มหัศจรรย์ เศรษฐกิจของจีนยุคใหม่ ปัจจัยความสำเร็จที่เราต้องรู้

เป็นสิ่งที่น่า “มหัศจรรย์” สำหรับเศรษฐกิจของจีนในยุคปัจจุบัน ที่สามารถก้าวขึ้นมาเป็น “มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ”อันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอมเริกา และคาดว่าหากเศรษฐกิจของจีน สามารถรักษาระดับการเติบโตเหมือนที่ผ่านมา จะทำให้ “จีน” จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกในระยะอันไม่ไกลนี้

มหัศจรรย์ เศรษฐกิจของจีนยุคใหม่

โดย ดร.วันเฉลิม จันทรากุล


นอกจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแล้ว การพัฒนาด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และแสนยานุภาพทางการทหาร ได้เติบโตขึ้นอย่างมากเช่นกัน
สิ่งที่น่าศึกษาที่สุดคือ ปัจจัยอะไร ที่ทำให้จีนก้าวกระโดดได้เร็วถึงขนาดนี้ เพราะก่อนปี พ.ศ.2521 เศรษฐกิจจีน มีความผันผวนมาก ประชาชนขาดแคลนอาหาร และมีรายได้ต่ำมาก โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจราว 3-4 % ต่อปี เท่านั้น

ในทัศนะของผู้เขียนมีความเห็นว่า ปัจจัยที่เป็นก้าวย่างสำคัญในการพัฒนาของจีนมีดังนี้ คือ

1.ลักษณะเฉพาะของชาวจีน: ชนชาติจีน มีความพิเศษที่ต่างจากชนชาติอื่นอย่างเห็นได้ชัด 6 ประการ คือ
1.มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2.มีความขยัน
3.ประหยัด อดออม
4.แสวงหาความรู้อยู่เสมอ 5.เป็นดินแดนแห่งคลังความรู้ของโลก และ
6.มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ
กล่าวคือ

1、มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน: ชาวจีน มีความรู้สึกร่วมในความเป็นชนชาติสูง แม้ในช่วงการพัฒนาของจีนในระยะต้นๆ จะขาดแคลนปัจจัยในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน เครื่องมือ องค์ความรู้ในการจัดการ แต่การที่มีแรงงานจำนวนมากและมีความพร้อมใจกันสร้างชาติ รวมทั้งการเชื่อมั่นต่อผู้นำ พวกเขาได้ช่วยกันพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เป็นความจริงขึ้นมาได้

ดร.วันเฉลิม จันทรากุล ผู้เขียน

ยกตัวอย่างการพัฒนาของเมืองลิ่วผานสุ่ย (Liupanshui) ในมณฑลกุ้ยโจว ซึ่งเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยภูเขา การเดินทางมีความยากลำบาก แต่เมืองนี้มีแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะถ่านหินและแร่เหล็ก พวกเขาได้ใช้แรงงานเท่าที่มีอยู่ทั้งเยาวชน หนุ่มสาว และผู้สูงอายุ ช่วยกันพัฒนาเส้นทางรถไฟ สะพาน ถนน เพื่อให้พร้อมสำหรับการลงทุน
ตามนโยบายของ “เติ้ง เสี่ยว ผิง” ทำให้ปัจจุบันเมืองนี้มีความเจริญมาก จากเดิมเป็นเมืองที่ยากจนอันดับต้นๆของจีน

2.ความขยัน: เป็นที่รู้กันไปทั่วโลกว่าชาวจีนมีความขยันมาก ที่ไหนมีชาวจีนอาศัยอยู่ ที่นั่นจะมีเศรษฐกิจที่ดี เช่น ย่านไชน่าทาวน์ในสหรัฐอเมริกา ย่านไชน่าทาวน์ในประทศไทย เป็นต้น

3、ประหยัด อดออม : ชาวจีน สร้างรายได้เก่ง แต่ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุมีผล จึงทำให้สามารถสะสมทุนได้มากและมีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง ไม่มีหนี้สิน เหมือนกับชนชาติอื่นๆ จึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ

4、การแสวงหาความรู้อยู่เสมอ: “ชาวจีน”เป็นชนชาติที่ไม่หยุดนิ่งในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ดังจะเห็นได้จากมีนักศึกษาจีนจำนวนมากได้เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศทั่วโลก

5、ประเทศจีนเป็นคลังแห่งความรู้ของโลก: จีนเป็นดินแดนแห่งความรู้ของโลก เพราะศาสตร์หลายศาสตร์ได้เกิดขึ้นมาก่อนองค์ความรู้ของประเทศสหรัฐฯและยุโรปเสียอีก เช่น ศาสตร์สงครามของซุนวู ,ศาสตร์การบริหารจัดการจากสามก๊ก,ศาสตร์การก่อสร้าง,ศาสตร์การแพทย์,ศาสตร์การเดินเรือ เป็นต้น

6. ชาวจีนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ: มีสิ่งประดิษฐ์จำนวนมากของโลกปัจจุบัน มีแหล่งกำเนิดจากจีน เช่น กระดาษ,ปืน,การต่อเรือ,การใช้ยาสลบเพื่อใช้ในการผ่าตัด.ฟุตบอล,บอลลูน เป็นต้น
วัฒนธรรมจีนที่สวยงามและมีประวัติยาวนาน จีนเป็นประเทศที่มีประวัติยาวนานเพราะความรู้ทางวัฒนธรรมมากมายที่มาจากประเทศจีนและใช้ทั่วโลก ความรู้ทางวัฒนธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเช่นซุนวูยุทธวิธีเทคนิคการจัดการของสามก๊กสถาปัตยกรรมโบราณการแพทย์โบราณและการเดินเรือโบราณ
จากปัจจัยข้างต้นจึงชี้ให้เห็นว่าจีนมีปัจจัยที่พร้อมในการพัฒนาอยู่แล้ว

2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน การปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม และการใช้มาตรการภาษีเพื่อจูงใจนักลงทุน : อย่างที่ทราบกันว่า หลังปี 2521 “เติ้ง เสี่ยว ผิง” เลขาธิการพรรคคอมมูนิสต์ของจีน ได้ผลักดันแนวนโยบายนำประเทศจีนสู่ “ความทันสมัย” โดยใช้แนวทางของนโยบายทุนนิยมควบคู่ไปกับสังคมนิยม
โดยมีนโยบายที่สำคัญ เช่น การเปิดบ้านหรือเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ, การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษรอบชายฝั่งเพื่อสนับสนุนการพัฒนา การสร้างถนนหนทางหรือสาธารณูปโภคเพื่อรองรับนักลงทุน พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการลงทุนจากต่างประเทศ และการใช้มาตรการจูงใจด้านภาษี
ทำให้มีบริษัทใหญ่ๆ จากต่างประเทศ ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ต่างหลั่งไหลเข้าไปลงทุนที่จีน จนทำให้จีนได้ชื่อว่า”จีนคือโรงงานของโลก” บวกกับผู้นำของจีนรุ่นต่อๆมาได้สานต่อแนวทางของ “เติ้ง เสี่ยว ผิง”อย่างจริงจัง ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนโตขึ้นเร็วมาก


โดยเฉพาะตั้งแต่ พ.ศ.2521 จนถึง พ.ศ.2556 เศรษฐกิจจีนเติบโตในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หรือโดยเฉลี่ยเติบโต 9.5 % ต่อปี ซึ่งถือว่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการ”สะสมทุน” หรือการ “สะสมความมั่งคั่ง”ครั้งสำคัญของจีน ทั้งในเชิงการสะสม”ทุนที่เป็นตัวเงิน”( Capital) และ การสะสมทุนที่เป็น“องค์ความรู้”(body of knowledge)
รูปธรรมการสนใจในการลงทุนของต่างชาติในจีน จะเห็นได้จากรายงานเรื่อง Global Investment Trends Monitor ประจำปี 2557 ของ UNCTAD ระบุว่าในปี 2557 จีนได้แซงหน้าสหรัฐฯ ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้รับเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (recipient of FDI) มากที่สุดในโลก ประมาณ 128 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดังนั้น จึงนับว่านโยบายของ “เติ้ง เสี่ยว ผิง” เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่นำจีนสู่ความมั่งคั่งมาจนถึงปัจจุบัน

3.การพัฒนาการศึกษาของจีน: การพัฒนาการศึกษาของจีน มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุคประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” และนายกรัฐมนตรี“หลี่ เค่อเฉียง”ได้ปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง มีระบบและมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างทั่วถึง ทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้แม้ในพื้นที่ที่ห่างไกล
รวมทั้งได้นำการศึกษาของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาของจีน ทำให้เกิดบุคคลากรที่มีคุณภาพจำนวนมาก และรัฐบาลจีน ยังได้ส่งให้บุคคลากรเหล่านี้ไปแสดงศักภาพในต่างแดนด้วย ทำให้ได้มีโอกาสในการพัฒนาทักษะให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ด้วยนโยบายนี้ ทำให้จีนมีคนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่าแปดล้านปีนี้และจากปี2553คนจบการศึกษามี2%-3%ของการเจริญเติบโตในแต่ละปี ประเทศจีน จึงมีบุคคลากรที่พร้อมอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประทศ ซึ่ง “ทรัพยาการมนุษย์”( Human resources) ถือว่ามีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
4.การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิตอล: “รัฐบาลจีน”มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล และยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้ลงทุนเพื่อพัฒนาดิจิตอลเองด้วย โดยตั้งแต่ปี 2557 รัฐบาลจีนได้ออกนโยบายลดภาษี และตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมนักธุรกิจให้ประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จนถึงปัจจุบันจีนมี 4 บริษัทใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอล ที่กำลังมีอิทธิพลไปทั่วโลก คือ หัวเหว่ย,ไป่ตู้ (Baidu),อลีบาบา( Alibaba) และ วีแชท(Tencent )
นอกจากนี้การที่จีน เป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์(Hardware)ที่สำคัญของโลกอย่าง”สมาร์ทโฟน” ทำให้ชาวจีนสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจดิจิตอลของจีนขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
จากประเด็นข้างต้นของจีน แสดงให้เห็นว่า โดยพื้นฐานทางลักษณะของชาวจีนมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่แล้ว คือ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ,มีความขยัน ,ประหยัด อดออม ,แสดงหาความรู้อยู่เสมอ ,เป็นคลังแห่งความรู้ของโลก และ มีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเลิศ เพียงแต่ยังขาดปัจจัยในการผลิต คือ เงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญ แต่เมื่อ “เติ้ง เสี่ยว ผิง” ได้ผลักดันแนวนโยบายนำประเทศจีนสู่ “ความทันสมัย” สิ่งที่จีนขาดแคลนอยู่จึงได้หลั่งไหลอย่างมหาศาลเข้าสู่จีน ซึ่งนี้คือโอกาสของจีนในการ”เติมเต็ม” สิ่งที่จีนยังขาดแคลนอยู่ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำไปสู่การสะสมทุน หรือ การสะสมความมั่งคั่ง ในเวลาต่อมา
และด้วยลักษณะทางชนชาติของจีน โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์และการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ จีนสามารถ “ต่อยอด”นวตกรรมให้เหนือกว่าต้นฉบับเดิมหรือสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากต่างประเทศ ยิ่งขึ้นไปอีก
โดยสิ่งที่ “ต่อยอด”มานั้นก็สอดคล้องกับความต้องการของคนทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ของหัวเหว่ย หรือ อลีบาบา เป็นที่ถูกใจของคนทั่วโลก และมีการประมาณว่าปัจจุบันสินค้าที่วางขายทั่วโลกราว 80-90 % “made in china” หรือ ผลิตจากจีน
ดั้งแล้วจึงเชื่อว่าต่อจากนี้ จีนไม่น่าจะใช้เวลามากในการขึ้นมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกในอนาคต
โดยจากการจัดอันดับประเทศตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund:IMF) เมื่อ 2561 จีนอยู่อันดับ 2 มี GDP 13,457,267 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหรัฐอเมริกา มี GDP 20,513,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นว่ามีช่องว่างห่างกันไม่มากนัก
โดยปัจจัยที่เชื่อว่า จะทำให้จีน สามารถแซงขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ในระยะอันไม่ไกลคือ คือ ลักษณะเฉพาะของชนชาติจีน และความพร้อมด้านปัจจัยการผลิตที่รับเข้ามาจากต่างประเทศและที่มีอยู่ในจีนแล้ว ซึ่งจะทำให้ “จีนไม่ล้าสมัย”

