เมื่อลูกหนังมีอิทธิพลเหนือการเมือง :บอลโลก2022
ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสของซาอุดิอาระเบียมาแรงขึ้นแท่นผู้กอบกู้ศักดิ์ศรีฟุตบอลให้เอเชียในฟุตบอลโลก 2022 ในคู่แข่งระหว่างอาร์เจนตินา-ซาอุดิอาระเบีย ทำให้สุดท้ายจบเกมเป็นซาอุดีอาระเบียชนะไปแบบพลิกล็อค 2-1 กลายเป็นทีมจากเอเชียทีมแรกที่คว้าชัยในฟุตบอลโลก 2022 ได้สำเร็จแบบช๊อคโลก
แต่อีกมุมคงปฏิเสธไม่ได้ว่าฟุตบอลโลกปีนี้เข้ามากระชับพื้นที่ทางการเมืองโลก ถึงกับบางคนได้กล่าวว่านี่คือยุคของซ็อฟพาวเวอร์ลูกหนังที่ไม่เคยเกิดมาก่อน จนทำให้ทีมชาติรัสเซีย ไม่ได้รับอนุญาตให้ลงแข่ง จากการคว่ำบาตรกรณีบุกยูเครน และบางคนมองว่านี่เป็นเกมการเมืองของมหาอำนาจและไม่ใช่เรื่องของกีฬา ขณะที่แฟนบอลชาวรัสเซียบางส่วน ระบุว่าจะยังดูการแข่งขันต่อไป แม้จะไม่ทีมชาติรัสเซียลงแข่ง
ส่วนอิหร่านศึกเปิดสนามแข่งกับอังกฤษทีมเต็งแชมป์บอลโลกปีนี้ ข่าวกระแสหลักได้โหมเรื่องการเมืองภายในอิหร่านทันที ว่าทีมชาติอิหร่าน ไม่ร้องเพลงชาติในการแข่งขันนัดแรกกับอังกฤษ เพื่อเป็นสัญลักษณ์สนับสนุนการเคลื่อนไหวประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงในประเทศ ยิ่งเมื่ออิหร่านได้พ่ายยับให้กับอังกฤษ6-2วันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยิ่งโหมโรงการเมืองผูกโยงกับบอลโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ว่ากันว่ามีภาพปรากฎนักเตะทีมชาติอิหร่านทุกคนตัดสินใจไม่ร้องเพลงชาติเลยแม้แต่คนเดียว สาเหตุดังกล่าวเป็นเพราะว่านักฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน แสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลของประเทศตัวเอง และสนับสนุนการประท้วงที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเกิดอย่างดุเดือดของประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาลของพวกเขา
นอกจากนี้ยังมีแฟนบอลอิหร่านหลายคนร่วมใจตะโกนประท้วงระหว่างเพลงชาติกำลังบรรเลง และมีผู้ชูป้ายที่มีข้อความเขียนว่า “ชีวิตเสรีภาพและผู้หญิง” เพื่อต่อต้านการกระทำของรัฐบาล
ในขณะที่การเมืองอิหร่านได้ถูกท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ มีผู้ประท้วงเรียกร้องไม่เอารัฐอิสลามและไม่เอาการคลุมฮิญาบแบบบังคับ มีเหตุปะทะระหว่างผู้ประท้วง และเจ้าหน้าที่ทหารมานานมากกว่า 2 เดือนแล้ว และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 300 ราย ถูกจับกุมแล้วตอนนี้หลายหมื่นคนทีเดียว
เกิดอะไรขึ้นในอิหร่าน?
ถือได้ว่าสื่อกระแสหลักได้เขย่าข่าวความวุ่นวายการประท้วงในอิหร่านหนักในปีนี้ตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเทศกาลบอลโลก กลุ่มผู้ประท้วงทั้งในและนอกประเทศอิหร่านต่างได้โหนกระแสให้ติดตามเหตุการณ์ของการเสียชีวิต น.ส. มาห์ซา อามินี ชาวเคิร์ด หญิงสาววัย 22 ปี โดยปั่นข่าวให้ภาพลบต่อหน่วยงานรัฐของอิหร่านที่ถูกรู้จักในนาม”กัชตีเอร์ชาด” (Gasht-e Ershad) หรือ”ตำรวจศีลธรรม” ว่าได้ถูกควบคุมตัวน.ส. มาห์ซา อามินี แล้วใช้ความรุนแรงเกินเหตุอีกทั้งได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อการคลุมฮิญาบ จนทำให้เธอเสียชีวิต
ต่อมาสื่อยังได้โหนต่อและจุดกระแสว่าประชาชนโกรธแค้นและสื่อยังได้นำภาพของการประท้วงของผู้หญิงที่พากันจุดไฟเผาผ้าคลุมศีรษะเป็นสัญลักษณ์การขัดขืนข้อบังคับเรื่องการแต่งกายของสตรีที่เคร่งครัดของทางการอิหร่าน และสื่อยังได้นำคลิปโหนหนักต่อความรุนแรงตำรวจในการปราบปรามผู้ประท้วง จนเป็นภาพโด่งดังไปทั่วโลกและมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลอิหร่านอย่างกว้างขวาง
ขณะที่มองมุมของอิหร่านได้สะท้อนในเรื่องนี้น่าสนใจว่าหมุดหมายหลักของการประท้วง นั่นคือต้องการทำลายรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ด้วยการร่วมมือของฝ่ายสื่อกระแสหลักที่อยู่ในมือของศัตรูอิหร่านที่ได้เพียรพยายามทุกวิถีทางอยู่แล้วและครั้งนี้ใช้ชื่อของ Miss Mehsa Amini เป็นข้ออ้างเพื่อไปถึงเป้าหมายใหญ่นั่นคือล้มล้างระบอบสารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และขณะเดียวกันชาวสตรีอิหร่านส่วนใหญ่ได้ออกมาแสดงพลังปกป้องรัฐถะและปกป้องผู้นำของพวกเขาจำนวนมาก แต่ไม่เห็นภาพนั้นในสื่อกระแสหลักเลย
ถ้าย้อนดูบทบาทของสตรีในอิหร่านจะพบว่า พวกเขาได้รับสิทธิด้านการศึกษา และอิหร่านได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศในตะวันออกกลางที่ก้าวหน้าที่สุดในการยกระดับการศึกษาของผู้หญิง ลดช่องว่างของหญิงชายในด้านการศึกษา ในด้านแรงงาน อิหร่านมีผู้หญิงที่ทำงานเป็นข้าราชการถึงหนึ่งในสามของจำนวนข้าราชการทั้งหมด มีผู้หญิงรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกต่างๆนับร้อย และในการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 1999 มีผู้หญิงถึง 5,000 คนลงสมัครรับเลือกตั้ง และในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำท้องถิ่นถึง 300 คน และในสมัยของประธานาธิบดี โรฮานี มีสตรีตำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี และตำแหน่งระดับสูงอื่นๆทางการเมืองในประธานาธิบดี ราอีซี่
บอลโลก2022 สำหรับอิหร่านในแมทร์ต่อไป จะแก้เกมได้หรือไม่?ทั้งเกมฟุตบอลและเกมการเมือง ที่เป็นความท้าทายและน่าติดตามทีเดียว