ผลประโยชน์ธุรกิจฮัจย์-อุมเราะห์ หมุนเวียน 2,0000 ล้านบาทต่อปี กระจายไปยังหลายภาคส่วนสายการบิน ที่พัก อาหาร ผู้ประกอบการและแซะ
การประกอบพิธีฮัจย์ ที่มักกะห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นข้อบังคับหนึ่งของอิสลาม สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถเดินทางไป ทั้งกำลังทรัพย์ ร่างกายที่แข็งแรง และมีสติปัญญา ได้กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลทั่วโลก
ในแต่ละปี มีมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประมาณ 3-5 ล้านคน ตามสภาพเศรษฐกิจของแต่ละปี สำหรับประเทศไทย ได้รับโควต้าจากทางซาอุดิอารเบีย ให้พี่น้องมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธ๊ฮัจย์ประมาณ 13,000 คน ซึ่งในอดีตจะมีผู้เดินทางไปเต็มโควต้า และจะต้องขึ้นทะเบียนจองไว้ข้ามปี แต่ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะราคายาง ปาล์ม รวมทั้งการประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของมุสลิมทางภาคใต้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ จึงมีผู้เดินทางไปประมาณ 8,000-9,000 คน โดยในปี 2552 มีผู้ลงทะเบียนเดินทางไป ประมาณ 8,000 คน ใกล้เคียงกับตัวเลขเมือปี 2561
มุสลิมในประเทศไทย เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ประมาณ 40 วัน ไม่นับรวมวันเดินทาง โดยอยู่ที่มาดีนะห์ 8 วัน ที่เหลือจะอยู่ที่มักกะห์ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง การประกอบพิธีฮัจย์ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็เสร็จสิ้น แต่ด้วยความเชื่อดั้งเดิมและผลประโยชน์ของผู้ประกอบการฮัจย์ จึงกำหนดไว้ยาวนานถึง 40 วัน โดยไม่จำเป็น
ก่อนหน้านี่้ ราคาการเดินทางไปฮัจย์ ประมาณ 200,000-220,000 บาทต่อคน แต่หลังจากมีจัดฮัจย์คณะพิเศษ ในราคา 150,000 บาท เมื่อปี 2559 ได้เกิดกระแสการตรวจสอบค่าใช้จ่ายและบริการ ส่งผลให้ราคาโดยรวมลดลงมาอยู่ในระดับ 180,000-200,000 บาทคน ไม่นับฮัจย์วีไอพี ที่เก็บประมาณ 250,000 บาท ซึ่งจะมีความแตกต่างในเรื่องที่พักและอาหาร
ในขณะที่การเดินทางไปอุมเราะห์ ใช่้เวลาประมาณ 11-15 วัน พักที่มักกะห์และที่มาดีนะห์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000-70,000 บาท อยู่ที่แพคเกจ นอกเหนือจากฮัจย์ เช่น การเดินทางไปเยี่ยมสถานที่ใกล้เคียงกับมักกะห์ อย่าง มัสยิดอัลอักซอ ในปาเลสไตน์ เป็นต้น
คำนวนจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฮัจย์ ในปี 2562 จำนวนประมาณ 8,000 คน เฉลี่ยค่าใช้จ่ายที่ 180,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,440 ล้านบาท(หนึ่งพันสี่ร้อยสี่สิบล้านบาท) ในขณะที่ การเดินทางไปอุมเราะห์ เฉลี่ยที่ 8,000 คนต่อปี เฉลี่ยค่าใช้จ่ายที่ 50,000 บาท ประมาณ 400 ล้านบาท รวมแล้ว 1,940 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นค่าเครื่องบินไป-กลับ คนละประมาณ 25,000 บาท ประมาณ 40 ล้านบาท ส่วนนี้สายการบินไทย จะได้รับสัมปทานจากซาอุฯ ค่าที่พัก และอาหาร ในอดีตที่พักของฮัจย์ไทยจะเหมาตึก ใกล้เคียงบริเวณมัสยิดญิณ ห่างจากมัสยิดฮารอมประมาณ 1-2 กิโลเมตร ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างแออัด แต่ระยะหลังมีการตรวสสอบท้วงติง ผู้ประกอบการได้จัดที่พักที่โรงแรมติดกับมัสยิดฮารอม แต่เป็นการพักช่วงก่อนและหลังพิธีฮัจย์ ราคาจึงไม่แพงมาก ส่วนที่มาดีนะห์ ก็จะเช่าตึกใกล้มัสยิดนาบาวี เป็นที่พัก ในช่วงก่อนฮัจย์ ประมาณ 1 สัปดาห์ คณะฮัจย์ของไทยจะย้ายไป อยู่ใกล้กับทุ่งมีนา ราคาจึงค่อนข้างถูก ระยะเวลา7 วันประมาณ 1,000 ดอลลาร์ต่อ 1 ฟลอร์ โดยแต่ละฟลอร์ จะแบ่งเป็นประมาณ 10 ห้อง พักห้องละ 7-8 คน ส่วนในทุ่งมีนาและอาราฟะห์ ซาอุฯจะให้เอกชนของซาอุฯไปบริหารจัดการ การเดินทาง อาหารและที่พัก อย่างกรณีเรื่องมาม่า หรือการนอนแทบจะขี่กัน เป็นการจัดการของเอกชนซาอุฯที่ไดรับสัมปทาน
ส่วนอาหาร ที่มาดีนะห์กับใกล้ทุ่งมีนา จะทำเป็นบุฟเฟ่ต์ โดยผู้ประกอบการบางแห่งจะนำแม่ครัวไปจากประเทศไทย หรือจ้างแม่ครัวที่เป็นคนอาเซียนอยู่ที่มักกะห์ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนที่พักที่โรงแรมใกล้มัสยิดฮารอมจะทำเป็นข้าวกล่องแจก แต่มีบางรายที่จัดบุฟเฟ่ต์ให้กับฮุจยาต โดยเฉลี่ยต้นทุนฮัจย์ต่อคน ประมาณ 120,000-140,000 บาท บางรายอาจบีบต้นทุนหาที่พักราคาถูก อยู่ไกลมัสยิดฮารอม ก็อาจจะได้กำไรมากขึ้น
โดยสรุปค่าเครื่องบิน ประมาณ 20% ประมาณ 400 ล้านบาท อาศัยอยู่ในซาอุฯ ค่าใช้จ่าย 60-70% ประมาณ 1,200 ล้านบาท ผู้ประกอบการไทยได้่กำไร ประมาณ 10-20% ประมาณ 200-400 ล้านบาท บริษัทขนาดใหญ่ มีฮุจยาต 200-300 คน หรือเมื่อตอนเฟื่องฟูประมาณ 500-700 คน
คิดเป็นกำไรจากจำนวน 300 คน ราคา 180,000 บาท มีรายได้ 54 ล้านบาท มีกำไร 20% ประมาณ 10 ล้าน ในจำนวนนี้ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเปอร์เซ็นต์ให้แวะที่หาฮุจยาตเข้ามา คนละประมาณ 10,000 บาท 10 คนได้ไปฮัจย์ฟรี 1คน ประมาณ 3 ล้านบาทบริษัทยังคงกำไร 7 ล้านบาท
เป็นการคำนวณคร่าวของรายรับรายจ่ายของการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จะเห็นว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนแต่ละปีมหาศาล หลายฝ่ายจึงเข้ามาแย่งชิงเค้กฮัจย์ แม้แต่คนเข็ยรถเข็ญคนสำคัญยังมีบริษัทฮัจย์เลย