ไชยา แผ่นดิน 2 วัฒนธรรม : ย้อนอดีตเมืองโบราณ

ในอดีตไชยา  เป็นเส้นทางเดินของนักเดินทางข้ามจากมหาสมุทรอินเดีย สู่อ่าวไทย เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือตั้งแต่ยุคก่อนอาณาจักรศรีวิชัย ทั้งนักการค้า นักการศาสนา โดยเฉพาะฮินดู ใช้เป็นเส้นทางข้าม จากฝั่งอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย และเลยไปถึงกัมพูชา จะเห็นได้จากการขุดพบลูกปัดที่แหลมโพธิ์ และยังเป็นศูนย์กลางการค้าขายในภาคใต้ตอนบนด้วย

อ.ธานี สลาม อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้แบ่งเมืองไชยา เป็น 3 ยุค คือ 1. ไชยายุคโบราณ 2. ไชยายุคกลาง และ3.ไชยายุคปัจจุบัน

ไชยายุคโบราณ

ไชยายุคโบราณานั้น อ.ธานี ระบุว่า  ตามหลักฐานทางประวัติศาสต์ ไชยา ถูกพูดมานาน ตั้งแต่ในยุคศรีวิชัย จนต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม  โดยในยุคโบราณ ในอาณาจักศรีวิชัย  เป็นเมืองท่าของการค้าขาย โดยมีหลักฐานลูกปัดที่แหลมโพธิ์  จึงถือเป็นเมืองที่เก่าแก่ โบราณ

“คนจากทุกแห่งเดินทางมาค้าขายที่ไชยา ทั้งอาหรับ จีน และโลกมลายู โดยมาลายูที่มีอิทธิพลต่อไชยาสูงในระหว่างศตวรรษที่ 14-15  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบันทึกคำว่า ไชยา เป็นภาษามาลายู เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เป็นดินแดนที่มีการติดต่อค้าขายกับโลกมลายูมาตลอด

เมื่อมลายูเป็นมุสลิม ก็นำอิสลามเข้ามาด้วย กลายเป็นชุมชนมุสลิมที่พุมเรียง ที่บ้านบน มีการบันทึกโดยอิหม่าม ชำชุดดิน ซึ่งเป็นชาวไชยา ในปี ฮ.ศ.1245 หรือกว่า 300 ปีที่แล้ว เป็นจุดเริ่มให้ค้นคว้าว่า ชุมชนมุสลิมที่อยู่ที่ไชยามากว่า 300 ปี มีรากต้นตอมาจากไหน

หลุมฝังศพสุลต่านมุตตอฟา ที่บ้านสงขลา อ.ไชยา
มัสยิดบ้านโต๊ะเจ้า มัสยิดทรงยะหวาแห่งเดียวของภาคใต้ตอนบน

ไชยายุคกลาง

ในยุคกลาง เป็นยุคของการก่อตั้งเมือง “ไชยา” โดยสุลต่าลมุตตอฟา ลูกของสุลต่าลสุไลมาน ชาห์ แห่งหัวเขาแดง หรือ สิงขร

อ.ธานี ขยายความว่า ชาติพันธุ์หลักของมุสลิมที่พุมเรียงและไชยา มาจากมลายู จากตำราภาษามลายู  ที่เขียนโดยอิหฟม่ามซัมซุดดีน ยืนยันชัดเจน  มีการเข้ามาของสายสกุลสุลต่านสุไลมาน  จากบันทึกของสยาม ยอกไว้ว่า เมืองหัวเขาแดง หรือสิงขร ซึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ปกครองโดยสุลต่าลสุไลมาน และ เป็นรัฐหนึ่งของสยาม เคยทำสงครามกับรัฐต่างๆมากมาย  และได้พ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยา ประมาณปี 2222 มีการสลายเมืองและผู้คน ซึ่งไม่เคยมีในหน้าประวัติศาสตร์ ทำให้เมืองราบเรียบเหลือแต่ป้อมยาม  มีบันทึกทางราชการ ระบุว่า  คนที่มีอายุ 60 ปี ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ไชยา คนที่อายุ 50 ปี  ถูกนำไปไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เกิดเป็นสายสุลต่านสุไลมาน ในกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ และเชื่อมโยงกับไชยา

ในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จพระพาสเมืองไชยา ทรงบันทึกไว้ใน หนังสือชีววิวัฒน์ บรรยายภาพเมืองไชยา เอ่ยถึงมุสลิมว่า เป็นแขกที่พูดแขกไม่ได้แล้ว มาจากเจ้าเมืองเป็นแขก ซึ่งตามบันทึกของเลขานุการเมืองในอดีต  ซึ่งตามบันทึกสุลต่าลมุสตอฟา ได้เคลื่อนพลมาสร้างเมืองไชา ใช้ชื่อเมืองสิงขร และเปลี่ยนเป็นสงขลา (ปัจจุบันคือบ้านสงขลา) สืบทอดเจ้าเมืองไชยา มา 7 คน เป็นเมืองขนาดเล็กสังกัดกรุงศรีอยุธยา มีการผสมผสานสายเลือด ระหว่างสายเลือดมลายูกับสายเลือดสุลต่านสุไลมาน  กลายเป็นผู้คนที่มีความหลากหลาย

