WHO ชมไทย มีความพร้อมแก้โควิด ยกเป็นประเทศต้นแบบ “อนุทิน” ย้ำ เป้าบริหาร ต้องคุมโรค และเร่งฟื้นเศรษฐกิจ ควบคู่กัน พร้อมระบุ การผลักดันให้ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ขึ้นอยู่กับการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ
วันที่ 25 เม.ย. 2565 ที่ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเต็ล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ร่วมกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (นำร่อง) หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) Pilot โดยมี ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวม 200 คน ร่วมงานทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศต้นแบบ ประเทศที่ 3 ซึ่งนำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก และไทยเป็นประเทศนำร่องที่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์สู่สาธารณะในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก 2565 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเกิดการพัฒนาเครื่องมือและกลไกใหม่ รองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสำหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคตนายอนุทิน กล่าวถึงปัจจัย ความสำเร็จในการควบคุมโควิด 19 ของประเทศไทย ว่า ความร่วมมือจากประชาชนคือส่วนสำคัญ เช่นเดียวกับที่ไทยมีระบบสุขภาพที่ยอดเยี่ยมเป็นทุนเดิม โดยมีความพร้อมด้านการจัดหาเวชภัณฑ์ สถานบริการด้านสุขภาพ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การช่วยเหลือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ล่าสุด ทาง ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสายงานเรื่องการเตรียมพร้อม ในการป้องกันด้านสาธารณสุข ในสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเป็นผู้รายงานโดยตรงกับทาง ผอ.องค์การอนามัยโลก โดยเราได้เคยพบกันเมื่อปลายปีที่แล้ว และมีผลต่อเนื่องถึงการจัดกิจกรรมในวันนี้ ต้องขอบคุณที่ WHO ที่ให้ความไว้วางใจระบบสุขภาพของไทย ด้านดร.สมิลา อัสมา ได้กล่าวสุนทรพจน์ชื่นชมว่าประเทศไทย มีความพร้อม และมีความมุ่งมั่นในการจัดการโควิด 19 การได้รับคำชื่นชมเช่นนี้ จากหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านสุขภาพระดับโลก นับว่าเรามีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และทาง WHO ยังกล่าวอีกว่า จะนำวิธีการที่ใช้ในการควบคุมโรค ไปเป็นตัวอย่างให้ ประเทศอื่นนำไปปฏิบัติตามส่วนการผลักดันให้โควิด -19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้น นายอนุทิน กล่าวว่า สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด คือ การควบคุมโรค ต้องมีประสิทธิภาพ ต้องควบคุมได้ มีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด เมื่อทำได้ มันก็เหมือนการเดินเข้าไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่น การเป็นโรคประจำถิ่น ต้องดูว่า มี มียาพร้อมไหม ทานปลัดกระทรวงฯ ท่านอธิบดีกรมการแพทย์ แจ้งว่าพร้อม มีสถานพยาบาล มีบุคลกรพร้อมไหมทุกท่าน ทุกท่าน ก็บอกว่าพร้อม แล้วประเทศไทย มีความโชคดีกว่าเพื่อน ที่เรามี อสม. ไว้ค่อยช่วยดูแล ระบบสาธารสุขของไทย เราพยับปรับตัวเอง ให้เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น อยู่ทุกวัน วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ เราก็เลิกแล้ว TEST AND GO แต่เพื่อให้ประชาชนรู้สึกสบายใจ ที่ชินกับการตรวจเข้มมานาน จึงยังต้องให้ตรวจ ATK ถ้าในอนาคต เมื่อสถานการร์ดีขึ้น ก็ต้องผ่อนคลายไปเรื่อยๆ คำว่าโรคประจำถิ่น มันอยู่ที่พฤติกรรม วันนี้ เราฉีดวัคซีนกันครบรึยัง ถ้าครบแล้ว เมื่อกำหนดเข็มที่ 4 มาแล้ว ก็ขอให้ไปรับ เรื่องความสูญเสียจากโควิด 19 ตามรายงาน จะมีเสียชีวิตจากโควิด 19 มันจะมีเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยตรง เกิดในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่สำคัญคือ 97% ของผู้ที่เสียชีวิต ไม่ได้รับวัคซีน แม้แต่เข็มเดียว
อีกอย่างคือ การเสียชีวิต แล้วมีโควิดเป็นโรคร่วม หรือ เสียชีวิต โดยที่โควิด 19 ไม่ได้เป็นสาเหตุหลัก เราไม่อยากให้ใครเสียชีวิตทั้งนั้น แต่ข้อมูลที่ได้รับมันจะช่วยให้เราพัฒนาศักยภาพในการควบคุมโรค วันนี้ เราได้รับารายงานว่า อัตราการใช้อุปกกรณ์ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ ลดน้อยลง และเตียงที่ใช้ ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น เรามีห้อง ICU เหลือ พอสมควร ที่จริงคือ เราก็ไม่อยากใช้ เราไม่อยากเห็นการป่วยหนัก เรื่องของยา ได้สำรองไว้ตลอด เรามียาฟาวิพิราเวียร์ มีเรมดิซิเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ มี แพกซ์โลวิด เราพยายามให้มียาหลากหลายประเภท ให้สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละคน เราจำเป็นต้องหาทางเลือก ให้สอดคล้องกับารเปลี่ยนแปลงของโรค เช่น ตอนมีวัคซีน เราไม่เคยอยู่เฉย ได้พยายามหาวัคซีนเข้ามาหลากหลายชนิด เราพยายามลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด ไม่มีใครอยากเห็นการเสียชีวิต
ตอนนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการลดยอดผู้ป่วยหนัก ยอดผู้เสียชีวิต ป่วย แล้วต้องรักษาได้ แต่ถ้าจะมาพูดกันเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ ก็ต้องล็อกดาวน์ ถ้าอยากได้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ถามว่าเราจะทำตรงนั้นไหม มันเลยตอนนั้น ไปแล้วหรือยัง ประเทศส่วนใหญ่ เขาก้าวข้ามไปแล้ว เราอยากได้ตัวเลขสวยๆ แต่ทำมาหากินไม่ได้หรือ เราต้องดูว่า เราจะทำอย่างไรได้ เพื่อให้ทุกมิติ ดำเนินต่อไปได้ เราผ่านการดูถูกต่อว่า เราผ่านเสียงวิจารณ์ แต่เราเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขไทย รัฐบาลก็เชื่อหมอ เราเชื่อวิชาการ เรารับฟังเสียงวิจารณ์ แต่เราใช้ความรู้ด้านการระบาดวิทยา เราใช้ประสบการณ์ในการควบคุมดูแลโรค ในการดูแลสถานการณ์ วัคซีน เราก็มีจำนวนมาก ล่าสุด เพิ่งได้วัคซีนโปรตีนซับยูนิตเข้ามา เป็นทางเลือกด้านวัคซีนที่เพิ่มเข้ามา