บทสรุปของประวัติศาสตร์ คือ ฝ่ายที่มีกำลังมากกว่า มีอำนาจมากกว่า และเป็นชนะ ย่อมมีความชอบธรรมในการยึดครอง
ทั่วโลกก็เป็นแบบนี้ รัสเซีย-ยูเครน หรือ อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่กำลังดำเนินอยู่ อยู่ที่ว่า เมื่อได้ยึดครองแล้ว ได้ใช้อำนาจที่เป็นธรรมกับผู้ใต้ปกครองมากแค่ไหน เหมือนอิสราเอลที่กดขี่ชาวปาเลสไตน์ ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้ง การต่อสู้ เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์ ที่ไหนมีแรงกดก็จะมีแรงต้าน… แต่หากมีการปกครองที่เป็นธรรม ก็จะมีความสงบร่มเย็นเป็นสุข
ปัตตานี เป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยชาวมลายู ในช่วงคริสตศตวรรตที่ 17 หรือ ประมาณอยุธยาตอนกลาง หลังการล่มสลายของ “นครรัฐลังกาสุกะ” … ลังกาสุกะ เป็นรัฐมลายูที่นับถือฮินดูและพุทธแบบมหายาน ตอนก่อตั้งปัตตานีผู้ปกครองปัตตานี ก็เป็นพุทธมหายาน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นนับถืออิสลาม
อิสลามเข้ามาสู่ปลายแหลมมลายู ตามหลักฐานที่มีการค้นพบที่ฝังศพ ประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว แต่เป็นการนับถือในระดับชาวบ้าน เมื่อผู้ปกครองเป็นมุสลิม ประชากรส่วนใหญ่ก็เลยกลายมาเป็นมุสลิม
ปัตตานี ในยุคแรก เป็นนครรัฐที่เป็นอิสระ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคการค้า ที่ชาวยุโรปล่องเรือสำเภามาค้าขายในเอเชีย โดยเฉพาะในยุค 4 กษัตรี ของราชวงศ์ศรีวังษา นับว่า เจริญมากที่สุด ในยุคพระราชินีฮิเยา พระองค์ปลูกพืช ปลูกดอกไม้ขายให้พวกยุโรปอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
ไม่เพียงการค้าเครื่องเทศเท่านั้น แต่ปัตตานีในยุคนั้น ยังร่ำรวยจากการผลิตปืนใหญ่ขายด้วย ขายให้ญุ่ปุ่น ขายให้ออตโตมาน
น่าสนใจว่า ในขณะที่รัฐทางตอนใต้ อย่างมะละกา ถูกชาติยุโรปยึดครอง แต่ปัตตานีกลับไม่ถูกยึดครอง ตอนกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีปัตตานี ขอให้ฮอลันดาช่วย ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ แม้จะทอดสมอเรืออยู่ตรงปากอ่าวอยู่ก็ตาม
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัตตานีไม่เคยแพ้ในสงครามที่กรุงศรีฯ ส่งกองทัพมาโจมตี ตรงกันข้ามปัตตานี กลับเคยบุกมาตี สงขลา ตรัง พัทลุง จนแตกพ่าย เพราะไม่พอใจที่สงขลาช่วย อยุธยา
อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีการเจรจาตกลงส่ง ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองให้กรุงศรีฯ 3 ปีครั้ง ฝ่ายส่งบอกว่า เป็นมิตรภาพ แต่ฝ่ายรับบอกว่า เป็นการยอมสวามิภักดิ์ เหมือนกรุงศรีฯ กับ จีน นั่นหละ
ปัตตานี เสื่อมลงหลังสิ้นยุคของราชวงศ์วังษา ราชวงศ์กลันตัน ซึ่งเคยแต่งงานข้ามไปมากัน เข้ามาปกครอง และมี 4 กษัตรีเหมือนราชวงศ์ศรีวังษา แต่การแย่งชิงอำนาจกันภายใน ฆ่ากันเอง สุดท้ายก็ไร้ผู้ปกครอง แต่ในสมัยราชวงศ์กลันตัน มีการส่งเสริมการศึกษาอิสลามอย่างกว้างขวาง จนมีนักเรียนจากหลายภูมิภาคเดินทางมาเรียน เป็นที่มาของฉายา ระเบียงแห่งมักกะห์
