คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติโยกย้ายข้าราชการใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตรวจราชการ นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า กรมประมง จะมีตำแหน่งระดับรองอธิบดีว่างลงถึงสองตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดี ที่ ขยับขึ้นไปเป็นอธิบดี และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา และ ครม.ย้าย ย้าย นายถาวร ทันใจ รองอธิบดี ไปเป็นผู้ตรวจฯอีกคนคาดว่า ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการเปิดรับสมัครคน ที่จะขอขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมประมงที่ว่างลงสองตำแหน่ง ซึ่งกรมประมง เป็นกรมที่สำคัญในการดูแลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของคนเราด้านสัตว์น้ำ มีภารกิจมากมายที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนร่วมกับข้าราชการในกรม และ ประชาชน-สังคม จึงต้องได้คนดี มีความรู้ความสามารถ ตั้งใจจริง เฉพาะด้านการประมงมาทำงาน
“ประจวบ เจี้ยงยี่” ประมงจังหวัดลำปาง เป็นคนหนึ่งที่น่าจะสมัครลงชิงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงแทนตำแหน่งที่ว่างลง …สนใจเรียนทางด้านการประมง จึงไปเรียน ระดับ ปวช.ถึง ปวส.ที่วิทยาลัยการประมงสงขลาติณสูลานนท์ ระหว่างที่เรียนชั้น ปวส 1. กรมประมง เปิดสอบรับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ประมง จึงไปสอบเข้ารับราชการ และ สอบได้เมื่อเรียนจบชั้น ปวส.จึงบรรจุเข้ารับราชการที่กรมประมง ตั้งแต่ปี2534 เป็นต้นมา
กล่าวได้ว่า “ประจวบ” มีประสพการณ์ทำงานโชกโชน ตระเวนไปทำงานมาแล้วทั่วประเทศ บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อ 18 มิถุนายน 2534 ที่ งานอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จ.ชุมพร รับผิดชอบ จ.ชุมพร ประจวบ และสุราษฎร์ธานี
จากนั้นถูกย้ายไปตามความเหมาะสม และ จังหวะก้าว สุดท้ายเข้ามารับตำแหน่งที่ส่วนกลางในตำแหน่ง ผู้อำนวยการเรือตรวจการ ระหว่างนั้นก็ถูก นายกลั่นแกล้งโยก ไปเป็นประมงจังหวัดลำปาง เอาง่ายๆว่า เป็นคนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เช่น โครงการฟอกทรายคืนทะเล โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และ อีกมากมาย เหมาะแก่การเอา “ลูกหม้อ” ผู้รับงานประมงมานั่งเป็นรองอธิบดีกรมประมงล่าสุดได้ร่วมกิจกรรมกับ #นายหัวไทร กับโครงการ “ลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง” ด้วยการนำปลาดุกลำพันจากป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส มาปล่อยคืนธรรมชาติป่าพรุควนเคร็ง ที่ปลาดุกลำพันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และกำลังเตรียมการปล่อยปลาดุกลำพันครั้งต่อไปอีก
ถ้าพิจารณากันโดยใจไม่ลำเอียง ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม “ประจวบ เจี้ยงยี่” เหมาะที่จะขยับขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมประมง
ประวัติการทำงาน
ปี2562ขยับอีกครั้งไปเป็น “หัวหน้ากลุ่มบริหาร” จัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถบริหารจัดการการทำการประมงหมีกโดยเครื่องมือครอบหมึก โดยเริ่มจากการทำประชาคม ชุมชนประมงตลอดแนวชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ นำความต้องการของชุมชน มาเสนอกรมประมง จนสามารถนำอรื่องเข้าคณะกรรมการประมงจังหวัด จนออกมาเป็นประกาศคณะกรรมการประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใหเทำกาาฝรปนะมงด้วยเรือครอบหมึกได้ โดยใช้อวนตาไม่ต่ำกว่า3.2ซม และทำนอกชายฝั่งไม่ต่ำกว่า500เมตร และห่างเกาะ ไม่น้อยกว่า 300เมตร จึงนำมาสู่ความอุดมสมบูรณ์ของหมึกตลอดแนวชายฝั่งอีกครั้ง เนื่องจากมีพื้นที่ให้พ่อแม่พันธุ์และลูกหมึกวัยอ่อนอยู่อาศัย นำมาซี่งรายได้ของขุมชนเพิ่มขึ้น ไม่ค้องอพยพถื่นฐานไปต่างถิ่น สังคมมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น อีกครั้งหนึ่งหลังจากปัญหาสัตว์น้ำไม่สมดุลย์กับการจับได้รับการแก้ไขด้วยมาตรการดังกลาวปี 2564ไปรับตำแหน่งประมงจังหวัดบึงกาฬ เมืองแห่งพญานาต ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำภานใต้หลักคิด “ทำสิ่งที่มีอยู่ ให้ดีที่สุด” เพราะการแปรรูปเป็นอาชีพที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวอีสาน โดยร่วมมทอกับ อาจารย์ขาบ “สุทธิพงษ์ สุริยา ขับเคลื่อนชุมชนมีชีวิต โซ่พิสัย ของจังหวีดบึงกาฬ จนอบรมการแปรรูปสัตว์น้ำ และให้ชื่อปลาตากแห้งเรียงเป็นตับตับว่า “ปลาเข้าแถว”จนติดตลาด
-ส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในแม่น้ำโขง เพื่มมูลค่า และผลักดันไปให้ถึง จีไอ เพราะการเลี้ยงในแหล่งน้ำไหล ทำให้ปลาแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่มีกลิ่นคาว
ปี2565 ไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองตรวจการประมง ดำเนินกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งด้านงานปราบปราม งานมวลชน และงาน csr ต่างๆ
ภายใต้หลักคิด “งานเป็นผล คนเป็นสุข” ภายใต้คุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ได้ริเริ่ม
-โครงการ ฟอกทรายคืนสู่ทะล สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน และภาคประชาชน ให้รักษ์และหวงแหนท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัสัตว์น้ำ อันเป็นอาหารหลักประเภทโปรตีนของมนุษย์
-โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยสัตว์น้ำเพิ่มรายได้สร้างอาชีพแก่ชุมชนโดยใช้แพไม้ไผ่ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยให้สมาชิกชุมชนประมงท้องถิ่นดำเนินการ ในกิจกรรม จะกำหนดพื้นที่อนุรักษ์แหล่งพ่อแม่พันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยรับให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชม ธรรมชาติ เป็นการควบคุมพื้นที่อนุรักษ์ควบคู่กับการสร้างรายได้ของชุมชนจากนักท่องเที่ยว
-นำระบบดัชนีมวลกายเข้ามาขับเคลื่อนบุคลากร สร้างสมรรถณะทางกาย และสร้างวินัย แก่บุคคลากร สร้างภาพลักษณ์แก่องค์กรให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชน
#กรมประมง #ประจวบเจี้ยงยี่