สุดยอดโรงพยาบาล! สิชลผ่าตัด15 ราย ผ่าคลอด6 ราย ท่ามกลางพายุ-ไฟดับ

1290

ประสบการณ์จากพายุเกย์ที่ขาดความพร้อมต้องสูญเสียชีวิตไปนับพันคน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติจึงพัฒนาโรงพยาบาลสิชล ไม่เพียงรักษาผู้ป่วย แต่ยังเป็นศูนย์ผู้อพยพ 1,200 คนที่มีการบริหารจัดการอย่างดี

วันที่ 5 มกราคม จากสถานการณ์พายุปาบึกพัดถล่มจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 4 มกราคม ส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างรวมทั้งอำเภอสิชล โดยหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบหนักคือ โรงพยาบาลที่จะต้องดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤติ แต่โรงพยาบาลสิชล ภายใต้การนำของ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล และยังสามารถดูแลผู้อพยพได้อีก 1,200 คน

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล กล่าวว่า ในวันที่พายุเข้าไฟฟ้าดับตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ทางโรงพยาบาลได้แก้ปัญหาโดยใช้ไฟฟ้าสำรอง และได้ประสานให้การไฟฟ้าภูมิภาคสิชล เร่งแก้ปัญหาเพราะโรงพยาบาลมีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีการผ่าตัดผู้ป่วย ต้องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา อย่างไรก็ตามทางรพ.มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งหากไฟดับเพียง 15 วินาทีไฟฟ้าสำรองจะทำงานทันที โดยไฟฟ้ามาเมื่อเวลา16.00 น.

‘ในช่วงพายุเข้าและไฟฟ้าดับ โรงพยายาลมีเคสที่จะต้องผ่าตัด 50 ราย ซึ่งส่วนที่ไม่เร่งด่วนได้ขอเลื่อนไป เนื่องจากสถานการณ์ไม่อำนวย เหลือที่เลื่อนไม่ได้ 15 ราย ต้องผ่าตัดท่ามกลางพายุและไฟมีจำนวนไม่เพียงพอ ห้องผ่าตัดอาจจะอบอ้าว แต่การผ่าตัดเก็ผ่านพ้นไปดด้วยดีทั้ง 15 ราย รวมทั้งได้ทำคลอด 6 ราย ในจำนวนนี้ ต้องผ่าตัด 4 ราย โดยเคสที่หนักที่สุดน่าจะเป็นเคสที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลขนอม ที่เด็กตัวโต ทางโรงพยาบาลสามารถผ่าตัดจนลอดภัยเด็กหนัก 4,300 กรัม แต่ยังต้องดูแลในห้องไอซียู’น.พ.อารักษ์ กล่าว

ผอ.โรงพยาบาลสิชล กล่าวว่า โรงพยาบาลเป็นแห่งเดียวที่ได้รับผู้อพยพเข้ามา 1,200 คน จากปกติที่รับได้ 600 คน โดยได้สั่งให้บุคคลากรทุกคนของโรงพยาบาลจำนวน400 คน ให้มาทำงานทั้งหมด แม้ว่า บางคนจะเป็นผู้ประสบภัยก็ตาม เพราะนอกจากคนไข้ 380 คนแล้ว ยังต้องดูแลผู้อพยพ 1,200 คนด้วย

‘โรงพยาบาลได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องของสถานที่ อาหารที่เตรียมไว้ 5 เท่า จากเดิม 600 คนเราเตรียมไว้ 3,000 คน เมื่อเพิ่มเป็น 1,200 คนอาหารจึงเพียงพอ และเตรียมไว้ 7วัน เพราะคิดว่า ให้อาหารเพียงพอหรือเหลือดีกว่าขาด จะเห็นได้จากศูนย์อพยพหลายแห่งอาหารไม่เพียงพอ จึงวิ่งหากันวุ่นวาย

‘ส่วนตันได้ประสบการณ์มาเมื่อครั้งพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร ตอนนี้เป็นหมอประจำที่โรงพยาลบาลปะทิว เมื่อปี 2532 ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่าพันคน ตอนนั้นเห็นว่า เพราะการเตรียมการเราไม่ดีพอ จึงสูญเสียมาก เมื่อมาอยู่ที่โรงพยาบาลสิชล ตอนที่มีการสร้างตึก ได้ให้ดัดแปลงลานจอดรถเป็นอาคารเอนกประสงค์ เตรียมการไว้หากมีเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดพายุปาบึก เราจึงมีความพร้อมในการรับผู้อพยพ และการบริหารจัดการดูแลทั้งหมด ทั้งไทยพุทธและมุสลิม เรื่องสถานที่ การจัดการเรื่องอาหารจึงไม่มีปัญหา’น.พ.อารักษ์ กล่าว

‘ตอนค่ำพายุได้ผ่านไปแล้ว มีชาวบ้านบางส่วนต้องการจะกลับบ้าน หมอก็ต้องไปทำความเข้าใจว่า มีความเสี่ยงอย่างไร จนชาวบ้านเข้าใจ ยินยอมที่ยังอยู่ศูนย์อพยพ จนกว่าเราประเมินว่าปลอดภัย 100%จึงจะอนุญาตให้กลับ’ โรงพยาบาลสิชล กล่าว