สิทธิงดออกเสียง
“ผมมองว่าเรื่องนี้เป็น “ประเด็นอ่อนไหว” ที่อาจส่งผลกระทบ (ที่รุนแรง) ต่อพรรคฯในอนาคตได้ จึงเลือกใช้แนวทางที่ผมเชื่อมั่นว่าดีที่สุดคือ “การงดออกเสียง” และแนวทางดังกล่าวก็สอดรับกับเสียงส่วนใหญ่ของการประชุมหารือของคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อค่ำวันที่ 8 ต.ค. 62 และก็เป็น “ทางออก” ที่เลขาธิการพรรคได้เปิดช่องเอาไว้ หากสมาชิกท่านใดรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจ” นิรมาน ระบุในแลถงการณ์
2 ส.ส.อนาคตใหม่ มีเหตุผลที่แตกต่างกัน คนหนึ่ง เป็นห่วงประเด็นเรื่องความอ่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน แต่คนหนึ่งอ่อนไหวกับกระแสในพื้นที่ ในการจัดสรรงบประมาณ แต่ทั้งคู่ถูกมองเป็น งูเห่าสีส้ม
อนาคตของทั้ง 2 จะเป็นอย่างไร น่าติดตามอย่างใกล้ชิด