นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การประชุมเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะ เป็นก้าวใหม่ที่สำคัญที่จะทำหนดระบบระเบียบให้มีสมบูรณ์ครอบคลุม ทุกบริบทและมีประสิทธิภาพ การมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ จะเป็นโอกาสและความหวังใหม่ของฮัจย์ไทย ที่จะบูรณการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ทั้งผู้ประกอบการและส่วนราชการที่ผ่านมาทุกหน่วยงานได้ร่วมมือ ซึ่งการนำเสนอความเห็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าต่อไปขณะที่ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ กล่าวว่า จัดสัมมนาขึ้นมาเพื่อต้องการดูบริบทการบริหารงานภายใต้องค์กรใหม่ คือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้มีระเเบียบการการดำเนินงานที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เพราะจากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ มีความคาดหวัง
จากสังคมมุสลิมที่จะให้การเดินทางไปทำฮัจย์ดีขึ้น มีความสะดวกและมีความยุติธรรม ซึ่งสิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ การจัดการการขนส่งที่ซาอูดิอาระเบีย การเช่าที่พัก การบูรณาการทำงานของทุกฝ่าย การลงทุนไป การเดินทางโดยเครื่องบิน เงินสำรองที่พัก การจดทะเบียนผู้ประกอบการ การอบรมฮุจยาต และการกำหนดราคากลาง
ส่วนนายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ในการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD)
ที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพ รมว.ต่างประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ได้เดินทางมาร่วมประชุม ซึ่งเป็นเวลา 30 ปีแล้วที่ซาอูดิอาระเบียไม่ส่งเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีเดินทางมาประเทศไทย แต่คราวนี้มีระดับผู้ใหญ่ตัวแทนรัฐบาลเดินทางมาประเทศไทย และนายกรัฐมนตรีได้เปิดทำเนียบรัฐบาลต้อนรับ ภาพการสัมผัสมือระหว่างรมว.ต่างประเทศซาอูดิอาระเบียกับนายกรัฐมนตรีไทยไปปรากฎในซาอูดิอาระเบียและประเทศไทย เป็นนิมิตรหมายที่ดีที่เป็นสัญญาณว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับซาอูดิอาระเบียจะดีขึ้น
“เรื่องความสัมพันธ์ไทย-ซาอูดิอาระเบียสำคัญเพราะถ้าความสัมพันธ์ไทยกับซาอุดิอาระเบียดีขึ้นก็จะส่งผลถึงเรื่องฮัจย์ด้วย เพราะการจัดการฮัจย์เป็นของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเหมือนกับที่อุปทูตซาอูดิอาระเบียให้สัมภาษณ์ว่า สัมพันธ์ไทยกับซาอูดิอาระเบียจะต้องเดินหน้า อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายลืมเรื่องอดีต ซึ่งในปีหน้าจะครบ 60 ปีความสัมพันธไทยซาอูดิอาระเบียที่ผ่านมาเราพยายามฟื้นความสัมพันธ์ ท่าทีของซาอูดิอาระเบียเท่ากับได้เปิดทางไปสู่จุดนั้น ซึ่งต้องขอบคุณซาอูดิอาระเบียที่ได้ดูแลฮุจยาตไทยอย่างดี ผมได้ส่งผลไม้ไปขอบคุณหน่วยงาน ที่ดูแลเรา เราทำเพื่อให้เขามีความรู้สึกที่ดี เพื่อฮัจย์ของเรา การดูแลฮุจยาตจะทำได้ดีขึ้นหากความสัมพัธ์ราบรื่น” นาภาณุ กล่าว
