คลิปนาทีระทึก! เขื่อนในอัตตะปือ สปป.ลาวแตก น้ำ5พันล้านลบ.ม.ท่วมสูงหลายเมตร

หลายฝ่ายเร่งช่วยเหลือ ผลกระทบจากเหตุการณ์เขื่อนแตกในสปป.ลาว น้ำท่วมสูงคนสูญหาจำนวนมาก 

มีรายงานว่า เหตุจากเขื่อนในแขวงอัตตะปือแตก ส่งผลให้มวลน้ำ 5พันล้านลบ.ม.-หลทะลักท่วมเมือง สูงถึง 15 เมตรส่งผลให้มีผู้สูญหายยังไม่ทราบจำนวน ซึ่งนายกรัฐมนตรีลาว ได้ยกเลิกประชุมครม.เพื่อบัญชาการช่วยชาวบ้าน

ด้านเจ้าแขวงอัตตะปือ ทำหน้งสือขอความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย เพื่อกอบกู้วิกฤติเขื่อนแตก น้ำท่วมเมืองสะหนามไช ซึ่งล่าสุดมีผู้สูญหลาย 100 คน ขณะที่มีน้ำท่วมสูงบริเวณกว้าง

ABC Laos News รายงานว่า แขวงอัตตะปือ ได้เร่งอพยพประชาชนเมืองสะหนามไช ออกจากหมู่บ้าน เนื่องจากมวลน้ำจากเขื่อนเซเปี่ยน ไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน ซึ่งมีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ บริษัทก่อสร้างเขื่อนเซเปี่ยนฯ ได้แจ้งเตือนให้ประชาชน 5 หมู่บ้านในเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ เร่งอพยพออกจากหมู่บ้านเนื่องจากสันเขื่อน D แตก จะทำให้มวลน้ำในอ่างเก็บน้ำแห่งที่ 2 ปริมาณ 5 ล้านตันไหลท่วมเมืองสะหนามไช

สำหรับหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ จะเป็นชุมชนริมแม่น้ำเซเปี่ยน ประกอบด้วยบ้านใหม่ บ้านหินลาด บ้านสะหนองใต้ บ้านท่าแสงจัน บ้านตะหมอยอด บ้านท่าหินใต้ บ้านท่าบก และบ้านท่าม่วง เมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือ

ท่านเล็ด ไชยะพอน เจ้าแขวงอัตตะปือ ได้กล่าวว่า ยังมีประชาขนตกค้างอยู่บนต้นไม้ และหลังคาบ้านจำนวนมาก

เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย ตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงโบโวเลน รอยต่อเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก กับเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2562

ข้อมูลจากเฟซบุ๊ค Chainarong Setthachua ระบุว่า ผู้พัฒนาโครงการนี้คือ บริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วยบริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26 บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25 บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 25 และ Lao Holding State Enterprise ถือหุ้นร้อยละ 24
โครงการนี้ใช้เงินลงทุนโดยการกู้มูลค่า 22,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อร่วม (Syndication loan)ของสถาบันการเงินไทยชั้นนำ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารธนชาต

โครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยนี้ เป็นโครงการแบบ BOT (build-operate-transfer)มีกำลังการผลิต410 เมกะวัตต์ซึ่งกระแสไฟฟ้า 370 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้กับ กฟผ. โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 27 ปี ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใน สปป. ลาว