เปิดหลักฐานอีกด้าน ‘พินัยกรรมกุโบร์ จ.แพร่’ จุฬาฯต้องวินิจฉัยโดยด่วน

ต้องวินิจฉัยว่า เจ้าของที่ดิน เป็นของนายอดุลย์ อุดม คนเดียว หรือเป็นที่ดินของผู้บริจาคหลายคน แต่ต่อมาใส่ชื่อนายอดุลย์ เพียงคนเดียว ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ที่ดินเป็นของนายอดุลย์คนเดียว ก็ไม่มีประเด็นวินิจฉัย เพราะพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจน

ตามที่ Mtoday ได้นำเสนอปัญหาการปิดมัสยิดจ.แพร่ โดยอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย เจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้ดำเนินการปิดมัสยิด เนื่องจากปัญหาการตีความด้านศาสนา โดยระบุว่า มีบุคคลหลายคน บริจาคที่ดินเพื่อเป็นกุโบร์ ต่อมาได้มีการสร้างมัสยิดทับพื้นที่กุโบร์ส่วนหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนาถือว่า ผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคนั้น Mtoday ได้รับหนังสือ หลักฐานการมอบที่ดินของนายอดุลย์ อุดม ได้มอบที่ดินสำหรับเป็นกุโบร์ มัสยิด และมีพื้นที่ใช้ประโยชน์เพื่อหารายได้ รายละเอียดระบุว่า
วันที่ 2 เดือนธันวาคน พ.ศ.2540 เรื่องพินัยกรรมมอบที่ดินตามโฉนดที่ 2575 อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
เรียน ท่านที่ดินจังหวัดแพร่
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. โฉนดที่ดินโฉนดที่2575และที่จำลองแผนที่(ตัวจริง/สำเนา)
2. ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน (ตัวจริง/สำเนา)
ข้าพเจ้า นายอดุลย์ อุดม อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38/2 หมู่ 1 ถนนศรีสัชนาลัย อำเภอเด่นชัย
จังหวัดแพร์ เป็นเจ้าของโฉนดที่ 2575 เล่ม 26 ซึ่งอยู่ที่ป่าแมต ตำบลป่าแมด อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวข้างต้นนี้ให้เป็นกรรมสิทธิและอยู่ในความดูแลของ
มัสยิดเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ส่วนรวมของชาวมุสลิม
โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งทางด้านหลังเป็นสุสานผังศพของผู้นับถือศาสนาอิสลามและอีกส่วนหนึ่ง
ทางด้านหน้าเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม ส่วนด้านหน้าที่ติดถนนใหญ่อาจให้
ผู้อื่นเราที่ทำประโยชน์ซึ่งผลประโยชน์และรายได้ที่จะได้มาลามารถนำมาเป็นคำใช้จ่ายในการทะนุบำรุง รักษา ก่อสร้าง เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเจริญตามความเหมาะสมต่อไป
ที่ดินทั้งหมดตามโฉนดดังกล่าวนี้ ข้าพเจ้า ภรรยา และบุตรของข้าพเจ้า ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำไป ขาย-จำนอง-จำนำ-ขายฝาก ให้กับผู้หนึ่งผู้ใด นอกจากเป็นทรัพย์สินของพวกนับถือศาสนาอิสลามตามที่ข้าพเจ้าได้ประสงค์ไว้เท่านั้น
จริง

ลงชื่อ นายอดุลย์ อุดม พร้อมลงนามพยาน 3 คน

อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาการตีความดังกล่าว อิหม่ามมัสยิดเด่นชัย ได้ยื่นให้สำนักจุฬาราชมนตรีวิจฉัย ซึ่งปัญหาในการวินิจฉัยว่า

เจ้าของที่ดิน เป็นของนายอดุลย์ อุดม คนเดียว หรือเป็นที่ดินของผู้บริจาคหลายคน แต่ต่อมาใส่ชื่อนายอดุลย์ เพียงคนเดียว ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ที่ดินเป็นของนายอดุลย์คนเดียว ก็ไม่มีประเด็นวินิจฉัย เพราะพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจน  แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ที่ดินผืนดังกล่าวเป็นของหลายคนบริจาค ซึ่งส่วนใหญ่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า

การบริจาคที่เพื่อใช้เป็นกุโบร์ สามารถใช้เป็นมัสยิด หรือสถานที่ละหมาดได้หรือไม่ โดยปัจจุบันมีการกั้นผนังศาลาเป็นมัสยิด และมีการก่อสร้างสถานที่ละหมาดไว้แล้วด้วย

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยยังต้องใช้เวลา เนื่องจากจุฬาราชมนตรี อยู่ระหว่างการเดินทางเยือนซาอุดิอารเบีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปิดมัสยิดจังหวัดแพร่ทำไม หลังสังคมวิจารณ์ ฟังอิหม่ามตอบคำถาม