ทูตอิหร่านประณามบางกอกโพสต์ เต้าข่าวตำรวจไทยจับตาชีอะห์เป็นสายลับ-สตช.ปฏิเสธทันควัน

บางกอกโพสต์ สื่อภาษาอังกฤษของไทย ถูกสถานเอกอัคราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์ประณาม ระบุ นำเสนอข่าวเป็นเท็จอิหร่านส่งสายลับเข้าไทย สตช.สั่งตำรวจทั่วประเทศจับตา ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกแถลงการณ์ปฏิเสธข่าวแล้

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. เว็บไซต์ของบางกอกโพสต์ได้เผยแพร่รายงานข่าวในภาษาอังกฤษที่เขียนโดย “นายวัสยศ งามขำ” อ้างแหล่งข่าวตำรวจระดับสูง ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออก “คำสั่งลับ” ให้ตำรวจทั่วประเทศจับตาสายลับจากอิหร่าน โดยระบุว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงได้ติดตามการเคลื่อนไหวของชาวอิหร่านและชาวไทยมุสลิมที่สงสัยว่าทำงานเป็นสายลับให้อิหร่านในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด

‘พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้ออกคำสั่งให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาค เฝ้าระวังและรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของสายลับเหล่านี้ โดยอ้างถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ปีที่แล้ว ที่ทางการอินโดนีเซียพบว่า นายกัสเซม ซาบีรี กิลชาลาน (Ghassem Saberi Gilchalan) เดินทางเข้าประเทศโดยถือหนังสือเดินทางบัลแกเรีย ต่อมาพบว่าเป็นของปลอม และได้จับกุมที่ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา’ บางกอกโพสต์ ระบุ

แต่การจับกุมครั้งนั้น ได้ตั้งข้อหาเพียงพาสพอร์ตปลอม ไม่ได้ตั้งข้อหาสายลับแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ตามรายงานการจับกุมระบุว่า ชายคนดังกล่าว ใช้หนังสือเดินทางปลอมเพื่อเข้าประเทศ ตำรวจชาวอินโดนีเซียพบว่าเขาเข้ามาในประเทศมากกว่า 10 ครั้งโดยใช้เอกสารปลอม และศาลตัดสินจำคุกเขาสองปีในความผิดดังกล่าว และยังพบว่า เขามีโทรศัพท์มือถือ 11 เครื่อง คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต 1 เครื่อง ซิมการ์ดจำนวนหนึ่ง และเงินสดมูลค่ากว่า 320,000 บาท จากการ
การตรวจสอบบนโทรศัพท์มือถือของเขาพบชื่อของชาวไทยมุสลิมบางคน ซึ่งทางการชาวอินโดนีเซียเชื่อว่านายกิลชาลานคนนี้เป็นสายลับจากอิหร่าน

หลังถูกสอบสวนเพิ่มเติม นายกิลชาลานบอกกับตำรวจอินโดว่า เขาได้รับมอบหมายจากอดีตนักการทูตอิหร่านในมาเลเซียให้ทำหน้าที่เป็นสายลับทั้งที่นั่นและในอินโดนีเซียหลายครั้ง

ความพยายามครั้งล่าสุดเกี่ยวข้องกับการล็อบบี้ทางการชาวอินโดนีเซียเพื่อปล่อยเรือบรรทุกน้ำมัน MT Horse ที่ติดธงชาติอิหร่าน ซึ่งถูกจับในน่านน้ำของประเทศเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว

ชายคนดังกล่าวยังตั้งบริษัทบังหน้าขึ้นในบาหลี ซึ่งถูกใช้เป็นเซฟเฮาส์สำหรับปฏิบัติการลับของเขา แหล่งข่าวกล่าว

“การเปิดเผยของนายกิลชาลานครั้งนี้ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหลายประเทศซึ่งกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติการลับและสายลับของอิหร่าน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติในแต่ละประเทศ”

“การดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย” แหล่งข่าวกล่าว

นายนายกิลชาลานและอดีตนักการทูตเคยมาเยือนประเทศไทยหลายครั้ง และยังได้พบกับชาวไทยมุสลิมชีอะห์ที่มีชื่อเสียงซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่าน

“ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ที่สายลับจากอิหร่านอาจกำลังปฏิบัติการลับในประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางปลอม และคนไทยบางคนก็ถูกสงสัยว่าทำงานเป็นสายลับด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการสนับสนุนในรูปแบบอื่นๆ” บางกอกโพสต์ ระบุ พร้อมกับขยายความว่า มีข้อกังวลเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเปกของไทย [ในเดือนพฤศจิกายน] ซึ่งผู้นำระดับโลกจะเข้าร่วม การเตรียมการด้านความมั่นคงเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญในระดับสูงสุด

“เราไม่สามารถที่จะปล่อยให้เกิดความไม่สงบหรือความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นได้” บางกอดดพสต์อ้่างแหล่งข่าวจากสตช.

ต่อมาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำประเทศไทย ได้มีเอกสารถึงเดอะพับลืกโพสต์ สื่อมุสลฃิมไทย มีเนื้อหาตอบโต้รายงานของบางกอกโพสต์ พร้อมทั้งประณามว่าเป็นการแพร่ข่าวเท็จ โดยระบุว่า

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ ปฏิเสธและขอประณามข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลของสื่อในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับประเทศอิหร่านและพลเมืองอิหร่าน

หลังสื่อไทยเผยแพร่ข่าวเท็จนี้ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้ดำเนินการติดตามประเด็นนี้ผ่านช่องทางการทูต จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีเจ้าหน้าที่การเมืองและความมั่นคงของไทยยืนยันข้ออ้างนี้

‘ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และมิตรภาพระหว่างสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านและราชอาณาจักรไทยมีพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจและความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด’แถลงการณ์ของสถานเอกอัครทูตอิหร้านประจำประเทศไทย ระบุ และว่า

นับตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามเริ่มต้น อิหร่านต้องเผชิญกับวิธีการใส่ร้ายป้ายสีทำนองนี้มาโดยตลอด ในขณะที่อิหร่านต้องการต่อสู้กับการก่อการร้าย รวมถึงการเอาชนะไอซิส

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมีไปมีอิทธิพลต่อการเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์อย่างสันติของอิหร่าน ซึ่งอยู่ภายใต้การสอดส่องของ IAEA โดยสมบูรณ์ ไซออนิสต์และสื่อตะวันตกบางส่วนได้เผยแพร่ข้อกล่าวหาเท็จเกี่ยวกับอิหร่าน

สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านซึ่งมีประสบการณ์เฉพาะตัวและมีประวัติความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในการต่อสู้กับการก่อการร้าย และได้เสนอความร่วมมือในเรื่องนี้แก่ประเทศที่เป็นมิตรรวมถึงราชอาณาจักรไทย

‘สถานเอกอัครราชทูตฯ ถือว่าการตีพิมพ์ข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลดังกล่าวนั้นเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และมิตรระหว่างอิหร่าน – ไทย สถานทูตจะยังคงพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันของสองประเทศของเรา’ แถลงการณ์สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำประเทศไทยซึ่งมีเนื้อหาตอบโต้รายงานของบางกอกโพสต์

ขณะที่ “ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี” นักการศาสนาคนสำคัญและผู้นำมุสลิมชีอะห์ไทยกล่าวกรณีที่เกิดขึ้นว่า เป็นที่รู้กันดีว่าอิสราเอลกับอิหร่านนั้นเป็นคู่ปรปักษ์กันมายาวนาน และขณะนี้อิสราเอลกำลังอยู่ในห้วงดิ้นรนอย่างหนัก เนื่องจากการเจรจาเพื่อรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านรอบใหม่กำลังคืบหน้าและใกล้บรรลุขั้นสุดท้าย

“อิสราเอลใช้ทุกวิถีทางในการต่อต้านทุกรูปแบบ ทั้งการก่อการร้าย การลอบสังหาร เหมือนที่เรารู้กันอย่างกรณีลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อิหร่าน หรือล่าสุดกรณีลอบสังหารนายทหารของกองทัพ IRGC แห่งอิหร่าน รวมทั้ง การใส่ร้ายอิหร่านในหลายๆกรณี’ ชัยยิดสุไลมาน ระบุว่า

เข่า กล่าาวว่า สำหรับประเทศไทย การระวังภัยให้ประเทศถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่ฉลาดยอมตกเป็นเครื่องมือต่างชาติโดยเฉพาะชาติอเมริกาและอิสราเอลนั้นย่อมไม่ดีแน่ เพราะนอกจากจะทำให้เสียมิตรประเทศแล้วอาจจะเป็นชักศึกเข้าบ้านอีกด้วย

“สิ่งสำคัญที่อิสราเอลกำลังพยายามทำอยู่ตอนนี้ก็คือ หาแนวร่วมให้ตนเอง และทำลายมิตรของอิหร่าน และวันนี้อิสราเอลกำลังปั่นให้ไทยมีปัญหากับอิหร่าน โดยโยงเรื่องที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียเพื่อใช้ไทยเป็นเครื่องมือในการต้านอิหร่าน” ซัยยิดสุไลมานกล่าว และระบุถึงรายงานของบางกอกโพสต์ว่า ผู้สื่อข่าววรายงานโดยไม่มีจรรยาบรรณของผู้สื่อข่าวมืออาชีพ การเขียนข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวนิรนาม และโยงในสิ่งที่แหล่งข่าวพูดกับผู้หลักผู้ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความเสียหายกับมุสลิมชีอะห์ ใส่ร้ายป้ายสีโดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่มีการสอบถามอีกฝั่งที่ได้รับผลกระทบ บ่งบอกว่าผู้สื่อข่าวคนนี้ไม่มีความเป็นมืออาชีพพอ ไม่ยึดถือจรรญาบรรณสื่ออย่างที่ควรจะเป็น