อย่างไรก็ตาม การที่ปัตตานี ไม่มีกษัตริย์ปกครองยาวนานถึง 40 ปี จนมีการนำเชื้อพระวงศ์เป็นชาวสวน เชิญมาเป็นสุลต่าน ปกครองอยู่ไม่นาน กรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1 ได้ส่งกองทัพมาโจมตี
การระดมทัพจากนครศรี จากสงขลา และเมืองใกล้เคียง และ ทัพใหญ่จากกรุงเทพฯ หลายหมื่นคนทั้งทางบก ทางเรือ แม้ปัตตานีจะมีกำแพงซุง 7 ชั้น มีปืนใหญ่หลายกระบอก ก็เอาไม่อยู่
สุลต่านปัตตานี แม้จะเป็นชาวสวนมาก่อน แต่ได้ต่อสู้อย่างทรหด แต่สุดท้ายพระองค์ ก็เสียชีวิตในสนามรบ ประกอบกับมีใส้สึก คล้ายเมื่อตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 สุดท้าย ปัตตานี ก็พ่ายแพ้ เมืองถูกเผา ว่ากันว่า เพลิงได้เผาเมืองนานถึง 7 วัน 7 คืน ตอนที่เกาหลี มาสร้างทางปัตตานี-นราธิวาส มีการขุดพบท่อนซุงจำนวนมาก แต่ก็ถูกทำลายหมด
วังเก่าปัตตานี อยู่ตรงปากอ่าว ที่มีแหลมโอบล้อม ปลอดภัยจากพายุใหญ่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านบลาโหม มัสยิดกรือเซะ เป็นส่วนหนึ่งของวัง
กรือเซะ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างในรัชกาลที่ 2 ของปัตตานี เป็นมัสยิดแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ก่อสร้างด้วยอิฐตามรูปทรงของอาหรับ ใช้ผึ้งชันยาแนว แทนปูนในปัจจุบัน มีโดมหลังคา ถูกเผาพร้อมกับพระราชวัง เสียหายตั้งแต่ครั้งนั้น นิยายปรัมปรา เรื่องเจ้าแม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริง นิยายเรื่องเจ้าแม่ มามีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วนี่เอง
หลังเสียเมืองชาวปัตตานี หลายพันถูกกวาดต้อนขึ้นเรือ มายังกรุงเทพฯ เป็นประชากรสำคัญของกรุงเทพฯในปัจจุบัน ที่คาดว่า มีประมาณ 800,000 คน
แม้จะพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ แต่ปัตตานีก็ได้ก่อตั้งเมืองขึ้นใหม่ และ แข็งเมือง เป็นระยะๆ สมัยรัชกาลที่ 2 ส่งกองทัพมาปราบ และกวาดต้อนผู้คนขึ้นไปอีกีะลอก และใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง แบ่งเป็น 7 หัวเมือง
ไม่ช้าไม่นาน 7 หัวเมืองก็รวมตัวกัน แข็งเมือง และร่วมมือกับ กลันตัน ตรัง ตรังกานู ไทรบุรี ทำสงครามกับกรุงเทพฯและพลพรรค สนามรบที่ใหญ่ที่สุด ระหว่างมลายู กับ กรุงเทพฯและบริวารคือ บริเวณเขารูปช้าง จนแม่ทัพมลายูเสียชีวิตในสนามรบ ทัพจึงระส่ำระสาย พ่ายแพ้ในที่สุด เจ้าเมืองที่กล่าวมา ถูกประหารชีวิตเกือบทั้งหมด
ครั้งนั้น เป็นสงครามช่วยไทรบุรี ที่แข็งเมือง นครศรี ถูกส่งไปปราบพ่ายแพ้ กรุงเทพฯ ต้องส่งทัพใหญ่ลงมาเอง ความพ่ายแพ้คราวนั้น เข้าใจว่า มุสลิมจากไทรบุรี ถูกกวาดต้อนมาอยู่ นครศรีธรรมราช เป็นบรรพบุรุษของมุสลิมเมืองนครฯ
สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา รูปแบบการปกครองได้เปลี่ยนไป กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงมาคานอำนาจกับสุลต่าน และมีการเก็บภาษีส่งกรุงเทพฯ จึงเกิดแรง ต่อต้านจากชาวปัตตานี มีการขับไล่ข้าหลวง ลักษณะของความขัดแย้งแบบนี้ ดำเนินยาวนานเกือบ 100 ปี
