“เฉลิมชัย” ปลื้ม !! ยอดส่งออกผลไม้ไปจีน ทะลุ1ล.ตัน มอบ”อลงกรณ์” เร่งแผนพัฒนา

“ฟรุ้ทบอร์ด” พอใจส่งออกผลไม้ไปจีนครึ่งปีแรกทะลุ1ล้านตันสร้างรายได้กว่า8หมื่นล้าน  สั่งเร่งเดินหน้าแผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี 2565-2570 เพิ่มศักยภาพสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูงชูนโยบายคุณภาพและมาตรฐาน

นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ครั้งที่ 3/ 2565 โดยที่ประชุมพอใจผลงานการส่งออกผลไม้ครึ่งปีแรกของปีนี้เกิน1ล้านตัน มากกว่าปีที่แล้วกว่า120,000 ตัน สามารถสร้างรายได้ กว่า8หมื่นล้าน ขณะเดียวกันได้กำชับให้เตรียมพร้อมล่วงหน้ารับมือลำไยภาคตะวันออก ที่จะออกผลผลิตช่วงปลายปี และ เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลที่แล้วจากผลกระทบโควิด-19ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมาย นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ. รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคใต้ และ นายชาตรี บุนนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ. รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคเหนือประสานการทำงานกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเป็นแกนหลักบริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ใต้ลำไยเหนือ22จังหวัดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ มอบหมายฟรุ้ทบอร์ด ให้ยกระดับนโยบาย”คุณภาพและมาตรฐานผลไม้” และ เร่งเดินหน้าแผน 5ปี คือแผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี2565-2570 เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูงโดยเน้นการพัฒนาพันธ์ุ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต การเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ผลไม้ การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability system) การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศและการปฏิรูปการบริหารจัดการผลไม้ของฟรุ้ทบอร์ดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทยตลอดห่วงโซ่การผลิตการแปรรูปจนถึงการตลาดและรับมือกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การปลูกทุเรียนตลอดจนการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกในจีนและทั่วโลกนอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ ดังนี้

1. การแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนามังคุดมะม่วงและมะพร้าวตามข้อเสนอของเกษตรกรผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่จัดทำแผนและพัฒนามังคุดมะม่วงและมะพร้าวแบบครบวงจรซึ่งเป็นคณะทำงานชุดใหม่เพิ่มเติมจากคณะทำงานทุเรียนและคณะทำงานลำไยตามแนวทางการบริหารเชิงรายผลไม้เศรษฐกิจ (product based) 2.รายงานการศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไยต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ และ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลรายงานการศึกษาฯ เพื่อประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการพัฒนาและบริหารจัดการลำไยทั้งระบบต่อไป

3.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2565 จำนวน 764,777 ตัน4.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 รวม 487,459 ตัน ได้แก่ ทุเรียน จำนวน 382,873 ตัน, มังคุด จำนวน 56,340.ตัน, เงาะ จำนวน 41,714.ตัน, และลองกอง จำนวน 6,532.ตัน โดยมอบหมายศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าประสานคพจ.เป็นแกนหลักในการบริหารจัดการผลไม้กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหาให้ประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

5.โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 มอบฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวลำไยปี 2564/65” เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ.เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใต้สถานะการคลังโดยมีเงื่อนไขและกรอบแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาดังนี้
(1) ขนาดพื้นที่ปลูกรายละ ไม่เกิน 25 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่หรือ 1,500 ต่อไร่ หรือ 1, 000 ต่อไร่
หรือ(2) ขนาดพื้นที่ปลูกรายละ ไม่เกิน 15 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่ หรือ1,500 ต่อไร่ หรือ 1, 000 ต่อไร่
(3)มาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านอื่นๆเช่น มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อด้านหนี้สินและดอกเบี้ยโดยธกส.เป็นต้น
(4)เป็นเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2564 กับ กรมส่งเสริมกาคเกษตรเรียบร้อยแล้ว ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 31 พค 65 ซึ่งปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตได้แล้ว โดยใช้เกณฑ์อายุต้น 5 ปีขึ้นไป