ยิ่งใหญ่! “อนุทิน” เปิดงาน ประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ “เอเปค” ครั้งแรกในไทย

ยิ่งใหญ่ ! “อนุทิน ชาญวีรกูล” จัดเต็ม เป็นประธาน เปิด การประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ “เอเปค” ครั้งแรกในประเทศไทย รัฐมนตรี สาธารณสุข ทั่วโลก ร่วมงานคับคั่ง

วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ การประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปคภายใต้หัวข้อ “Open to partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy. หรือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นการจัดประชุมด้านสาธารณสุขครั้งแรกของประเทศไทย (APEC Health Week) ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 โดยวันนี้เป็นวงเสวนา เพื่อถอดบทเรียนนานาชาติในการรับมือโรคระบาด ขณะที่ในวันที่ 26 ส.ค. จะเป็นการประชุม เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างกันทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขจากเขตเศรษฐกิจเอเปค ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เข้าร่วมแบบออนไซต์ และมี จีน จีนฮ่องกง เกาหลีใต้ และ รัสเซีย เข้าร่วมในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงมีผู้นำระดับสูงของหน่วยงานระหว่างประเทศ อาทิ เลขาธิการอาเซียน ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขาธิการเอเปค และมีข้าราชการระดับสูงและภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากนายอนุทิน กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านต้อนรับผู้บริหารระดับสูงจากนานาชาติ มาร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากที่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอเปค ภายใต้หัวข้อ OPEN CONNECT และ BALANCE ถึงเวลาแล้วที่ ผู้คนจะต้องก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 และเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เข้ามา ภายใต้การอยู่ร่วมกันกับโรคอย่างเข้าใจ ถึงเวลาที่เราจะต้องกลับไปเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันอีกครั้ง พร้อมกับการสร้างสมดุลในเรื่องของสุขภาพ และเศรษฐกิจ ซึ่งมา ณ จุดนี้ การก้าวไปข้างหน้าต้องมองให้ครบทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เราเคยมีบทเรียนจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เราทุ่มเทให้กับเรื่องสุขภาพ จนกระทั่งเกิดความเสียหายอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบัน เราต้องกลับมาบาลานซ์ 2 เรื่องนี้ ให้ไปด้วยกันได้การที่ผู้นำด้านสุขภาพของหลายชาติมารวมกันตรงนี้ คือโอกาสที่ดีมาก ในการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ เมื่อครั้งต้องต่อกรกับโควิด-19 และไม่เพียงแต่เรื่องสุขภาพ แต่เรายังต้องหารือเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และสังคม ด้วย เพื่อให้การพัฒนานั้น ครอบคลุมในทุกวิติ เราจะทิ้งเรื่องหนึ่ง เรื่องใด ไว้ข้างหลังไม่ได้ และเชื่อว่า ทุกชาติ ที่มาร่วมแชร์ข้อมูล ต่างมีประสบการณ์ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า“กับประเทศไทย การเกิดขึ้นของ ศบค. ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการจัดการ และบูรณาการทุกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างคล่องตัว ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนั้น เรายังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เข้มแข็ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ไปจนถึงพลังของ อสม. และความสำเร็จในการจัดหา และให้บริการวัคซีนอย่างทั่วถึง เหล่านี้ คือ ปัจจัยบวกของไทย ที่เราพร้อมถ่ายทอดให้นานาชาติได้รับทราบ ก้าวต่อไปของการสาธารณสุขไทย คือ ต้องนำทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการรับมือกับโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ซึ่งศูนย์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และโรคอุบัติใหม่ของอาเซียน(ACPHEED)ที่ตั้งในไทย ก็จะทำหน้าที่นี้ด้วย เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความมั่นคงทางสุขภาพและเศรษฐกิจต่อไป สำหรับประเทศไทย ระบบสาธารณสุขของเราได้รับการยอมรับ และเป็นจุดแข็งในเรื่องของการดึงดูดการลงทุนจากในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ” นายอนุทิน กล่าว