จัดใหญ่”โลกมลายู” ที่กรุงเทพฯ 4 ประเทศผลักดันสร้างความสำคัญภาษา”มาลายู” หวังเป็นภาษากลางอาเซียน

วันที่ 23 พฤศจิกายน มีรายงานว่า สหพันธ์สมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (GAPENA) ร่วมกับ สมาคมโลกมลายูโลกอิสลาม(DMDI),มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, และศูนย์ศึกษาโลกมุสลิม สถาบันวิทยาการอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
จัด “การประชุมโลกมลายู” หรือ Pertemuan Dunia Melayu (PDM) / The Malay World Meeting ระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน 2560 พร้อมเปิดตัวองค์กรสมาคมโลกมลายูโลกอิสลาม (DMDI) หรือ Dunia Melayu Dunia Islam ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภา เป็นประธานประเทศไทย

DMDI มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ในรัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมะละกา และถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมะละกา มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในกลุ่มชาวมลายูและชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ตีมอร์เลสเต ฟิลิปปินส์ ภาคใต้ประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า ศรีลังกา สุรีนาม อัฟริกาใต้ มาดากัสการ์ และประเทศอื่นๆ

โดยแต่ละประเทศ จะมี DMDI ประจำแต่ละประเทศ อาทิ ประเทศไทย จะมีDMDI  Thailand จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนองค์กร DMDI ภายใต้องค์กรใหญ่ DMDI สมาคมใหญ่ในโลกมลายู

สมาคมโลกมลายูโลกอิสลาม หรือ DMDI นับว่าเป็นสมาคมใหญ่สมาคมหนึ่งของประเทศมาเลเซียที่มีกิจกรรมต่างๆมากมายทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดย Tan Seri Hj. Mohd.Ali Bin Mohm.Rustam วุฒิสมาชิก และอดีตมุขมนตรีของรัฐมะละกา และเป็นประธาน DMDI คนปัจจุบัน
DMDI ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ชุมชนชาวมลายูมุสลิมและส่งเสริมความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาระหว่างคนมลายูมุสลิมกับคนจากประเทศอื่น ๆ ในโลก ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง จากประเทศที่มีประชากรเชื้อสายมลายู เช่น แอฟริกาใต้, ศรีลังกา, ออสเตรเลียและมาดากัสการ์ จากประเทศที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมา เช่น จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, อเมริกาเหนือและยุโรป และจากประเทศอิสลาม เช่น ซาอุดีอาระเบีย, อิหร่าน, ปากีสถาน, บอสเนียและอิรัก รวมทั้งจากประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับมะละกามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เช่น อังกฤษ, โปรตุเกส, เนเธอร์แลนด์, สเปน
ปัจจุบันประเทศสมาชิก DMDI มี 19 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ติมอร์ มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ บอสเนียเฮอร์เซโก สิงคโปร์ ซูรินาเม สหราชอาณาจักร บรูไน จีน อียิปต์ ศรีลังกา แอฟริกาใต้ กัมพูชา ออสเตรเลีย มัลดีฟส์ ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นประเทศล่าสุด
ภารกิจส่วนใหญ่ของ DMDI จะเป็นการประชุม สัมมนา การฝึกอบรม หรือจัดโปรแกรมการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกำหนดนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมทั่วโลกเพื่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม เยาวชน สตรีและการศึกษา และสร้างกลไกช่วยเหลือชุมชนชาวมลายูมุสลิมที่ด้อยโอกาส รวมทั้งช่วยเหลือทางด้านการเงิน ผู้เชี่ยวชาญและบริการอื่นๆ
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่ DMDI ดำเนินการมีถึง 13 แผนงาน ประกอบด้วย งานด้านเยาวชน ผู้หญิง เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วิทยุ สังคมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษา กีฬา เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม Biro Industri ฮับฮาลาล และการสาธารณสุขและสวัสดิการ

สำหรับการ ประชุมโลกมลายู ประจำปี 2017 กำหนดจัดขึ้นระหว่าง24-28 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมชาลีน่า ห้องประชุม ชั้น 9 ถนนนรามคำแหง 65 (ซอยมหาดไทย) กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยได้รู้จักโลกมลายู และให้อาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยเห็นความสำคัญของภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาของพลเมืองอาเซียนประมาณ 300 ล้านคน ที่ผ่านมาได้มีการเสนอให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางของอาเซียน แต่ประเทศไทยได้วีโต้ โดยมีสมาชิกจาก 4 ประเทศประกอบด้วย บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเชีย และไทยประมาณ 150 คน เข้าร่วมประชุม

กำหนดการการประชุม อาทิ วันที่ 24 พ.ย. มีการเสวนา โดยดร.อิสมาแอล ลุตฟีจาปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาตอนี อ.อภิรัฐ สะมะแอ
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา 8:00-15:00 น.

08.00 : การเรียนการสอนภาษามลายูในประเทศอาเซียน
1. Prof. Dr. Rattiya Saleh, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา, ประเทศไทย
2. Dr. Subari Sukaini, ASAS ’50, สิงคโปร์
3. Puan Aminah bt. Awang Basar, สถาบันภาษาและหนังสือ, มาเลเซีย
4. Sdr. Samson Rambah, สำนักงานวัฒนธรรมเมืองบาตัม, เรียว, อินโดนีเซีย

10.00 : พิธีเปิด Pertemuan Dunia Melayu (PDM) การประชุมโลกมลายู
-อัญเชิญอัลกุรอานเปิดงาน โดย อาจารย์อำนาจ มะหะหมัด, ศูนย์ศึกษาโลกมุสลิม มหาวิทยาลัยรังสิต
-กล่าวเปิดโดย YBhg. Tan Sri Dato’ Seri Utama Dr. Rais Yatim, ที่ปรึกษาด้านสังคมและวัฒนธรรมของรัฐบาลมาเลเซีย และปาฐกถาพิเศษ “ภาษามลายูคือภาษาอาเซียน”

 

13.30 : เสวนา หัวข้อ “ภาษามลายูคือภาษาอาเซียน”
1. Sdr. Amiruddin Md Ali Hanafiah, สหพันธ์สมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (GAPENA)
2. Prof. Madya Ampuan Dr. Haji Brahim bin Ampuan Haji Tengah, บรูไน
3. Prof. Madya Dr. Mohamad Takri, สำนักวัฒนธรรมมลายูอินโดนีเซีย (MABMI) เมดาน, อินโดนีเซีย
4. Sdr. Fadell Hayeeharasah, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ: Datuk Dr. Zainal Kling, GAPENA

วันที่ 26 พย. 2560 เวลา10:00- 13:00น. เยี่ยมชมหมู่บ้านมลายูในภาคกลางของไทย ที่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นมลายูได้ถึง สองร้อยกว่าปี ท่ามกลางสังคมเมือง คือ“หมู่บ้านคลองบางโพธิ์” หมู่ 5 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี