“สุเทพ” ชื่นชม “ตรีนุช “ทำโครงการช่วยอาชีวะ-บัณฑิตจบใหม่-คนว่างงาน มีรายได้

“สุเทพ เทือกสุบรรณ” ชื่นชม ให้กำลังใจ “ตรีนุช เทียนทอง” ทำหลายโครงการเพื่อนักเรียนอาชีวะ บัณฑิตจบใหม่ คนว่างงาน มีรายได้ หวัง ช่วยยกระดับรายได้ครัวเรือน คุณภาพชีวิต ในช่วงภาวะเศรษฐกิจ มีปัญหา
วันที่ 23 มิย. 65 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย(มปท.)เผยแพร่รายการ “คุยกับลุง” EP 32 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)” ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันที่แล้ว ได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มีโอกาสไปพบ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้ทักทายสนทนากันในเรื่องที่ นางสาวตรีนุช ได้เสนอขออนุมัติจากครม. ทำโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ” อันนี้เป็นเรื่อง ที่น่าตื่นเต้น เพราะเรา อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอนในระดับอาชีพศึกษาของประเทศ ในลักณะอย่างนี้มานานแล้วคราวนี้ นางสาวตรีนุช ทำสำเร็จ และครม.เองได้อนุมัติเงินจำนวน 610 ล้านบาท เพื่อมาทำโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในระยะแรก โครงการที่ 1 ที่จะทำติดต่อกัน 3 ปี ( 2565-2567 ) เห็นว่ารัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มี นางสาวตรีนุช เทียนทอง เป็น รมว.ศึกษาธิการ ได้ตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง สมควรที่จะได้รับการชื่นชมจากประชาชน เพราะว่า ประชาชนเรียกร้องมานานแล้วว่า อยากจะเป็นรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในการผลิตนักศึกษา ระดับปวช.ปวส.เพื่อออกไปเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนประเทศ คนทำงานสำคัญของประเทศคือ คนที่จบ ปวช.ปวส.แต่ว่าในชนบท ลูกหลานชาวบ้านกระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆพ่อแม่มีลูกหลายคน ค่ารถที่จะมาเรียนในโรงเรียนอาชีวะที่อยู่ในเมือง เป็นภาระสำหรับผู้ปกครองมาก

การที่นางสาวตรีนุช ทำโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” เป็นการช่วยเหลือครอบครัวประชาชน เปิดโอกาสให้ลูกหลานคนเหล่านั้น ได้มีอาสไปเรียนอาชีวะ ออกไปทำงานช่วยเหลือครอบครัวตัวเองต่อไปได้ ประชาชนอย่างพวกเราคิดอ่านเรื่องนี้กันมานานแล้ว เราได้ร่วมมือกันสร้างวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ ขึ้นที่ เกาะสมุย ทำกันตามความคิดความฝัน สร้างสถานศึกษา ที่ลูกชาวบ้านสามารถมาเรียนหนังสือได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีหอพักให้อยู่ มีอาหารให้รับประทานทุกมื้อ เรียนฟรีมีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบ สอน ให้ลูกชาวบ้านเป็นมืออาชีพจริง เอามืออาชีพมาสอนทำกันปีนี้เป็นปีที่6แล้ว มีนักศึกษามาจากทุกภาคทั่วประเทศชาวเขาก็มี ที่วิทยาลัยแห่งนี้นอกจากระบบอยู่ประจำ เรื่องสำคัญคือว่านักศึกษาที่อยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้ต้องประพฤติ ปฏิบัติตัวเหมือนชาววัดอยู่ในศีลในธรรมปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้าเย็น นั่งสมาธิ ฟังเทศน์เช้าเย็น ในระหว่างสัปดาห์มีชั่วโมงเรียนธรรมศึกษา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าสอนนักธรรม นักธรรมตรี- โท-เอก เด็กของวิทยาลัยในรอบ5 ปี มีสอบได้นักธรรมตรี- โท และมีบางส่วนได้นักธรรมเอก นอกจากเป็นมืออาชีพแล้วยังเป็นคนดีมีคุณธรรม มีศีลธรรม และเวลาไปสมัครงานที่ไหนทุกหน่วยงานยินดีต้อนรับ

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า โครงการของ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ นอกจากเรียนกันอย่างจริงจังเพื่อให้เป็นมืออาชีพและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดทุกวันแล้วเรายังยึดถือวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงพระราชทานแนวทางไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับคนไทย นักศึกษา อาจารย์ จะทำนา เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักเรียกว่า ให้มีความพอเพียงอยู่จริงทำติดต่อกันมาทุกปี ในเนื้อทีเกือบ70 ไร่ ไม่มีภารโรง นักศึกษาและ อาจารย์ช่วยกันทำ นี่คือรูปแบบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชน อยากเห็น ลงมือปฏิรูปการศึกษาโดยฝีมือประชาชนกันมาอย่างนี้ วันนี้ดีใจที่นางสาวตรีนุช คิดเห็นเหมือนเราคือมองเห็นแล้วว่า รัฐบาลจะต้องลงทุนในการสร้างมืออาชีพที่เรียนปวช.ปวส.แล้วออกไปทำงานในภาคส่วนต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน