เปิดเบื้องลึก’ฮามาส’ซุ่มวางแผนเป็นระบบบุกอิสราเอล จับตาสงครามขยายวง

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสปฏิบัติการสายฟ้าแลบ ‘พายุอัลอักศอ’ บุกอิสราเอลทุกทิศทาง ถึง 50 จุด เป้าหมายเพื่อยึดดินแดนคืนและแก้แค้นที่ชาวปาเลสตน์ถูกสังหารมาต่อเนื่อง เผยเบื้องวางแผนอย่างเป็นระบบมานาน 2 ปี ลับ ลวง พราง จนอิสราเอลตายใจ จับตาสงครามจะลุกลามขยายวง

กลุ่มนักรบฮามาส ได้วางแผนอย่างแยบยลในการบุกอิสราเอล จนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอิสราเอลเป็นครั้งแรกในรอบหลาย 10 ปี การบุกโจมตี เกิดขึ้นทั้งทางทะเล ทางบก และบริเวณชายแดนที่มีการสร้างกำแพงสูง ปฏิบัติการโดยใช้ทั้งรถแทรกเตอร์เกลี่ยดิน ร่มร่อน และรถจักรยานยนต์ เข้าไปเข้าจัดการกองทัพที่ทรงพลังที่สุดในตะวันออกกลางได้อย่างคาดไม่ถึง

ฮามาสปกครองปาเลสไตน์ด้วยอำนาจเพียงเล็กน้อย และพวกเขาถูกจับตาจากอิสราเอลตลอดเวลา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อิสราเอลได้สังหารผู้นำฮามาสจำนวนหลายคน เพื่อบั่นทอนศักยภาพของกลุ่ม และเกือบทุกครั้งที่อิสราเอลโจมตีกาซ่า อาคารที่ทำการที่คาดว่า เป็นของรัฐบาลฮามาส มักถูกถล่มทุกครั้ง จนตึกทั้งตึก พังราบเป็นหน้ากลอง

ฉนวนกาซ่า เป็นเมือนคุกขนาดใหญ่ พื้นที่ขาด 360 ตารางกิโลเมตร ถูกปิดล้อมทุกด้านจากอิสราเอล การติดต่อเชื่อมโยงกันของฝ่ายต่างๆ จึงเป็นไปได้ยาก แต่เหล่านี้เป็นงานที่ท้าทายของฮามาส นับตั้งแต่การก่อตั้งกลุ่ม เมื่อปี 1997 เป้าหมายของฮามาสชัดเจน เพื่อต่อสู่กับอิสราเอล ในขณะที่ PLO หรือกลุ่มฟาต๊ะ อ่อนกำลังลง จากการเสียชีวิตของยัสเซอร์ อาราฟัต และมีท่าทีประนประนอมกับอิสราเอลมากกว่าการต่อสู้ด้วยกำลัง แต่ฮามาสกลับมีท่าทีตรงกันข้าม พวกเขาสะสมอาวุธและต่อสู้กับอิสราเอล แม้มีอาวุธและกำลังที่ด้อยกว่า จนได้รับความนิยมจากชาวปาเลสไตน์ ในปี 2006 พวกเขาได้รับการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับการรับรองจากสหรัฐฯและอิสราเอล ขึ้นป้ายว่า พวกเขาเป็นกลุ่มก่อการร้าย และหาทางทำลายมาตลอด

ชาวปาเลสไตน์ เป็นชนชาติที่มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่าชาวยิว จากสถิติพวกเขาเรียนจบปริญญาเอกในสัดส่วนที่ไม่น้อยไปกว่าชาวยิว เพียงแต่ขาดโอกาสในการพัฒนาประเทศ จากการถูกปิดกั้นในทุกๆด้าน แต่การมาของฮามาส ได้ระดมศักยภาพของคนปาไลสเตน์ออกมาใช้อย่างทรงพลัง

ในอดีตปาเลสไตน์ มีเพียงมือเปล่า ถูกกองกำลังอิสราเอลเล่นงานมาตลอด จากแผ่นดินกว้างใหญ่ถูกรุกคืบ จนเหลือเพียงนิดเดียว และถูกแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน ฉนวนกาซ่ากับเวสต์แบงก์ จะออกจากพื้นที่ก็ถูกตรวจเข้ม จะละมาดที่อัลอักศอ ก็ถูกขัดขวาง การสร้างกองทัพของตัวเองที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ฮามาส จึงเป็นกลุ่มติดอาวุธตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แตกต่างกับ PLO หรือฟาต๊ะ ที่ปกครองเวสต์แบงก์ที่เน้นการเจรจา ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จกับการใช้กับอิสราเอล เวสต์แบงก์จึงถูกรุกคืบเสียดินแดนเพิ่มขึ้นมาตลอด แต่ื้ฉนวนกาซ่าการตอบโต้ด้วยอาวุธ แม้จะมีการสูญเสีย แต่ไม่เสียดินแดนเพิ่ม

ตลอดระเวลา 1 กว่าปีที่ผ่านมา ฮามาส ได้ผลิตอาวุธตามศักยภาพที่ตัวเองมี ด้วยการช่วยเหลือของอิหร่านและฮิสบุลเลาะฮ์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฮามาสสามารถยิงจรวดตอบโต้อิสราเอลได้พอสมควร สามารถหยุดการโจมตีของอิสราเอลได้พอสมควร

เมื่อมีความพร้อมในด้านอาวุธในระดีบหนึ่ง ฮามาสจึงวางแผนโต้กลับอิสราเอล เพื่อหวังยึดดินแดนคืน ด้วยกำลังที่ด้อยกว่า ยุทโธแกรณ์ที่อ่อนด้อยกว่า ฮามาสจึงต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ

1. การผลิตอาวุธ ขีปานาวุธ จะต้องมีจำนวนมากพอ คาดว่า ฮามาสมีขีปนาวุธในครอบครอง ทั้งที่ผลิตเองและที่ได้รับการช่วยเหลือจากพันธมิตร นับแสนลูก

2.การชักชวนแรงงานในกาซ่า มาฝึกอาวุธ โดยไม่ได้บอกเป้าหมาย เพื่อไม่ให้ความลับรั่วไหลไปยังศัตรู

3. ลับลวงพราง ด้วยการให้คนอิสราเอลเน้นการพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาความเป็นอยู่ ไม่เอาสงคราม เพื่อให้อิสราเอลตายใจ

4.การเก็บความลับ ฮามาสได้วางแผนการบุกอิสราเอลมา 2 ปี ร่วมกันพันธมิตร อย่างอิหร่านและฮิสบุลเลาะฮ์มาตลอด โดยรับรู้เฉพาะแกนนำระดับสำคัญ แกนนำระดับรอง ไม่มีใครรับรู้ เพียงแต่แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่รู้เป้าหมายสุดยอด

ยุทธศาสตร์
ฮามาสจะต้องหาทางเพื่อบุกอิสราเอลให้ได้ เพื่อนำไปสู่การยึดคืนดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดไป ปูทางไปสู่การจัดตั้งประเทศที่ถูกอเมริกาและพันธมิตรสกัดกั้นมาตลอด 70 กว่าปี

ยุทธวิธี
เมื่อมีความพร้อม ทั้งอาวุธ ยานพาหนะ และกำลังคน จึงตัดสินใจบุก โดย
1.เลือกวันเวลาที่อิสราเอลมีความพร้อมน้อยที่สุด หรือเผลอมากที่สุด จึงเลือกเทศกาลทางศาสนาของยิว และเลือกวันท้ายๆ เหมือนกรณีการบุกค่ายทหารที่นราธิวาส เลือกวันที่ 4 มกราคม ที่ทหารฉลองจนอ่อนเพลียกันหมด

ในวันสำคัญทางศาสนา ทหารจะเข้าร่วมพิธีทางศาสนา มีทหารเข้าเวรประจำการน้อยกว่าปกติ

2.บุกทุกทิศทาง ทั้งทางบก ทางทะเล ประมาณ 50 จุด ทางบกทลายกำแพงใช้หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ด้วยยานพาหนะทั้งมอเตอร์ไซด์ และรถกระบะ ด้วยตั้งตัวไม่ทัน อิสราเอลจึงสูญเสียมาก

แต่ฮามาส มีข้อผิดพลาดที่โจมตีพลเรือนร่วมด้วย แต่พลเรือนจำนนหนึ่งก็ถูกสังหารโดยคอมมานโดอิสราเอล สำหรับคนที่นั่งท้ายกระบะ เพราะเข้าใจว่า เป็นฮามาส

3. ยิงขีปนาวุธเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
ฮามาสใช้ขีปนาวุธปลอม ที่สั่งมาจากจีน เพื่อหลอกไออ้อนโดรน เพราะด้วยศักยภาพของไออ้อนโดรน เมื่อใช้ไปถึงระดับหนึ่ง ประสิทธิภาพจะลดลง ในช่วงแรกฮามาสจะยิงจรวดปลอมเข้าไปยังอิสราเอล 3,000 ลูก ตามศักยภาพที่ไออ้อนโดรนรับได้ หลังจากนั้นจึงยิงขีปนาวุธจริงเข้าไป ประมาณ 2,000 ลูก

ข้อมูลจากอิสราเอล จึงบอกว่า ยิงขีปนาวุธเข้าไป 2,000 ลูก ซึ่งได้สร้างความสูญเสียให้อิสราเอลไม่น้อย เพียงแต่อิสราเอล ไม่เผยแพร่ภาพความสูญเสีย เผยแพร่เพียงข้อมูลการสูญเสียเพลเรือน เพื่อสร้างลบต่อฮามาสต่อประชาคมโลก

3.ฮิสบุลเลาะฮ์ ยิงถล่มทางเหนือเพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ
ฮิสบุลเลาะฮ์ เป็นพันธมิตรที่แนบแน่นของฮามาส ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธในเลบานอน ที่สามารถสู้รบเอาชนะอิสราเอลได้ เพียงกำลังเดียว ในการสู็รบเมื่อปี 2006 ศักยภาพของการสู็รบจึงไม่ต้องพูดถึง

การรับมือหลังการโจมตี
หลังฮามาสบุกอิสราเอล เมื่อตั้งตัวได้อิสราเอลได้ตอบโต้กลับ ด้วยการตีโต้กลุ่มฮามาส ที่บุกเข้าไปในดินแดนอิสราเอล จนยึดดินแดนคืนได้เกือบทั้งหมด เป็นข้อมูลจากอิสราเอล โดยที่ฮามาสยังไม่มีข้อมูลโต้แย้ง

ขณะเดียวกันก็ได้โจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงทำลยสถานที่สำคัญทั้งทางทหารและพลเรือน นับ 1,000 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับฉนวนกาซ่ามากกว่าทุกๆครั้ง มีผู้ไร้ที่อายู่ทันที ประมาณ 200,000 คน เสียชีวิตอีกหลายร้อยคน ในจำนวนนี้ เป็นเด็กกว่า 200 คน

ไม่มีรายงานความเสียหายของฮามาส แต่ตามข้อมูลฮามาสสร้างห้องใต้ดินขนาดใหญ่เพื่อหลบเลี่ยงการโจมตีของอิสราเอล

อย่างไรก็ตาม ระบบสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า ในกาซ่าถูกตัดขาด ระบบสื่อสารถูกอิสราเอลโจมตีพังพินาศ ไม่สามารถใช้งานได้

ไม่มีข้อมูลว่า ฮามาสได้เตรียมแผนรับมือหรือไม่ แต่ฮามาสน่าจะมีการผลิตไฟสำรองได้ อย่างน้อยก็หล่อเลี้ยงในค่ายทหาร และเพื่อการทำงานของระบบการสื่อสาร จะเห็นว่า หลังการโจมตีระบบสื่อสาร ฮามาสยังสามารถตอบโต้อิสราเอลได้

การรับมือหลังจากนี้
ไม่นานคาดว่า อิสราเอลได้เตรียมบุกฉนวนกาซ่า โดยอิสราเอลมีกำลังทหาร 150,000 คน และกำลังพลสำรอง 300,000 คน ถูกเรียกประจำการ มีรถถัง 300 คัน รถหุ้มเกราะอีกจำนวนหนึ่ง มีเครื่องบินโจมตี 600 เครื่อง และขีปนาวุธจำนวนมาก