เขากล่าวว่า เราจะต้องหาทางแก้ปัญหาการไปฮัจย์ ไม่ให้มีปัญหาเหมือนที่เคยมี ถ้ามีก็ให้เป็นปัญหาใหม่ๆ ให้เป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ การกำหนระเบียบ กฎเกณฑ์ใหม่ต้องมีความสมบูรณ์ ซึ่งในการการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ ที่ผ่านมาเสนอโดยคุณอนุมัติ อาหมัด สนช.แต่ติดว่าเป็นพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการเงินเลยให้รัฐบาลเป็นผู้นำเสนอ เป็นความประสงค์ที่ให้การบริหารจัดการฮัจย์มีความสะดวก เป็นหน้าตา เกียรติยศ ศักดิ์ของมุสลิมและของประเทศ การพิจารณาของสนช.ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการพิจารณาเร็วที่สุด สนช.ทุกคนทำเพราะคิดว่า เป็นเกียรติยศ ของสนช.และของประเทศ ให้คนมุสลิมมีความสะดวก มีคุณค่า มีหน้ามีตา มีเกียรติมีศักดิ์ศรี
“การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ มาเป็นกรมการปกคง เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลกิจกรรมการกลางอิสลาม กรรมการอิสลามจังหวัด และกรรมการมัสยิด ดูแลกิจการศาสนาอยู่แล้ว การมาขับเคลื่อนเรื่องฮัจย์คิดว่าจะทำได้ดีขึ้น คณะกรรมการกิจการฮัจย์ก็จะนำคนที่มีบทบาทเอาที่ทำงานมามากขึ้น คนไม่เกียวข้องออกไป มีคณะกรรมการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด กรมการปกครองมีความพร้อม เพราะได้ส่งคนไปศึกษาดูงานมาตลอดและคนที่มาดูแลก็เป็นคนที่มีความรู้ คุ้นเคยกับพื้นที่ภาคใต้ ทั้งอธิบดีกรมการกปกครอง ปลัดกระทรวงมหาดไทยที่เป็นกรรมการฯ รู้แนวทางการทำงานดี แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ได้ทำงานในพื้นที่มาตลอด กลไกทั้งหลายมีความพร้อม และองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่าง คณะกรรมการกลางฯ พล.ต.ต.สุรินทร์ ได้ขับเคลื่อนมาตลอด” นายภาณุกล่าวและว่า ที่สำคัญการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ในปีหน้าจะต้องถูกกว่าปีนี้
ข้อสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ กล่าวว่า ได้นำเสนอไปยังกรมการปกครองเพื่อนำไปสู่การออกระเบียบ คาดว่าคงไม่นานจะมีการประกาศออกมาบังคับใช้ สิ่งที่จะมีการแก้ไขในการเดินทางไปทำฮัจย์คือ การปลดล็อคมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้บริษัทการบินไทย เป็นผู้รับส่งฮุจยาตเพียงรายเดียว ให้มีการแข่งขันมากขึ้น ให้รายอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม จะทำให้ค่าเดินทางราคาถูกลง จาก 50,000 บาท อาจจะเหลือ 25,000 – 30,000 บาทต่อคน ลดได้แล้ว 25,000 บาท ค่าเช่าบ้านที่ผ่านมามีการไปเช่าบ้านต่อจากนายหน้า ทำให้ราคาบ้านพักแพง ซึ่งต่อไปจะไปติดต่อขอเช่าตรงจากผู้ประกอบการ ราคาจะถูกลงประมาณ 20,000 บาท
“ค่าเช่าบ้าน ถ้าเราไม่ไปเช่าจากคนที่เช่าอยู่แล้ว ไปเช่าตรงกับเจ้าของบ้าน ที่ผ่านมาทางอาหรับก็สงสัยว่าทำไมเราเช่าบ้านต่อจากคนอื่น ไม่เช่าตรงจากเจ้าของบ้าน อาหรับสงสัยและแปลกใจมากว่า ทำไมไม่ไปเช่าตรง ต่อไปจะไม่มี เหมือนที่มาเลเซียทำ ให้เจ้าของบ้านที่จะให้เช่ามาเสนอราคา แต่ของเราอาจจะให้มีเสนอที่สถานกงศุลไทย เพื่อจะนำมาพิจารณาว่าจะเลือกที่ไหน รวม 2 อย่างลดได้ 40,000-50,000 บาทแล้ว” พล.ต.ต.สุรินทร์ กล่าวและว่า ที่ผ่านมามีปัญหาติดขัดเรื่องระเบียบ ที่สามีได้เดินทางไปภรรยาไม่ได้เดินทางไป หรือคนที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่สบายหรือเสียชีวิต เมื่อก่อนไม่สามารถขอคืนเงินได้ แต่ต่อไปขอคืนเงินได้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องรับภาระ สามารถนำมาลดให้กับฮุจยาตได้ เป็นการลดความเสี่ยง
“ราคากลางจะไม่กำหนดแต่จะบอกว่าลดอะไรได้บ้างจะมีคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเดินทางไปสำรวจพื้นที่ เพื่อแบ่งโซนค่าเช่าว่า แต่ละโซนราคาเท่าไหร่ โซนติดมัสยิดฮารอม ถัดออกไป ราคาจะลดหลั่นกันไป” พล.ต.ต.สุรินทร์ กล่าวและให้ความมั่นใจว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จะวางรากฐานให้ถูกต้อง และจะไม่มีปัญหาในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปทำฮัจย์ของพี่น้องมุสลิม
