จุฬาฯนั่งหัวโต๊ะ ประชุมจัดเมาลิดกลางฯ “ดร.วินัย ดะห์ลัน” โคตรเทพยึดประธานสมัย 3

วันนี้(5 มกราคม) เวลา 13.00 น.  นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปี ฮ.ศ.1438 ครั้งที่ 1/2560″  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยอาจารย์อรุณ บุญชม รองประธานกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,อาจารย์สมาน มาลีพันธ์ รองประธานกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน รองประธานกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,อาจารย์อับดุลฮากีม วันแอเลาะ รองประธานกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,คณะรองประธานกรรมการอิสลาม แห่งประเทศไทย ,พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,คณะรองเลขาธิการ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ,ประธานฝ่ายต่างๆ ,คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ,คณะที่ปรึกษากรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน
ในการประชุมได้มีมติที่ประชุมเสนอให้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน รองประธานกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย/สมาชิกสภาขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศ/ประธานกรรมการบริหารสถาบัน มาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย/ผู้อำนวยและผู้ก่อตั้ง ศูนวิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานจัดงานเมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย ประจำปี ฮ.ศ.1438 ซึ่งนับเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน

สำหรับ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศและเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการตีพีมพ์ มากกว่า 30 บทความทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ รวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ และโภชนาการ มากกว่า 2 พันชิ้น และงานเขียนในนิตยสารรายสัปดาห์ 3 ฉบับติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นหนึ่งใน 500 มุสลิมจากทั่วโลกที่มีชื่อปรากฏ ในทำเนียบมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุดสามปีติดต่อกันและเป็นหนึ่งใน 16 มุสลิมจากทั่วโลก และมุสลิมไทยคนเดียว ที่มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อโลก
ปริญญาตรี วท.บ. (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2519
ปริญญาโท วท.ม. (โภชนศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2525
ปริญญาเอก Docteur en Biologie Medicale Appliqu? (grand distinction), Faculty of Medicine and Pharmacy, St-Pierre Hospital, Universit? Libre de Bruxelles, Brussels, Belgium, 1989
มีเชี่ยวชาญในด้านลิพิดวิทยา, ชีวเคมีทางการแพทย์, วิทยาศาสตร์ฮาลาล
การบริหารและวิชาการ
ปัจจุบัน
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวหน้า ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดีต
คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2543-2551)
ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเกษตร รองนายกรัฐมนตรี (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี) (2553-2554)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) (2552-2554)
ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ (2553-2554)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์) (2540)
คณะกรรมการอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมการแผนและพัฒนาอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนด สารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษาโภชนาการ เมนูอาหารพิเศษ การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 (2541), การแข่งขันกีฬาคนพิการเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 (2542), การชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (2546), กีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 (2548)
คณะทำงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ฮาลาล กระทรวงพาณิชย์ (2553)
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพธุรกิจและสินค้าฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2552-54)
คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม อาหารฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2545-48)
คณะกรรมการอิสลามประจำ กรุงเทพมหานคร (2542-54)
คณะกรรมการบริหารกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (2548-50)
คณะกรรมการอำนวยการ สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล (2548-50)
คณะกรรมการบริหาร สถาบันมาตรฐานฮาลาล แห่งประเทศไทย (2551-53)
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (2550-52)
นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ ติดตามผลการปฏิบัติตามมติ สภาผู้แทนราษฎร (2540-2543)
คณะอนุกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2552-54)
คณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตาม การคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2547-48)
การสอน
อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ครัวการบินไทย ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
พ.ศ. 2553 : Order of the Crown of Thailand – Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2551 : Dushdi Mala – Civilian (Thailand).png เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์[3]
รางวัล
พ.ศ. 2555 เมษายน – รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. 2554 เมษายน – รับรางวัลวิจัยชนะเลิศและรางวัลที่ 3 ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. 2552 มีนาคม – จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี รับผิดชอบงานในพื้นที่ห้าจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และ IMT-GT
พ.ศ. 2552 IDCP’s Recognition Award for Halal Achievement จากสภาเผยแพร่ศาสนาอิสลาม แห่งฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2552 ศิษย์เก่าดีเด่นด้านบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2548 นิสิตเก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2549 Halal Journal Award of Best Innovation in Halal Industry ณ ประเทศมาเลเซีย รับจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
พ.ศ. 2544 อาจารย์ดีเด่น ระดับหน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายงานโดย นายปรีดา เชื้อผู้ดี (ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี/ที่ปรึกษาคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ)
ณ ห้องประชุมเล็ก สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลาม แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ถนนคลองเก้า เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร


Cr.ปรีดา เชื้อผู้ดี