พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.แต่ไม่ได้สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังเป็นหัวหน้าพรรคต่อไปได้
เพียงแต่เมื่อถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่ จากศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ไม่ได้ตามกฎหมายกำหนด
ดังนั้น เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านไว้ “พิธา” จึงต้องลาออกจากหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อเปิดทางให้เลือก สส.คนใหม่มาเป็นหัวหน้าพรรค จะได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านแต่ต้องคิดขัดกับข้อกำหนดกฎหมาย โดยสมาชิกพรรคก้าวไกล จะต้องไม่มีตำแหน่งในสภา เช่น ประธาน หรือ รองประธานสภา และจะทำอย่างไรกับ “หมออ๋อง” ปดิพัทธ สันติภาดา ที่นั่งเป็นรองประธานสภาฯอยู่ในนามพรรคก้าวไกล
“เราต้องรักษาไว้ทั้งสองตำแหน่ง เพราะเราสูญเสียมามากแล้ว” ความคิดหนึ่งแว้ปขึ้นมาในสมองของนักการเมืองระดับอ๋อง จึงน่าจะใช้มติพรรคขับ “หมออ๋อง” ออกจากพรรค ไปหาพรรคใหม่สังกัด และยังเป็นรองประธานสภาอยู่ได้ หัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่ ก็เป็นผู้นำฝ่ายค้านได้ด้วย รักษาไว้ทั้งสองตำแหน่ง
เพียงแต่จะหาเหตุผลอะไรมาอธิบายกับสังคมในการขับ “หมออ๋อง” ออกจากพรรค ในเมื่อ “หมออ๋อง” ยังไม่ทำผิดอะไรต่อพรรค ไม่ได้ทำอะไรให้พรรคเสียหาย
มีคนพยายามอธิบายว่า ก็อดีตเคยมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อ สส.กลุ่ม รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ต้องการออกจากพรรคพลังประชารัฐ เพื่อตั้งพรรคใหม่ เป็น พรรคเศรษฐกิจไทย ก็เสนอให้พรรคมีมติขับพวกเขาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และในที่สุดพรรคพลังประชารัฐก็มีมติขับ สส.กลุ่ม รอ.ธรรมนัส ออกจากพรรคจริงๆ และไปขับเคลื่อนพรรคเศรษฐกิจไทย
เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ จึงน่าจะเกิดกับ “หมออ๋อง-พรรคก้าวไกล” เพียงแต่พรรคก้าวไกล ต้องหาเหตุหาผลไปอธิบายกับสังคม กับการทำการเมืองแนวสร้างสรรค์ แนวก้าวหน้า แต่การทำแบบที่ว่า เป็นการทำแบบ “ศรีธนนชัย” เพื่อรักษาไว้ทั้งตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน และตำแหน่งรองประธานสภา
ใครจะเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ให้จับตาดูการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะเป็นใคร มีตัวเลือกหลายคน อาทิ พริษฐ์ วัชรสินธุ์, วิโรจน์ ลักษณาอดิศรี, รังสิมันต์ โรม และ ศิริกัญญา ตันสกุล
แต่สำหรับ “หมออ๋อง” มีข่าวแพลมออกมาแล้วว่า เมื่อถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล ก็จะไปสังกัดพรรคเป็นธรรม หรือไม่ก็พรรคสามัญชน แต่ มีความเป็นไปได้กับพรรคเป็นธรรมมากกว่า
#นายหัวไทร
#ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน
#พรรคก้าวไกล