‘ซาอุดิอารเบีย’ ได้เฉลิมฉลองครบรอบการเป็นเอกราช 89 ปี ท่ามกลางกระแสที่รุมเร้าจากปฏิบัติการโจมตีของ ‘กลุ่มฮูซี’ เยเมน จนเข้าตาจนต้องขอกำลังสนับสนุนเพิ่มจากสหรัฐฯ และคาดว่า จะต้องจ่ายเงินให้พญาอีแร้งอีกบานตะไท
ซาอุดิอารเบีย ก่อตั้งประเทศ เมื่อกันยายน 1930 หลังการล่มสลายของอาณาจักรออตโตมันที่ปกครองดินแดนในคาบสมุทรอาหรับมายาวนานหลายร้อยปี
ในปี 1917 หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ออตโตมาน ซึ่งเข้าร่วมรบกับอาณาจักรปรัสเซีย(เยอรมนี)พ่ายแพ้สงครามให้กับชาติยุโรป ที่มีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นหัวหอก อังกฤษ ต้องการเข้ามาปลดอาวุธออตโตมันทีมีฐานใหญ่อยู่ที่ อิสตันบูล
ในขณะที่คอลีฟะห์ยอมให้ปลดอาวุธ นายพลอตาเติร์ก ผู้บัญชาการทหารได้จับอาวุธ และนำชาวตุรกีลุกขึ้นขัดขวางการปลดอาวุธ นำพาตุรกีรอดพ้นจากการยึดครองของยุโรปได้สำเร็จ ในปี 1924 เขาได้ล้มเลิกระบบคอลีฟะห์ ที่นำโดยชนชาติออตโตมาน สิ้นสุดระบอบการปกครองโลกอิสลามที่ดำเนินมายาวนานกว่า 1,000 ปี
อาตาเติร์ก หันหลังให้กับโลกอาหรับหันไปเดินตามยุโรป เพื่อนำพาชาติอให้ทันสมัย ดินแดนในปกครองของออตโตมาน จึงประกาศตัวเป็นอิสระ รวมทั้ง ซาอุดิอารเบีย โดยราชวงศ์’ซาอุด’ สถาปนาตนเองเป็นผู้นำ ภายใต้การสนับสนุนของอังกฤษ ก่อตั้งเป็นประเทศที่นำชื่อราชวงศ์มาก่อตั้ง
ซาอุดิอารเบีย เริ่มต้นประเทศด้วย 3 ประสาน คือ ราชวงศ์ซาอุด ที่มีความชำนาญด้านการรบ ตระกูลบินลาเดน ที่มีผู้มีฐานะมั่งคั่ง เป็นผู้สร้างถนนเส้นแรกในมักกะห์ และอับดลวาฮาบ เป็นผู้นำด้านศาสนา กระชับอำนาจให้ราชวงศ์ซาอุด โดยใช้ศาสนานำ
ด้วย 3 ประสานดังกล่าว ส่งผลให้ราชวงศ์ซาอุฯ กระชับอำนาจแน่นหนา และจากประเทศยากจนได้กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวย หลังการค้นพบน้ำมัน ตระกูลบินลาเดิน จึงได้รับการตอบสนองโครงการจากราชวงศ์มากมายมหาศาล และสายศาสนา ก็ได้รับการสนับสนุนให้แนวคิด’วาฮาบี’ กระจายไปไปสร้างปัญหาความขัดแย้งในทั่วทุกมุมโลก
หลังวิกฤติน้ำมันในทศวรรษ 1970 ที่ชาติผู้ผลิตน้ำมันรวมทั้งชาติอาหรับ ปฏิเสธการขายน้ำมันให้สหรัฐฯ ส่งผลให้ประเทศอเมริกาอันยิ่งใหญ่ เป็นอัมพาตไปทั้งประเทศ การเดินทาง การประกอบธุรกิจหยุดชะงักจากการขาดแคลนน้ำมัน
หลังวิกฤติสหรัฐฯ มองเห็นความสำคัญของผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อย่างซาอุฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ทั้ง CIA และเจ้าหน้าทีฝ่ายต่างๆเข้ามาในซาอุฯ
‘สิ่งที่เราเห็นคือความล้าสมัย เราเห็นแพะ เก็บกินอาหารจากถังขยะที่กองเรี่ยราด’ อดีตคเจ้าหน้าที่ CIA บันทึกลงในหนังสือ ที่เชื่อว่า เพชรฆาตเศรษฐกิจ
ในขณะนั้น เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯกระจายไปยังทุกมุมโลก ในนามธนาคารโลก(World Bank)กระตุ้นให้แต่ละประเทศพัฒนา ด้วยการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ อาทิเขื่อน ถนน เป็นต้น โดยให้ปรเทศเหล่านั้น กู้เงินจากWorld Bank และบริษัทของสหรัฐฯ เข้าไปสัมปทาน และหนี้ที่เป็นอยู่กับธนาคารโลก ก็จะถูกนำมาต่อรองทางการเมือง สหรัฐฯเข้าไปยึดครองในหลายประเทศ โดยเฉพาะในลาตินอเมริกา