เมื่อครั้งที่อยุธยาไปตีปัตตานี ไชยาก็ไปร่วมรบช่วยกรุงศรีอยุธยา และมีการกวาดต้อนครัวจากปัตตานี ขึ้นมา ส่วนหนึ่งมาอยู่ที่ไชยา ผสมผสานกับมลายูเดิมที่เป็นชวา สะท้อนภาพของชุมชนพุมเรียง ที่มีวัฒนธรรมของชวา มีอารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นที่แตกต่างจากที่อื่นในภาคใต้ของไทย เช่นการละเล่น การเชียร์เมอเหย่อ ที่มีที่เดียวที่พุมเรียง โยงใยและบ่งบอกว่า รากเหงาของคนกลุ่มนี้มาจากชวา

ขณะที่ บ้านสงขลาในปัจจุบันมีภาพชัดเจน ในสถาปัตยกรรมแบบอินโดนีเชีย มีเหลืออยู่แห่งเดียว ที่บ่งบอกว่า สายสุลต่านสุไลมานชาห์ อยู่ในชวา และเคลื่อนย้ายมาไชยา คือ มัสยิดบ้านโต๊ะเจ้า ทำให้เรารู้ว่า เขาคือเจ้า ที่ตั้งเมืองขึ้นมาใหม่

เมืองไชยา จึงเริ่มต้นด้วยการที่เจ้าเมืองเป็นมุสลิม และมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับกรุงศรีอยุธยา ในยุคสมเเด็จพระเจ้าตากสิน ลูกหลายของสุลต่านสุไลมาน เป็นพระสหายกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนถึงยุครัชกาลที่ 3  ก็มีการเชื่อมใยงโดยการเป็นจอมมารดา จะเห็นว่าได้ว่าย สายสกุลสุไลมาน มีการเชื่อมโยงกันทั้งในกรุงเทพฯ และไชยา และสายสุลต่านสุไลมาน จะเป็นตระกูลที่มีการศึกษา เข้าเรียน และออกมาอยู่ในสายปกครอง อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นการสืบทอดมาจากอดีต

(ต่อมาเจ้าเมืองไชยา เป็นสายพุทธ เป็นต้นตระกูลศรียาภัยในปัจจุบัน ที่มีเครือข่ายญาติพี่น้องอยู่ในสุราษฎร์ธานีและชุมพร)

  สู่ยุคปัจจุบัน

ครูลี ไชยา

อ.ธานี ให้เห็นการเชื่อมโยงว่า ในไชยา เป็ยแหล่งที่มีผู้รู้ มีอุลามาห์ทื่บทอดความรู้มาจากโลกมลายู ที่มีบันทึกชัดเจน คือ หนังสือกีตาบภาษามลายู ของอิหม่ามซํมซุดดีน ที่เป็นหนังสือทางศาสนา และประวัติศาสตร์ ที่บ่งบอกว่า แนวคิดเชื่อมโยงมาจากโลกมลายู มีอุลามาห์ไชยาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ครูเซ็น สุราษฎร์ หรืออิหม่ามฮุซเซน และครูหลีไชยา หรือครูอาลี ที่เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ  (เกิดที่ไชยา และไปเสียชีวิตที่มักกะห์) อุลามะห์เหล่านี้มีความรู้จากหนังสือกีตาบ และเชื่อมโยงกับกับยุคมลายูในทางศาสนา

ครูเซ็น และครูหลี เป็นคนที่ได้เรียนสามัญ ก่อนจะเข้าเรียนทางศาสนา

สมัยนั้น หลักสูตรสามัญ มีแค่ชั้น ม.8 ที่ไชยามีโรงเรียนแห่งเดียว คือ โรงเรียนพุทธนิคม ครูหลี เรียนที่โรงเรียนพุทธนิคม ร่วมรุ่นกับท่านพุทธทาสภิกขุ  เป็นคนพุมเรียงเหมือนกัน เป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็ก  อุลามาห์มุสลิม มีความรู้ดี ฉลาด เรียนเก่ง ด้วยข้อจำกัดในความเป็นมุสลิม ไม่มีโอกาสเรียนในกรงเทพฯ ไม่มีญาติพี่น้อง จึงจำเป็นกลับไปสู่ภาคใต้ตอนล่าง กลับไปเรียนปอเนาะ  แต่ด้วยมีภาษาไทยแข็งแรง เมื่อเรียนปอเนาะ ก็กลายเป็นยนที่มีความโดดเด่นในการเรียนศาสนา การติดต่อสื่อสารกับทางราชการ สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ลึกซึ้ง มากกว่าผู้ว่าราชการปัตตานีบางคนเสียอีก

คนพุมเรียง จึงเป็นนักปราชญ์ทั้ง 2 ศาสนา คือท่านพุทธทาสในสายพุทธ และครูหลี ในสายอิสลาม ทั้งคู่เป็นมิตรกันทางศาสนา

จึงสรุปตรงนี้  การมีศาสนาที่แตกต่างวกันไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นมิตรที่เอื้อาทรกัน

อ.ธานี สลาม

ไชยา จึงเป็นเมือง 2 วัฒนธรรม ที่พัฒนาเมืองมาด้วยกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน