ร้อยเรื่อง…ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง

ร้อยเรื่อง…ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

มีการกำหนดวัฒนธรรมและค่านิยมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ 9 ข้อ ได้แก่ 1) ศรัทธา คือ การมีจิตมั่นในศาสนาด้วยสติ ไม่สุดโต่ง 2) มานะ คือ การขยันหมั่นเพียรในงาน 3) สามัคคี คือ ความกลมเกลียวภายใน พร้อมปรองดอง 4) วินัย คือ การยึดมั่นในกฎเกณฑ์และกติกา 5) พันธะ คือ การสร้างข้อผูกพัน มุ่งมั่นปฏิบัติ 6) อาสา คือ การพร้อมช่วยเหลือสังคมและบุคคล 7) เที่ยงธรรม คือ ความไร้อคติ ยึดความยุติธรรม 8) ศึกษา คือ การใฝ่ใจเรียนรู้สิ่งใหม่ไม่สิ้นสุด 9) กตัญญู คือ การสำนึกรู้บุญคุณพร้อมทดแทน
ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

เคยฟัง รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวหลายครั้ง เกี่ยวกับ ความมีอิคลาส (ความจริงใจ ความบริสุทธิ์ใจ) ของเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งนี้ไม่ใช่เพียงได้รับฟังการบอกเล่ามา แต่ได้เห็นกับตา ประจักษ์แก่ใจ ว่าเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทย์ ฯ ล้วนมีวัฒนธรรมและค่านิยมตามที่กำหนดไว้อย่างพร้อมมูล ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะผู้นำองค์กร รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง และอีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ฯ ทุกคน ล้วนมีความรับผิดชอบในฐานะมุสลิมผู้ศรัทธา ต่อมวลมนุษยชาติ มิใช่เฉพาะแต่มุสลิมด้วยกันเท่านั้น

ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับรองฮาลาล มีบุคลากร 3 กลุ่มที่มีความจำเป็นต้องนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น กลุ่มแรก คือ ผู้เชือดสัตว์ ซึ่งต้องเป็นมุสลิมที่ศรัทธาเท่านั้น กลุ่มที่สอง คือ ผู้ตัดสิน หรือผู้ตรวจประเมิน หรือที่ปรึกษาฮาลาล จำเป็นต้องเป็นมุสลิมที่มีความรู้ด้านศาสนา ในกรณีของประเทศไทย บุคลากรกลุ่มนี้ทำหน้าที่ค้นหาความจริง (fact finder) แทนนักวิชาการศาสนาอิสลามหรือผู้ตัดสิน จึงต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงนักวิชาการศาสนาอิสลาม

กลุ่มที่สาม ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งส่งผลวิเคราะห์แก่นักวิชาการศาสนาอิสลาม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จำเป็นต้องเป็นมุสลิม เนื่องจากอยู่ในฐานะผู้ค้นหาความจริงด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับนักวิชาการศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน โดยประเทศอินโดนีเซียและหลายประเทศ กำหนดให้คนกลุ่มนี้ต้องเป็นมุสลิม เนื่องจากอยู่ในฐานะพยานให้แก่นักวิชาการศาสนาอิสลามในวันสิ้นโลก (วันอาคิรัต) ตามความศรัทธาในศาสนาอิสลาม

ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

ร้อยเรื่อง...ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 8 “องค์กรกับค่านิยมและวัฒนธรรมอันล้ำค่าเพื่อเดินหน้าอย่างมั่นคง”

จะเห็นได้ว่า ข้อแรกของวัฒนธรรมและค่านิยมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ หลักศาสนาล้วนๆ ส่วนข้ออื่น ถ้าเปรียบเทียบไปแล้วก็เป็นคำสอนในศาสนา ที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติตามประสบแต่ความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงานนั่นเอง