รัชกาลที่ 5 เป็นผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองปัตตานีแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยยกเลิกระบบเจ้าเมือง ปัตตานี กลายเป็นมณฑล เจ้าเมืองเก่าไม่ยอมก็ถูกจำคุก ถูกนำไปขังที่พิษณุโลก เมื่อถูกปล่อยออกมาก็เดินทางไปกลันตันจนเสียชีวิต เป็นสิ้นสุดเจ้าเมืองของปัตตานี หลังดำเนินมา 500 กว่าปี
แม้จะสิ้นเจ้าเมือง แต่ความขัดแย้งระหว่างปัตตานีก็ยังดำเนินอยู่ เรื่องหนึ่งคือ ระบบกฎหมาย
สมัยเป็นนครรัฐ ปัตตานีปกครองโดยกฎหมายชารีอะห์ เมื่อรัชกาลที่ 5 ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ก็ได้นำกฎหมายไทยเข้าไปแทน จึงเกิดแรงต่อต้าน จนต่อมามีการออกกฎหมายครอบครัวและมรดกใช้ในพื้นที่ มีกอฎี ทำหน้าที่พิพากษา ซึ่งความขัดแย้งเรื้องนี้ดำเนินมาหลายสิบปี
จากนั้นก็มีปรากฏการณ์ฮัจยีสุหลง ที่ยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อ และนำไปสู่การหายตัวไปพร้อมลูกชาย หลังถูกเรียกรายงานตัวโดยตำรวจ ต่อมามีการยอมรับว่า ตำรวจนำไปถ่วงน้ำในทะเลสาปสงขลา
ต่อมาเกิดขบวนการพูโล บีอาร์เอ็น และการก่อความไม่สงบจนปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปัตตานี จึงเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลที่ฝังอยู่ในใจคนมายาวนาน
แม้รัฐไทย ดำเนินนโยบายหลากหลายประการ เพื่อให้เกิด Centranluzation คือ การทำให้เป็นส่วนกลาง หรือ ทำให้เกิดความเป็นไทย แต่ต้องไม่ลืมว่า ปัตตานีเป็นมลายู ที่มีรากฐานวัฒนธรรมที่แตกต่างหัน ไม่เหมือนเชียงใหม่ล้านนา ที่เมื่อมีการยกเลิกเมือง แรงต่อต้านจึงไม่มีเพราะมีศาสนาและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน การรวมเป็นหนึ่งเดียวจึงง่ายกว่า
สาเหตุที่ยังเกิดความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
1.ทัศนคติของคนไทยส่วนกลางจะมองคนมลายูด้อยกว่า ดีกรีอาจไม่แรงเท่ายิวมองปาเลสไตน์ แต่ก่อให้เกิดปัญหา ข้าราชการที่ลงไป ด้วยความรู้สึกนี้ จึงกดขี่ข่มเหงชาวบ้านมีความเป็นเจ้านายสู่ง ลักษณะนี้ดำเนินมาตั้งแต่สมัยข้าหลวงฯ ก็ยังมีบ้างในปัจจุบัน แต่หนักสุดสมัย จอมพลป. ที่ใช้นโยบายชาตินิยม ชาวมลายูที่นุ่งโสร่ง ถูกทุบตี ถูกลงโทษ
2.รัฐไม่เข้าใจวิถึชีวิตและความต้องการของชาวบ้าน สิ่งที่ชาวบ้านต้องการเป็นอันดับ 1 จากการสำรวขทุกครั้งคือ ความยุติธรรม แต่รัฐก็เทเงินลงไปแสวงหาผลประโยชน์ แต่ความยุติธรรมถูกมองข้าม จนปัจจุบัน ยังมีการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อยู่ตลอด อย่างกรณี ตากใบ ที่มีคนตาย 85 คน แต่ไม่มีคนถูกลงโทษ เป็นไปได้อย่างไร ศาลเพิ่งรับฟ้อง เมื่อไม่กี่วันนี้เอง
ปัญหาคือ มีการใช้กฎอัยการศึก ใช้ พรบ.ฉุกเฉิน เกินกว่าความเป็นจริง ควรจะยกเลิก ให้ใช้กฎหมายปกติในการสืบสวนสอบสวน จะมีความเป็นธรรมมากกว่า
3กฎระเบียบบางอย่างถูกใช้โดยไม่เข้าใจ เช่น บางโรงเรียนห้ามสวมฮิญาบ บางยุคบางสมัย มีการนำพระพุทธรูปเข้าในโรงเรียนที่มีอิสลาม 100%
4.การกระจายงบประมาณ ส่วนใหญ่ไปตกในมือเจ้าหน้าที่และกลุ่มทุน ไม่กระจายถึงชาวบ้าน
การศึกษาประวัติศาสตร์ จึงเป็นการศึกษาเพื่อถอดบทเรียน แต่ดูเหมือน จะถูกมองข้ามไป เหตุที่เกิดขึ้นเมื่อ 100-200 ปีก่อน ก็ยังวนเวียนอยู่จนปัจจุบัน มีพัฒนาเพียงเล็กน้อย
การสร้างการรับรู้ในบริบทที่แตกต่างจึงเป็นความจำเป็น