และผลิตสินค้าได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก รวมทั้งการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิตอล เช่น เทคโลโนยี 5G, Big Data
ซึ่งประเด็นนี้อาจจะมีผู้โต้แย้งว่า เศรษฐกิจของจีนอาจจะไม่ดีเหมือนที่ผ่านมาก็ได้ เพราะมีประเด็น“สงครามการค้าจีน–สหรัฐ(Trade war)” ที่จะส่งผลกระทบ ซึ่งเรื่องนี้ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า อาจจะกระทบระยะสั้น เพราะยังปรับตัวไม่ทัน แต่ระยะยาว เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบ และอาจจะดีขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ
เนื่องจากว่า 1.การบริโภคภายในประเทศ(Domestic consumption) ของจีนยังขยายตัวได้อีก เพราะมีประชากรจำนวนมากถึง 1,400 ล้านคน และมีกำลังซื้อสูงด้วย โดยปัจจุบันการบริโภคภายในประเทศของจีน(Domestic consumption)อยู่ที่ประมาณ 50 % ในขณะที่ตลาดของสหรัฐฯกับพันธมิตรยุโรป มีประชากรรวมกันแค่ 1,068.6 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งยังน้อยกว่าจีนอีก (ประชากรสหรัฐ มี 32พันล้านหยวน,ประชากรยุโรป 14พันล้านหยวน)
2. “จีน”มีพันธมิตรทั่วโลกที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ประเทศในกลุ่ม BRIC หรือ “กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) (ประกอบ บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China)) ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 43 % ของประชากรโลก มีสัดส่วนใน GDP หนึ่งในสี่ของโลกหรือราว 13.7 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
หรือ ประเทศกลุ่มอาเซียน มีจำนวน 10 ประเทศ ประชากรราว 625 ล้านคน แถบมีกำลังซื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ มีจีดีพีรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเข้ามาทดแทนตลาดของสหรัฐฯและยุโรปได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ นโยบาย “1 แถบ 1 เส้นทาง” (One Belt and One Road) หรือ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21” ที่เชื่อมภูมิภาคต่างๆเข้าด้วยกัน จะมีประโยชน์ต่อจีนอย่างมหาศาลทั้งด้านการค้า การลงทุน และบทบาทในดุลอำนาจโลก(balance of power) ที่ผู้นำของโลกเคยอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป จะเปลี่ยนมาอยู่ที่เอเชียแทน โดยมี “จีน”เป็นผู้นำ
บวกกับ จากการที่สหรัฐฯ และประเทศในยุโรป เผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงิน ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเปลี่ยนถ่ายจากภูมิภาคตะวันตกมาสู่ภาคตะวันออกได้เร็วขึ้น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนที่จะช่วยความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของจีน ทั้งสิ้น
จากปัจจัยเหล่านี้จึงเชื่อว่าต่อจากนี้”จีน” จะสร้างความมหัศจรรย์ให้ชาวโลกได้เห็นอีก !!