“มุสลิมชีอะห์ไทยมีเกียรติประวัติในการปกป้องบ้านเมืองนี้มาอย่างยาวนาน และเป็นผู้รู้ทันแผนการร้ายของศัตรูมาโดยตลอด ฉะนั้นเวลาเหล่าชาติตะวันตกต้องการจะแผ่อิทธิพลในภูมิภาคใด คนกลุ่มแรกที่พวกเขาจะต้องระมัดระวังคือชีอะห์ “ผมอยากฝากไปถึงบรรณาธิการและสำนักสื่อว่าจะรับผิดชอบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับมุสลิมชีอะห์ซึ่งเป็นประชาชนคนไทยในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วอย่างไร”

“ผมไม่ได้ร้องขออภิสิทธิ์ แต่สิ่งที่ผมต้องการคือขอให้มีความเป็นมืออาชีพในการรายงานข่าว ในการเป็นผู้สื่อข่าว โดยเฉพาะกับองค์กรสื่อที่มีชื่อเสียงอย่างบางกอกโพสต์” ซัยยิดสุไลมานกล่าว

อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. เว็บไซต์ของบางกอกโพสต์ได้เผยแพร่รายงานข่าวในภาษาอังกฤษที่เขียนโดย “นายวัสยศ งามขำ” อ้างแหล่งข่าวตำรวจระดับสูง ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออก “คำสั่งลับ” ให้ตำรวจทั่วประเทศติดตามการเคลื่อนไหวของชาวอิหร่านและชาวไทยมุสลิมที่สงสัยว่าทำงานเป็นสายลับให้อิหร่านในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด โดยเชื่อมโยงกับกรณีอินโดนีเซียจับกุมชาวอิหร่านในข้อหาใช้หนังสือเดินทางปลอม

ต่อมาทางสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงตอบโต้รายงานดังกล่าวของบางกอกโพสต์ พร้อมทั้งประณามว่าเป็นการแพร่ข่าวเท็จ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และมิตรภาพระหว่างอิหร่าน-ไทย

ขณะที่ “ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี” นักการศาสนาคนสำคัญและผู้นำมุสลิมชีอะห์ไทยก็ได้ออกมาตำหนิผู้สื่อข่าวและองค์กรสื่อดังกล่าวว่าไม่มีความเป็นมืออาชีพและปราศจากจรรยาบรรณ เป็นการเขียนข่าวด้านเดียวโดยอ้างแหล่งข่าวนิรนาม และโยงในสิ่งที่แหล่งข่าวพูดกับผู้หลักผู้ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความเสียหายกับมุสลิมชีอะห์โดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน

ต่อมา กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธข่าวของบางกอกโพสต์ โดยแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่ปรากฏข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ อ้างอิงเว็บไซต์สำนักข่าว Bangkok Post ที่อ้างว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีข้อสั่งการลับไปยังหน่วยงานในสังกัดให้เฝ้าระวังกลุ่มบุคคลสัญชาติอิหร่านและคนไทยมุสลิมชีอะห์ที่อาจแฝงตัวเข้ามาก่อเหตุความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศซึ่งเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านนั้น พล.ต.ต.เขมรินทร์ หัสศิริ ผู้บังคับการกองการต่างประเทศ/รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนให้ทราบว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง สำนักงานตำรวจแห่งชาติมิได้มีการสั่งการให้เฝ้าระวังกลุ่มบุคคลข้างต้น พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้กองการต่างประเทศตรวจสอบยืนยันกับประเทศที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางตำรวจสากลเกี่ยวกับการจับกุมคนร้ายที่ประเทศอินโดนีเซียในปี 2564 ผลปรากฏว่าทางการตำรวจอินโดนีเซียมิได้มีการประสานข้อมูลการข่าวกับทางการตำรวจไทยในการขยายผลถึงบุคคลอื่นที่อาจมี
ส่วนเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มี
‘การประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องในการรักษาสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 ในปีนี้ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีขั้นตอนและมาตรการที่กำหนดไว้แล้ว และขอเน้นย้ำว่า กรณีที่มีข้อมูลข่าวสารที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการที่เกี่ยวข้องด้วยความละเอียดรอบคอบอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศเป็นสำคัญ’ กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุ

อนึ่ง ระหว่างวันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการประชุมร่วมระหว่างตำรวจไทย-ตำรวจเมียนมา ระดับบริหาร ครั้งที่ 1 โดยมีการหารือในหัวข้อเรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายในภูมิภาค และที่ประชุมได้เห็นพ้องตรงกันว่า ภัยก่อการร้ายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะต้องร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค พร้อมทั้งจะมีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยคุกคามที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้ายเพื่อป้องกันการโจมตีในทุกรูปแบบ

ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ดำเนินการตรวจสอบการเสนอข่าวของสำนักข่าว Bangkok Post และสื่ออื่นๆที่ได้นำเสนอข่าว ตามอำนาจหน้าที่ซึ่งระบุไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง