2 คนโนเบลสันติภาพ 2 วิถีที่แตกต่างอองซาน ซูจี -มาลาละห์ ยูซัฟซัย

คนซ้าย อองซาน ซูจี คนขวา มาลาละห์

2 คนโนเบลสันติภาพ อองซาน ซูจี -มาลาละห์ ยูซัฟซัย

คนซ้าย อองซาน ซูจี คนขวา มาลาละห์
คนซ้าย อองซาน ซูจี คนขวา มาลาละห์

รางวัลเดียวกันแต่การได้มาต่างกัน ซ้ายมือนั้นคืออองซานซูจี  รัฐบาลพม่าบอกถ้าไม่อยากโดนกักบริเวณก็ห้ามอยู่ในประเทศพม่า แต่นางบอกจะอยู่ในพม่า เลยโดนกักบริเวณ ตั้งแต่ปี 2532 รวม 20 กว่าปี เลยได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่หลังจากที่พรรคของเธอชนะการเลือกตั้ง เมื่อปี 2558 และเข้าบริหารประเทศเมื่อปี 2559 เธอ มีท่าทีที่ไม่ดีต่อมุสลิมในพม่า เริ่มจากการไม่ส่งมุสลิมลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค และปล่อยให้ทหารพม่าเข้ากวาดล้างชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา ที่มีการสังหารผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก มีการเผาบ้านเรือน และขับไล่ชาวโรฮิงญาออกนอกประเทศ
อีกคนมะลาละห์ ยูซัฟซัย เด็กหญิงมุสลิมชาวเมืองมินโกรา ปากีสถาน ที่นั่นกลุ่ม ฏอลีบานห้ามผู้หญิงเข้าโรงเรียน ตอนเธออายุ 11 ปี เธอเขียนบล๊อกให้กับบีบีซี เกี่ยวกับมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง เธอถูกทำสารคดี ถูกสำภาษณ์อีกหลายครั้ง อายุ 15 ปี ถูกคนร้ายบุกขึ้นรถโรงเรียนที่เธอนั่งอยู่ และยิงใส่เธอ 3 นัด ถูกศรีษะ 1 นัด แต่เธอรอดตาย อายุ 17 ปี เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ วันที่ 12 กรกฎาคม 2015 วันเกิดปีที่ 18 เธอได้เปิดโรงเรียนในหมู่บ้าน Bekaa ประเทศเลบานอนใกล้ชายแดนซีเรียซึ่งเป็นหมู่บ้านผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย เพื่อให้เด็กผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ได้เรียนหนังสือ โดยใช้เงินจากกองทุน Malala ซึ่งเป็นกองทุนไม่แสวงหาผลกำไรที่เธอตั้งขึ้น อีกทั้งเธอยังเรียกร้องกับผู้นำโลกให้ลงทุนกับหนังสือไม่ใช่กระสุน คน2คน ได้รางวัลสาขาสันติภาพเหมือนกัน คนหนึ่งนั้นอายุมากแล้วเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลที่กำลังฆ่าล้างเผ่าพันธ์มนุษย์ด้วยกัน อีกคนเป็นเด็ก ขอให้ผู้นำประเทศลงทุนกับการศึกษาไม่ใช่การฆ่า