“อนุมัติ” ลั่น ไม่แสวงหากำไรจากกิจการฮัจย์
นายอนุมัติ อาหมัด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวในระหว่างการสัมมนา กิจการฮัจย์ว่า ตอนได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ไม่มีความรู้เรื่องฮัจย์มากนัก ก็ได้มีผู้ประกอบการหลายรายได้มาเสนอให้แก้กฎหมาย บอกว่าถ้ามีโอกาสก็ให้ช่วยแก้ปัญหาให้ด้วย หลังจากนั้นก็ได้ศึกษารายละเอียด พบว่า ที่ผ่านมาเรื่องฮัจย์มีปัญหามาก ในการประชุมบางครั้งมีการจะวางมวยกันก็มี มีการวางแผนทำร้ายกันก็มี จึงตั้งใจว่าจะแก้ไขให้ได้ เพื่อพี่น้องมุสลิมทั้งหมด
“ในสนช.ผมทำตัวเล็กๆ เป็นคนน่านอบน้อม น่่าเชื่อถือ เพื่อไม่ให้เกิดหวาดระแวง ไม่เกิดความขัดแย้งศาสนา เพื่อหวังให้สนช.ช่วย ซึ่งกว่าจะผลักดันได้ก็สาหัสพอสมควร ใช้เวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งคนเดียวทำไม่ได้ ที่ประชุมคณะกรรมการกลางฯ ก็มีการพูดคุยกันว่า จะทำอย่างไรให้กิจการฮัจย์ออกจากกรมการศาสนา ดีที่สุดคือให้กิจการฮัจย์ขึ้นกับสำนักนายกฯ แต่นายกรัฐมนตรีได้เบรกไว้ เพราะงานที่ทำอยู่ก็ล้นมือ ก็เลยเสนอให้สังกัดกรมการปกครอง เพราะดูแลกิจการตามพ.ร.บ.บริหารกิจการอิสลามอยู่แล้ว คิดว่าไม่มีปัญหา ปัญหาที่มีอยู่จะได้รับการแก้ไข ร่างที่มีการนำเสนอไปเป็นร่างที่จุฬาราชมนตรีเห็นชอบ แต่มีการดัดแปลงแก้ไขเล็กน้อย เพราะมีเรื่องการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องเสนอในนามรัฐบาล ยากที่จะทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งดร.วิษณุ เครืองาม ขอร่างไปเพื่อเสนอในนามรัฐบาล จนสามารถแก้กฎหมายได้” นายอนุมัติ กล่าว
นายอนุมัติกล่าวว่า เมื่อกฎหมายผ่านสภาฯ หน้าที่ของตนก็หมดแล้ว ได้ทำหน้าที่เพื่อพี่น้องมุสลิมแล้ว แต่ไปก็เป็นหน้าที่ของผู้รู้ที่จะช่วยให้กรกำหนดกฎระเบียบทำให้การอำนวยความสะดวกแก่ฮุจยาตเป็นไปอย่างเหมาะสม การบริหารอยู่ระหว่างเดินทางไปกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นเยอะว่า เมื่อทำตามสมาคมฯ ตามที่ผู้ประกอบการเสนอแล้ว เมื่อแก้ไขแล้วฮุจยาตจะได้อะไร คำถามเยอะมาก แค่การอำนวยความสะดวกอย่างเดียวคงไม่ประทับใจพี่น้อง ราคาในการเดินทางจะต้องลดลงด้วย จึงเป็นวันที่พวกเราต้องมาคุยกันว่าแบบไหนถึงแฟร์ แบบไหนที่ทำให้ราคาฮัจย์ลดลง ต้องคุยกันให้ประโยชน์กับผู้ประกอบการและผู้เดินทางไปฮัย์มากที่สุด“สิ่งที่อยากบอกคือ เรื่องกัมปงฮัจย์ อย่างที่มาเลเซียทำ เป็นเรื่องที่ไม่เห็นด้วยมาตลอด ไม่เคยมีความคิดที่จะให้เป็นมหาชน ต้องการให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ หลังแก้กฎหมายเสร็จก็มีหลายความคิดทำอย่างไร ฮุจยาตได้ประโยชน์สูงสุด จะทำเป็นมูลนิธิ เป็นสมาคมได้หรือไม่ ส่วนตัวได้รับการกดดันพอสมคร มีเสียงวิจารณ์เยอะ ก็เป็นธรรมดาที่มีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็ต้องรับแรงกกดันให้ได้ แต่ทุกอย่างได้ผ่านผมไปแล้ว ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน สำคัญอยู่ที่ราคาว่าเท่าไหร่จึงเหมาะสม วิธีการจะอย่างไร จะเปิดเสรี หรือจะแบบเดิม แต่ยืนยันว่า ส่วนตัวจะไม่ตั้งบริษัทดำเนินการเรื่องฮัจย์ เพราะไม่มีความรู้” นายอนุมัติ กล่าวในที่สุด
หมายเหตุ : จากนิตยสาร MTODAY ฉบับที่ 59 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2559