นักเศรษฐศาตร์ระดับโนเบลไพรซ์ เข้ามาบริหารบังคลาเทศ จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่หมักหมมมานานได้แค่ไหน
หลังการชุมนุมที่ยืดเยื้อของชาวบังคลาเทศ จนมีผู้เสียชีวิต 300 คน ชีค ฮาสินา นางสิงห์เหล็ก ในวัย 76 ปี ต้องตัดสินใจลาออก หลังครองอำนาจมายาวนาน 20 ปี และเดินทางอย่างร้อนรนโดยเฮลิคอปเตอร์เดินทางออกจากบังคลาเทศ เมื่อวันจันทร์ (5 สิงหา)
ชีค ฮาสินา เป็นลูกสาวของ ชีค มูจิบู เราะห์มาน บิดาแห่งการปฏิวัติบังคลาเทศ ที่ต่อสู้แยกตัวจากปากีสถานจนสำเร็จ แต่ถูกทหารยึดอำนาจ และสังหารทั้งครอบครัว แต่ชีค ฮาสินา รอดมาได้เพราะตอนนั้นเธอกับน้องสาวอยู่เยอรมันตะวันตก(สมัยยังไม่รวมชาติ) เธอ เป็นผู้ต่อสู้จนทหารยอมลดอำนาจ และได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำประเทศ
.
แม้ว่า จะแก้ปัญหาของประเทศได้อย่าง แต่ประเทศที่มีประชากร 170 ล้านคนแห่งนี้ มีความซับซ้อน โดยเฉพาะปัญหาความยากจน คนจำนวนมากตกงาน
.
ในจำนวนประชากร 170 ล้าน มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ว 120 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน แต่ไม่มีงานรองรับ แม้บังคลาเทศจะโดดเด่นในด้านสิ่งทอ แต่ปริใาณการจ้างงานไม่มากเพียงพอ รัฐบาลล้มเหลวในการดึงดูดนักลงทุนไปลงทุนในจำนวนที่มากเพียงพอ การทำงานจึงต้องพึ่งพาการรับราชการเป็นหลัก
.
แม้ว่า ปัญหาการชุมนุมประท้วงมาจากโควต้าการรับราชการที่จัดให้ลูกหลานทหารผ่านศึกเมื่อครั้งการเรียกร้องอิสรภาพก็ตาม แต่ปัญหาที่หมักหมมที่สะสมความไม่พอใจมายาวนาน
.
อีกทั้ง ประเทศถูกกัดกร่อนด้วยปัญหาคอร์รัปชั่นที่แทรกซึมทุกส่วนในสังคม จนเป็นเส้นเลือดทางเศรษฐกิจเลยทีเดียว ว่ากันว่า หากมีการปร่บปรามคอร์รัปชั่นได้สำเร็จ เศรษฐกิจของบังคลาเทศจะล้มครืนเลยทีเดียว
.
สำหรับ มูฮัมหมัด ยูนุส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ผู้ก่อตั้งกรามินแบงก์ ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้คนระดับล่าง ระดับไมโคร จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง สามาถสร้างงานสร้างอาชีพให้คนจำนวนไม่น้อย จนทักษิณ ชินวัตร นำมาขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านนั่นแหละ
.
ความสำเร็จของกรามินแบงก์ ทำให้มูฮัมหมัด ยูนุส ได้รับรางวาลโนเบล สาขาสันติภาพ และมีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนางอาสินา ถูกดำเนินคดีหลายคดี จนมีการเรียกร้องระดับนานาชาติให้ยกเลิกการดำเนินคดีกับเขา
.
ในวันนี้ มูฮัมหมัด ยูนุส ในวัย 84 ปีถูกฝ่ายทหารเชิญมาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว(คล้ายนายอานันท์ ปันยารชุน ถูก รสช.เชิญมาเป็น) เขาจะสามารถแก้ปัญหาของประเทศที่หมักหมมมานานได้หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
.