ไม่มีข้อมูลว่า ฮามาวางแผนรับมืออย่างไรกับการบุกเข้ากาซ่าของอิสราเอลอย่างไร แต่มีนักวิเคราะห์ทางหาร มองว่า สถานการณ์เหมือนการบุกโมซุล ในอิรัคของสหรัฐฯ ที่สภาพเป็นตึก การรับมือ การหลบเลี่ยงจึงง่าย ยากต่อการโจมตี ทหารสหรัฐฯเคยเข้าไปสู่กับดักที่โมซุลมาแล้ว

มีคำถามว่า ฮามาสจะยืนระยะในการต่อต้านอิสราเอลได้นานเพียงใด้ ซึ่ง
เข้าใจว่า ฮามาสและพันธมิตรคงจะประเมินสถานการณ์ไว้แล้วว่า อิสราเอลจะบุกเข้ากาซ่า คงมีการเตียมการไว้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยออกมา

ตอนนี้ ภารกิจสำคญของฮามาสคือการรับมือ ทหารนับแสนนายพร้อมอาวุธที่ทันสมัยและระบบป้องกันตัวเองที่ดีของอิสราเอล คาดว่า จะเกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่ายจะเกิดขึ้นมหาศาล พื้นที่ 360 ตารางกิโลเมตร จะกลายเป็นพื้นที่นองเลือด แต่จะท่วมท้องม้า เหมือนตอนนักรบไม้กางเขนบุกเยรูซาเล็มหริอไม่ อยู่ที่การเตรียมพร้อมของฮามาส

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ฮามาส ไม่ได้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว มีพันธมิตรที่แนบแน่น อย่างฮิสบุลเลาะฮ์ และกองกำลัง IRGC หรือกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ที่พร้อมจะให้การช่วยเหลือเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ช่วงคับขัน

ฮามาส อยู่ทางตอนใต้ของอิสราเอล ติดกับพรมแดนอียิปต์ ฮิบุลเลาะฮ์อยู่ทางตอนเหนือ เป็นนักรบติดอาวุธที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับอิสราเอล และเคยเอาชนะอิสราเอลในสงคราม 34 วัน ในปี 2006 สามารถยึดคืนที่ราบสูงโกลัน ที่ถูกอิสราเอสยึดไปเมื่อสงคราม 6 วัน ปี 1967 ได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งในการโจมตีของฮามาส ฮฺสบุลเลาะฮ์ได้โจมตีอิสราเอล เป็นคู่ขนานด้วย ส่วนทางตะวันออก มีกองกำลงของซีเรียและIRGC ของอิหร่านพร้อมช่วยขนาบ

กองกำลัง IRGC อิหม่ามโคมัยนี่ ก่อตั้งขึ้นมามีภารกิจหนึ่งคือ เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ มีบทบาทสำคัญในการช่วยซีเรียในสงครามปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม ที่สหรัฐฯจัดตั้งขึ้นมาสำเร็จ และยังฝังตัวอยู่ในซีเรีย เป็นกองกำลังที่อิสราเอลและสหรัฐฯ ต้องการทำลายมาตลอด รวมถึงการสังหารนายพลสุไลมานี ในอีรัค

น่าจับตาว่า ถึงสถานการณ์ที่อิสราเอลบุกเข้าฉนวนกาซ่า เราอาจจะเห็นฮิสบุลเลาะฮ์บุกเข้าทางเหนือ กองกำลังซีเรียและIRGC บุกเข้าทางตะวันออก สงครามจะขยายไปสงครามภูมิภาค ถึงเวลานั้น สหรัฐฯ ยุโรป ก็จะเข้ามาแทรกแซง และกลุ่มประเทศในอาหรับก็จะเข้ามาแทรกแซงเช่นกัน และแน่นอนว่า รัสเซีย จีน ก็คงไม่นิ่งเฉย ซึ่งรัสเซียมีนักรบรับจ้างว๊ากเนอร์ในมือ และมีทหารประจำการในซีเรีย ส่งขีปนาวุธโจมตีฐานทัพของสหรัฐบ่อยครั้ง

สงครามปาเลสไตน์-อิสราเอล ครั้งนี้ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

สมพร/12/10/67