ในซาอุฯ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ นำประเด็นเรื่องความมั่นคงไปขายไอเดียให้กับซาอุฯ ด้วยหลังจากนั้นไม่นาน ได้เกิดการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ขับไล่ระบอบชาร์ที่เป็นพันธมิตรที่ดีกับสหรัฐฯออกไป
ซาอุฯ จึงโหมสะสมอาวุธ ที่ขายโดยสหรัฐฯ รวมทั้ง สหรัฐฯได้เข้าไปตั้งฐานทัพในซาอุฯ ไม่ไกลจากแผ่นดินฮารอมมากนัก คนที่กอบโกยผลประโยชน์มากที่สุดคือสหรัฐฯ จากการสร้างความหวาดระแวงให้เกิดในหมู่กลุ่มชาติในคาบสมุทรอาหรับ เหมือนครั้งที่อังกฤษจะเข้ายึดครองอินเดียเป็นอาณานิคม ก็ยุให้แต่ละเมืองรบกัน และตัวเองทำหน้าที่เข้าไปไกล่เกลี่ยนและยึดครอง ด้วยกำลังเพียง 200คน
แม้จะได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านอาวุธจากสหรัฐฯ แต่ระยะนั้นราชวงศ์ซาอุฯ ก็ยังไม่ได้แสดงความปฏิปักษ์กับชาติอาหรับอื่นๆ แม้แต่กับอิหร่าน แต่หลังการเข้ามายึดกุมอำนาจของ มกฎราชกุมาร มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน ได้ใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อประเทศคู่ปฏิปักษ์ในภูมิภาค การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายให้ล้มรัฐบาลบาซ่า อัลอัซซาด แห่งซีเรีย การสนับสนุนอดีตผู้นำเยเมน ด้วยการร่วมกับพันธมิตร โจมตีฝ่ายกบฎฮูซี ที่เข้ายึดครองเยเมน
‘เยเมน’ เกิดสงครามกลางเมืองมายาวนานหลายปี หลังซีเรียไม่นาน มีการโค่มล้มประธานาธิบดีคนเก่า และประธานาธิบดีที่นำกำลังโค่นล้ม ก็ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มฮูซี ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนาน
ฮูซี แม้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน แต่เป็นไปอย่างไม่เปิดเผยนัก เมื่อเทียบกับการสนับสนุนปาเลสไตน์ และกลุ่มฮิสบุลเลาะห์ในเลบานอน ที่อิหร่านให้การสนับสนุนด้านอาวุธอย่างเต็มที่ จนปัจจุบันปาเลสไตน์สามารถต่อกร และสร้างความเสียหายให้กับอิสราเอลได้ไม่น้อย จะเห็นว่า ระยะหลังอิสราเอลไม่กล้าโจมตีปาเลสไตน์มากนัก เพราะแต่ละครั้งจะถูกตอบโต้อย่างรุนแรงจากปาเลสไตน์ ในขณะที่อิสบุลเลาะห์ เป็นกองกำลังที่เอาชนะอิสราเอลได้ สามารถขับไล่อิสราเอลออกจากดินแดนยึดครองในเลบานอน และกำลังต่อกรกับอิสราเอลเพื่อทวงคืนดินแดนยึดครอบบนที่ราบสูงโกลัน
แต่กับฮูซี อิหร่านไม่ได้การช่วยเหลือด้านอาวุธ แต่ได้ส่งเทคโนโลยีให้พัฒนาอาวุธขึ้นมาเอง ที่ผ่านมาฮูซี มีศักยภาพในการเจาะหลุมขนาดใหญ่ เพื่อซ่อนรถถัง เพื่อหลบการโจมตีของซาอุฯ และพันธมิตร และสามารถผลิตโดรนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้ อิหร่านเจ้าของเทคโนโลยี ก่อนหน้านี้ฮูซี ได้ใช้โดรนถล่มสนามบินในซาอุฯ มาแล้ว เป็นสัญญาณเตือนไปยังซาอุฯ และสหรัฐฯ
สุดท้าย โดรนอันทรงประสิทธิภาพของฮูซีก็ทะลุทลวงแนวป้องกันเข้าไปโจมตีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างความเสียหายให้กับซาอุฯมากมายมหาศาล สูญเสียกำลังการผลิตน้ำมันไป 5.7 ล้านบาร์เรลล์ต่อวัน จาก 12 ล้านบาร์เรลล์ต่อวันที่ซาอุฯผลิตน้ำมันได้ เท่ากับกำลังการผลิตหายไปถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว
โรงกลั่นน้ำมันอารามโก มีระบบการป้องกันที่เหนียวแน่นจากระบบการป้องกันภัยทางอากาศของสหรัฐ แต่ฮูซี ใช้กลยุทธอันหลากหลายบุกเข้าโจมตี 3 ทาง หนึ่งหลอกล่อ ทางหนึ่งโจมตี
การโจมตีระบบที่สหรัฐฯ บอกว่าทันสมัยที่สุดในโลก สร้างความขายหน้าให้กับสหรัฐฯอย่างยิ่งที่กำลังๆเล็กๆได้สร้างความเสียหายให้กับระบบที่มูลค่าหลายพันล้านเหรียญได้ จึงฟาดงวงฟาดงาไปยังอิหร่านว่า เป็นผู้โจมตี
มีเจ้าหน้าที่สหรัฐ 3 นาย ไม่มีชื่อไม่มีสังกัด และไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน ระบุว่าอิหร่านเป็นคนลงมือ ซึ่งทำเนียบขาาวก็เชื่อตามนั้น ตามมาด้วยบรรดาผู้นำชาติยุโรปที่ออกมาประสานเสียงว่า เป็นฝีมืออิหร่าน
นับเป็นความพ่ายแพ้อย่างรุนแรงของสหรัฐฯและพันธมิตร ในสมรภูมิตะวันออกกลาง และเป็นการชักศึกเข้าบ้านอย่างเต็มรูปแบบของซาอุฯ ที่หากยังไม่ถอนตัวจากสมรภูมิเยเมน ก็น่าจะมีความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่
เงินที่ใช้ซื้ออาวุธนับล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ไม่ได้คุ้มครองป้องกันตนเองได้เลย และคาดว่า ไม่นานพระราชวังในริยาด ก็อาจจะถูกโจมตี จากโดรนของฮูซี
ในขณะที่มาตรการทางเศรษฐกิจในการแซงชั่นอิหร่านของโดนัลด์ ทรัมป์ล้มเหลว เพราะจีนและรัสเซียไม่ยอมเล่นด้วย และผู้นำชาติยุโรปก็ยังต้องการให้เดินหน้าขอตกลงนิวเคลียร์ต่อไป เพราะอังกฤษก็เจอบทเรียนจากการไปยึดเรืออิหร่าน สุดท้ายก็ได้รับการตอบโต้อย่างเจ็บแสบ
หากเปรียบเทียบศักยภาพระหว่างซาอุฯกับอิหร่าน เห็นได้ชัดว่า อิหร่านเหนือกว่าในด้านการผลิตอาวุธ กระบวนการแซงชั่นตั้งแต่ปี 1973 ไม่สามารถเล่นงานอิหร่านได้ ปฏิบัติการโดรนของอิหร่านต่อเรือรบสหรัฐฯ แต่การยิงโดรนล่องหนของสหรัฐฯ ตกหลายครั้ง ยืนยันศักยภาพในเทคโนโลยีการผลิตอาวุธได้เป็นอย่างดี
ไม่สามารถประเมินได้ว่า อิหร่านมีขีปนาวุธ มีหัวรบอยู่เท่าไหร่ แต่การจัดสรรให้ ฮามาสในจำนวนมากมายนั้น น่าจะบอกได้ไว้ อิหร่านมีเขีค้ยวเล็บอยู่ในน้อย ในขณะที่กำลังรบภาคพื้นดิน อยู่ในสภาพห้าวหาญจากการออกรบทั้งในซีเรีย ในขณะที่ซาอุฯประเทศร่ำรวย ไม่มีใครเป็นทหาร กำลังรบส่วนหนึ่งนำเข้ามา
จากแอฟริกา หากรบกันจริงน่าสนใจว่า จะเกิดสถานการณ์จะเป็นอย่างไร
อย่างไรก้ตามสถานการณ์ที่ผ่านมา ซาอุฯ ภายใต้การนำบองบินซัลมาน นำซาอุฯ เข้าสู่หุบเหวแห่งความยากลำบาก จากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อต้องการรักษาความเป็นพี่เบิ้มแห่งตะวันออกกลาง
ภายใต้ความเกลียดชังของหลายๆประเทศ แน่นอนว่า อาจจะเป็นนับถอยหลังราชวงศ์ซาอุฯว่า จะอยู่ถึง 100 ปีหรือไม่