การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยยุทธศาสตร์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างประเทศจากตลาด 7-Digit Target ของภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ปี 2566 ประสบความสำเร็จเกินคาดโดยได้แรงหนุนจากนโยบายรัฐบาล ส่งให้ตลาดมาเลเซียครองอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่
4.4 ล้านคน ขณะที่ตลาดอินเดียทะลุเป้าหมายพร้อมทุบสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวัน เวียดนามและสิงคโปร์ใช้ซอฟต์พาวเวอร์ดันจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพและตลาดเฉพาะส่งภาพรวมฟื้นตัวใกล้เคียงปี 2562 หลังจากนี้ เตรียมวางแนวทางปี 2567 เน้นดึงดูดกลุ่มคุณภาพสูงที่ท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ รวมถึงเพิ่มค่าใช้จ่ายและขยายวันพักค้างผ่านการนำเสนอท่องเที่ยวเมืองรอง
นาย ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา ททท. ได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ โดยมีเป้าหมายให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคนี้เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 32 ของตลาดท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั้งหมด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินแนวทางทำตลาดที่มุ่งเน้นการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากตลาดศักยภาพที่มีนักท่องเที่ยวเกิน 1 ล้านคนต่อปี (7-Digit Target) ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะสั้นที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวไทยและสามารถตัดสินใจเดินทางเร็ว ทั้งได้รับอานิสงส์จากนโยบายของรัฐบาลในการช่วยกระตุ้นการเดินทาง โดยสำหรับในปี 2566 นี้ พบว่าทั้ง 4 ตลาดดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดนักท่องเที่ยว มีผู้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทยเกินจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ทั้งหมด
สำหรับนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ครองตลาดอันดับ 1 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด โดย ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วกว่า 4.4 ล้านคน ส่วนใหญ่มาทางด่านทางบกมากกว่าร้อยละ 60 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการของภาครัฐที่ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 บริเวณด่านพรมแดนสะเดาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ตลาดมาเลเซียมีการฟื้นตัวจากปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 แล้วอย่างสมบูรณ์แบบถึง 104% และในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีนี้คาดว่าจะมีชาว
มาเลเซียเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อนและจับจ่ายซื้อสินค้ามากกว่า 100,000 คน ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนเป็นจำนวนมาก
ตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคคือตลาดอินเดีย ซึ่งขณะนี้จำนวนนักท่องเที่ยวทะลุเป้าหมายและเกินคาดการณ์ที่ 1.6 ล้านคนแล้ว หลังจากที่ประเทศไทยประกาศมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กอปรกับการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของสำนักงาน ททท. ในสาธารณรัฐอินเดีย ที่กระตุ้นความต้องการในการเดินทาง ผ่านกิจกรรม Sales call ในเมืองรองของอินเดีย หรือการอัปเดตแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมใหม่ ๆ ของประเทศไทยบนสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งการทำ Joint Sales Promotion ร่วมกับบริษัทนำเที่ยวพันธมิตรรายใหญ่อย่าง MakeMy Trip เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีศักยภาพในการเดินทาง อาทิ กลุ่ม Corporate, Incentive, Wedding & Celebrations โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาประเทศไทยต่อวันได้แตะสถิติสูงสุดครั้งใหม่ (New High) ที่ 6,819 คน (ปกติช่วงเทศกาลเฉลี่ยวันละประมาณ 5,800-6,200 คน) ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อสิ้นสุดปี 2566 จะเกิดรายได้ทางการท่องเที่ยวจากตลาดอินเดียมากกว่า 65,600 ล้านบาท
เวียดนามและสิงคโปร์ เป็นอีกสองตลาดศักยภาพสำคัญโดยประเทศไทยนับเป็นจุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดนิยมอันดับ 1 ที่ชาวเวียดนามเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุด เนื่องจากมีค่าครองชีพใกล้เคียงกันและมีสินค้าบริการที่หลากหลาย โดยนักท่องเที่ยวหลักจะเป็นกลุ่ม Millennials, กลุ่มครอบครัว, และ MICE นอกจากนี้ ยังมีการเดินทางตามอิทธิพลของกระแสละครและภาพยนตร์ไทย โดยอัตราการฟื้นตัวของเที่ยวบิน (Flight Resumption) ซึ่งแนวทางการดำเนินงานของ ททท. ได้เน้นส่งเสริมนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาประเทศไทยแล้วในกลุ่ม Health & Wellness, Sport Lovers, กลุ่มเยาวชน นอกจากนี้มี
การสนับสนุนการเดินทางที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น Fly & Drive คาราวานรถหรูจากสิงคโปร์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 นักท่องเที่ยวเวียดนามฟื้นตัวแล้วที่มากกว่า 97% ในขณะที่สิงคโปร์มีอัตราการฟื้นตัวประมาณ 91%
การสนับสนุนการเดินทางที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น Fly & Drive คาราวานรถหรูจากสิงคโปร์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 นักท่องเที่ยวเวียดนามฟื้นตัวแล้วที่มากกว่า 97% ในขณะที่สิงคโปร์มีอัตราการฟื้นตัวประมาณ 91%
ทั้งนี้ สำหรับปี 2567 ททท. จะมุ่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคนี้ให้เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 38 ของตลาดท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั้งหมด พร้อมยังคงเร่งทำตลาดอย่างต่อเนื่องในอาเซียน อินเดีย และโอเชียเนียซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงที่ออกเดินทางด้วยความตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ รวมถึงจะเน้นเพิ่มค่าใช้จ่ายและขยายวันพักให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงไปยังจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองของประเทศไทย ควบคู่การนำเสนอซอฟต์พาวเวอร์เอกลักษณ์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายนักท่องเที่ยวทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างยั่งยืนต่อไป