ชาวบ้าน’เคร็ง’โวย เป็นจำเลยสังคม’เผาป่าพรุ โยนจนท.หวังงบ 200 ล้าน จี้’บิ๊กตู่’ฟังชาวบ้าน

ไฟไหม้ป่าพรุ ชาวบ้านเคร็งลั่น นายกฯ อย่าฟังแต่ข้าราชการ ต้องฟังภาคประชาชน เพื่อแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ปฏิเสธเผาป่าเพื่อรุกที่ดินทำสวนปาล์ม โยนกลับเจ้าหน้าที่หวังงบ 200 ล้านหรือไม่ ส.ส.นครฯ ร่วมรับ สรุปข้อเสนอ 4 แนวทางแก้ไขปัญหาให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการ

วันที่ 8 กันยายน 2562 กลุ่มชาวบ้านได้ร่วมกันจัด กิจกรรม จิบน้ำชา -เสวนา “มุมเมืองคอน มองป่าพรุควนเคร็ง” ที่บ้านควรเคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางการฟื้นฟูป่าพรุควนเคร็ง หลังจากที่ได้เกิดไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งเมื่อปลายเดือนสิงหาคม เป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ โดยมี นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีตนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ผู้สมัครส.ส.เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ ร่วมรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำข้อมูลไปเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพืีอแก้ปัญหาต่อไป

สำหรับพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง ได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่ อ.ชะอวด อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ร่อนพิบูลย์ ประมาณ 340,000 ไร่ โดยอยู่ในพื้นที่ตำบลเคร็ง อ.ชะอวด ประมาณ 100,000 ไร่

‘ชาวบ้านควนเคร็ง ได้ตกเป็นจำเลยสังคม เพราะที่ผ่านมาถูกมอง ถูกตั้งคำถามว่า เป็นคนเผาป่าเพื่อหาประโยชน์’ นายทนง บุญแก้ว ผู้ใหญ่บ้ายม.7ต.เคร็ง กล่าวในที่เสวนา พร้อมยืนยันว่า ไม่มีชาวบ้านในพื้นที่เผาป่า เพื่อครองครองที่ดิน และไม่มีนายทุนเข้ามาครอบครองที่ดิน ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีที่ดินทำดินเพียงเล็กน้อย 5-10 ไร่เท่านั้น ไม่ได้มีมากมายตามที่มีการตั้งข้อสังเกตกัน

ด้านนายธรรมนูญ คงจันทร์ กำนันตำบลเคร็ง กล่าวว่า ปัญหาไฟไหม้ป่าพรุควรเคร็ง ส่วนหนึ่งมาจากการไม่เจตนามีคนเข้าไป หาปลา เผาปลา เกิดเพลิงลุกไหม้ เป็นต้น เมื่อเกิดเพลิงลุกไหม้ ก็จะมีลมพัดแรง เกิดการโยน คือไฟจะถูกลมพัดจากจุดหนึ่งไปยังอีกตุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว

‘เมื่อเกิดเพลิงไหม้ พวกตนก็จะลากสายยาง เข้าไปหลายกิโลเมตรเพื่อดับไฟ บางทีไฟไหม้ตรงใจกลางป่า ห่างไกลหลายกิโลเมตร เดินทาง ไปถึงก็ใช้เวลา 2 ช.ม. มีเพียงไม้ตีไฟ ซึ่งเอาไม่อยู่’กำนันตำบลเคร็ง กล่าว

เขา กล่าวว่า ธรรมชาติของป่าพรุคือมีการทับุมของพืชประมาณ 1 เมตร ไฟไหม้เมื่อน้ำที่หล่อเลี้ยงป่าแห้ง ซึ่งเกิดจากการตื้นเขินของคูคลองในป่า ส่วนท่องถิ่นพนายามเข้าไปขุดลอก แต่ส่วนราชการไม่อนุญาต จึงแก้ปัญหาไม่ได้ ประกอบกับ แนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่ากับแนวที่ของชาวบ้านไม่ชัดเจน จึงมีปัญหาในการเฝ้าระวัง

‘ในพื้นที่เคร็ง เรามีการเฝ้าระวัง โดยให้มีการลงทะเบียนคนที่เข้าไปในป่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง แต่พื้นที่อื่น ไม่แน่ใจว่ามีหรือไม่ เพราะป่าพรุเข้าออกได้หลายทาง บางคนมีจากข้างนอกเข้ามา หาของป่า หาผึ้ง มีการเผาก็ไม่สามารถควบคุมได้’ กำนันเคร็ง ให้ข้อมูล

ทั้งนี้ชาวบ้านได้แสดงความเห็นหลากหลาย โดยได้สะท้อนปัญหาการประกาศเขตป่าทับที่ชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านมีปัญหา จะนำที่ดินไปจำนองก็ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

‘นายกฯจะมาในวันที่ 13 กันยายนนี้ อยากให้นายกฯมาฟังชาวบ้าน ไม่ใช่ฟังแต่รายงานของข้าราชการ ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ซึ่งข้าราชการก็จะกีดกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าพบนายกฯ ปัญหามีมานานแล้ว จึงไม่ได้รับการแก้ไขซักที’ นายถวิล สุขสวัสดิ์ ผู้นำชุมชนเคร็ง กล่าว

ด้านนายถวิล สุขสวัสดิ์ แกนนำชาวบ้าน ต.เคร็ง กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวของคนนอกพื้นที่ เข้ามาเพื่อหาประโยชน์ เมื่อหมดทางที่จะหาประโยชน์แล้วคนพวกนี้ก็ออกไป โดยเรื่องไฟไหม้ป่าพรุ ชาวบ้านก็บอกว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนทำ เพราะต้องการงบประมาณมาใช้ในแต่ละปี 200 ล้านยาท ขณะที่เจ้าหน้าที่เองก็บอกว่าชาวบ้านเป็นคนเผา เพราะต้องการที่ดินไปใช้ประโยชน์

“ที่ชาวบ้านกลายเป็นจำเลยเพราะบางคนอาจจุดไฟเผาป่าพรุ เพราะต้องการให้กระจูด พืชซึ่งวัตถุดิบนำมาใช้ทำหัตถกรรมขึ้นมาใหม่ หรืออาจจะจะเผาเพื่อให้หญ้าที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ขึ้นมาใหม่ หรือว่าจุดป่าพรุเพื่อเอาที่ไปขายให้คนนอกพื้นที่ นี่คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่มักจะโยนบาปให้กับชาวบ้าน”

ด้านนายสัณหพจน์ เปิดเผยว่า หลังจากรับฟังปัญหา พยว่า สาเหตุหลักๆ มีการตั้งข้อสัณนิษฐานว่าสถานการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นนั้นมาจากนายทุนได้จ้างวานกลุ่มบุคคล ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าพรุเสียหายไปกว่า 3.9 หมื่นไร่หรือไม่

ทั้งนี้แกนนำชาวบ้านได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหา ด้วยการฟื้นฟูป่าพรุ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ชาวบ้านในพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมไปถึงการกำหนดเขตป่าและพื้นที่ทำกินแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ด้วยการบูรณาการร่วมกับของหน่วยงานรัฐและชาวบ้านในพื้นที่คือการเร่งศึกษาการจัดทำโครงการแบ่งเขตป่าและชุมชนด้วยคลองกั้นระบายน้ำจำนวนประมาณ 230 สายคลอง โดยขณะนี้ยังขาดในเรื่องของงบประมาณในการดำเนินโครงการ

สำหรับการแบ่งเขตแนวป่ากับเขตพื้นที่ชาวบ้านจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากที่ขณะนี้ปริมาณรับน้ำของลุ่มน้ำปากพนังมีน้ำอยู่เพียง 80 ล้านลบ.ม. เพิ่มขึ้นเต็มศักยภาพที่จำนวน 240 ล้านลบ.ม. ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

นอกจากนี้เวทีเสวนา ได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำเสนอให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในวาระที่นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ป่าพรุควนเคร็งเพื่อรับฟังปัญหา ใน 4 ประเด็นด้วยกันคือ
1.การกำหนดพื้นที่ระหว่างเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตพื้นที่อนุรักษ์ และเขตพื้นที่ทำกินของชาวบ้านให้ชัดเจน
2.ปลดล็อคเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้เช่น การขาย การจำนองที่ดิน
3. การกักเก็บน้ำเพื่อเพื่อใช้ในที่เกษตร และเป็นแหล่งน้ำของชาวบ้านในพื้นที่
4.การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่