สัปดาห์นี้ คณะรัฐมนตรีเศรษฐา เดินสายประชุมสัญจรครั้งแรก ที่จ.ระนอง และโครงการแลนด์บริดจ์ก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันหนาหู ท่ากลางกระแสว่า โครงการนี้จะเดินหน้าสำเร็จหรือจะล้มเหลวเหมือนหลายๆโครงการที่เคยจะสร้างในพื้นที่ภาคใต้
‘แลนด์บริดจ์’ เป็นโครงการขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาท นับว่า เป็นโครงการใหญ่ที่สุดโครวงการหนึ่งที่ประเทศไทยเคยดำเนินโครงการ เป็นโครงการเชื่อมต่อ ระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง กับฝั่งอ่าวไทย ที่หลังสวน จ.ระนอง เพื่อย่อนระยะทางการเดินเรือไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู โดยจะมีถนนเชื่อม 2 ฝั่ง มีทางรถไฟ และท่อส่งน้ำมันและก๊าซ
หากได้ก่อสร้าง ระยะแรกกำหนดแล้วเสร็จในปี 2573 และการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2582 โดยรัฐบาลไทยได้เดินสายชักชวน นักลงทุนจากจีน, สหรัฐฯ และยุโรป แต่ดูเหมือนมีซาอุดิอาระเบีย ที่สนใจจะมาสร้างคลังน้ำมันมูลค่า 500,000 ล้านบาท ในโครงการนี้
หากการก่อสร้างสำเร็จ ขีดความสามารถในการรองรับการขนส่งสินค้า ประมาณ 40 ล้าน TEUs (หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาดความยาว 20 ฟุต) ในปี 2582 ซึ่งจะน้อยกว่า ท่าเรือ TUAS ของสิงคโปร์ที่คาดว่าจะรองรับได้ถึง 65 ล้าน TEUs เมื่อแผนการขยายท่าเรือของสิงคโปร์นปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์แล้ว
โครงการ เริ่มต้นในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี 2564 โดยการผลักดันของพรรคภูมิใจไทย ที่ดูแลกระทรวงคมนาคม ได้มีศึกษาเบื้องต้นถึงเส้นทางการก่อสร้าง และความคุ้มค่าในการก่อสร้าง แต่นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ทัน หลังเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ช่วงแรก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ระบุว่า จะไม่เดินหน้าต่อ แต่มีกระแสความไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าโครงการต่อ วันที่ 16 ต.ค. 2566 ที่ประชุม ครม. รับทราบรายงานโครงการดังกล่าวพร้อมสั่งให้ดำเนินการต่อ จากนั้น นายสุริยะ และนายกรัฐมนตรี เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ก็ชักชวนนักลงทุนมาลงทุนโครงการ ทั้งที่ญี่ปุ่นและทีดาวอส สวิสเซอร์แลนด์
แลนด์บริจด์ มีการศึกษาโครงการในช่วงที่มีการศึกษาการาขุดคลองไทย ที่มีเป้าหมายในเส้นทาง A9 จ.ตรัง กระบี่ พัทลุง สงขลาและนครศรีธรรมราช แต่โครงการล้มเลิกไปเพราะกฎหมายไม่ผ่านสภา ซึ่งโครงการคลองไทย พรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ ที่เดิมจะมีการขุดคอคอดกระ
พื้นที่ระนอง-ชุมพร ที่เรียกคอคอดกระ พื้นที่ๆแคบที่สุดที่เชื่อมต่ออันดามันกับอ่าวไทย เคยมีแผนขุดคลองตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงนั้น มีฝรั่งเศสกับอังกฤษมาศึกษา และจากการเล่นเดิมกันของ 2 มหาอำนาจ คลองการนี้จึงออกมาว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะขุดคลอง โครงการขุดคอคอดกระถูกจุดกระแสอีกครั้งในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ก่อสร้าง ด้วยเหตุผลทางกายภาพ และความมั่นคง
ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ได้ดำเนินโครงการ เซาท์เทิร์นซีบอร์ด หลังความสำเร็จของอิสเทิร์นซีบอร์ด เชื่อมต่อกับอ่าวไทยกับอันดามัน จากกระบี่-สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โครงการได้ศึกษาในสมัยชวน 1 เริ่มก่อสร้างในสมัยชวน 2 แต่ทำได้เพียงการสร้างถนน 4 เลน เชื่อมกระบี่-สุราษฎร์ฯ และโครงการก็เดินไปได้แค่นั้น รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้ดำเนินโครงการต่อ โครงการจึงไม่เกิดท่าเรือน้ำลึก ไม่มีทางรถไฟ ไม่มีท่อน้ำมัน
ในปี 2549 สมาชิกวุฒิสภา ได้ศึกษาโครงการขุดคลองไทย และผลการศึกษาก็ออกมาว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน แผนจึงพับไป มีการศึกษาต่อในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แล้วก็จบลง
แลนด์บริดจ์ จึงเป็นโครงการที่จะพัฒนาภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะไม่เพียงมีถนน ทางรถไฟ และท่อขนน้ำมัน แต่จะท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรม ไม่เพียงการขนส่งสินค้า แต่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่จะสร้างงานสร้างอาชีพให้ไปคนภาคใต้และคนไทยทั้งประเทศ
ภาคใต้จะว่าไปแล้ว มีแผนที่จะสร้างโครงการใหญ่ๆหลายโครงการ แต่ไม่สำเร็จเลย จากกระแสคัดค้านจากเอ็นจีโอ ตั้งแต่โรงงานไฟฟ้าบ้านกรูด นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ที่โครงการถูกชะลอไป โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาร่า ทำให้ไทยต้องพึ่งพิงมาเลเซีย อาศัยท่าเรือที่ปีนังในการส่งออก และท่าเรือมาบตะพุด หรือโครงการนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลที่ปัตตานีก็ล้มเลิก ภาคใต้จึงพึ่งพาการท่องเที่ยว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นหลัก ซึ่งไม่ครอบคลุมเพียงพอ เยาวชนจำนวนมาก ต้องเดินทางส่วนกลางเพื่อหางานทำ
เท่าที่ได้พูดคุยกับคนในพื้นที่ คนระนอง สนับสนุนการสร้างแลนด์บริดจ์เพราะระนอง สภาพเหมือนแลนด์ล็อค มีภูเขาขวางกั้นจากชุมพร มีถนน 3 สาย เชื่อมต่อ ชุมพร หลังสวนและพังงา ซึ่งค่อนข้างลำบากในการเดินทาง การท่องเที่ยวของระนองก็ไม่บูมเหมือนพังงา ภูเก็ต การมีท่าเรือ มีถนนขนาดใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรร คนระนองมองว่า จะสร้างความเจริญให้กับพื้นที่ได้มากกว่าที่เป็นอยู่
ในขณะที่คนชุมพร ที่อยู่ในแนวเส้นทางก่อสร้าง เป็นเจ้าของสวนทุเรียนเสียส่วนมาก มีความเป็นอยู่ที่ดี จึงไม่อยากออกจากที่ดินเดิม ที่ได้ค่าชดเชยน้อยไม่คุ้มค่า ส่วนNGO ก็อ้างแนวโครงการจะทำลายแนวปะการังแถบทะเลหลังสวน ก็แค่นั้นหละ
มีการประชาพิจารณ์ไป 1 ครั้งที่จังหวัดระนอง เมื่อปี 2566 คนส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่เมื่อจะเริ่มโครงการการจริงๆ กระแสค้านก็เพิ่้มขึ้น โดยก้าวไกล กระโดดร่วมด้วย
หากโครงการนี้ล้มเหลวอีกครั้ง การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ก็ไม่มีอะไร อยู่กันไปแบบนี้ คนที่ยิ้มก็คือ สิงคโปร์และมาเลเซีย