เห็นหรือยัง!เขาวางแผนอย่างเป็นระบบ ให้พระออกนำรมต.ทำตาม

 

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคท้ายของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “นักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อาจเลือกแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามวรรคหนึ่งหรือตามแบบที่สถานศึกษากําหนดได้ตามความสมัครใจ

ยกเว้นสถานศึกษาที่ขอใช้พื้นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา การแต่งเครื่องแบบนักเรียน ให้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างวัดกับสถานศึกษา” ซึ่งลงนามโดย ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้กลายเป็นปมปัญหาของสังคมมุสลิม

กรณีปัญหาเกิดจาก นักเรียนอนุบาลปัตตานีต้องการสวมฮิญาบ กลายเป็นกระแสความขัดแย้ง เนื่องจากขัดต่อระเบียบของโรงเรียนที่ใช้ที่ดินวัด มีครูบางส่วนต่อต้าน และไมีการอนุโลมให้คนใหม่ใส่ฮิญาบเข้าเรียน ทำให้กระแสคนพุทธออกมาต่อต้าน มีการเกณฑ์ชาวบ้านไทยพุทธจากหลายพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชุมนุม มีพระเป็นแกนนำ และพระแกนนำ ก็ไม่ใช่พระในวัดที่มีปัญหา หรือพระในปัตตานี แต่เป็นพระที่มาจากวัดในธารโต จ.ยะลา ไกลออกไปนับ 100 กิโลเมตร

“ชาวบ้านที่อยู่ไกลออกไป มาได้อย่างไร หลายร้อยคน พระที่อยู่ไกลนับ 100 กิโลเมตรมาได้อย่างไร ถ้าไม่มีการเกณฑ์มา ถ้าไม่มีการวางแผนมาอย่างเป็นระบบ พระที่เป็นแกนนำก็นำไฮปาร์คดุเด็ดเผ็ดมัน และขีดเส้นตายให้โรงเรียนอนุบาลปัตตานี จะต้องไม่อนุญาตให้นักเรียนมุสลิมแต่งกายตามหลักอิสลาม”

สำทับด้วย บทสัมภาษณ์ของ พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการแก้ปัญหา ให้เป็นไปตามระเบียบ นั่นหมายถึง ให้ทำตามกฎของโรงเรียนที่ไม่อนุญาตให้แต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม

และสุดท้าย จบลงด้วยประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ให้การแต่งกายของนักเรียนในโรงเรียนธรณสงฆ์ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน ซึ่งระเบียบของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ไม่อนุญาตให้แต่งหายตามหลักศาสนาอิสลามในโรงเรียน ที่เป็นที่ดินวัด เป็นที่ดินธรณีสงฆ์

เมื่อไล่เรียง การเคลื่อนไหว ของชาวพุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 และประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ดูเหมือนว่า มีการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ เพื่อออกกฎระเบียบ ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของมุสลิม

การแต่งกายของมุสลิม ถือเป็นสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง โดยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยบัญญัติไว้ในหมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม ได้วางหลักไว้อย่างกว้างว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิ
ใด ๆ และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของ
พลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” และ “ภายในบังคับแห่ง
กฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา
การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”

ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็น
การเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคล
ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตราบเท่าที่การใช้
สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น

มาตรา ๒๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่
สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติหรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติแม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิด อาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