เลขาฯ พรรคประชาชาติ ลงพื้นที่ ให้กำลังใจชุมชนแดงบุหงา ริมทางรถไฟมักกะสัน หลังถูกขีดเส้นตาย ให้รือถอนที่ดินภายในวันที่ 31 มี.ค. จากโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์เฟสบุ๊ค เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2565 ระบุว่า วันนี้ ผมและทีมงานได้เดินทางเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจชุมชนแดงบุหงา ริมทางรถไฟมักกะสัน ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชน ที่ถูกไล่รื้อจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะอาศัยโครงสร้างและแนวเดินรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย และสร้างทางเดินรถไฟส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ 1) ตั้งแต่สนามบินสุวรรณภูมิไปสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา และ 2) จากสนามบินสุวรรณภูมิไปสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง โดยจะมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีมักกะสันการรถไฟเร่งไล่ที่ให้ถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินริมทางรถไฟ ภายในเส้นตาย 31 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบางคนอาศัยอยู่ที่นี่มายาวนานกว่า 60 ปี จะเห็นว่าโครงการขนาดใหญ่รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจทุนนิยมเพียงด้านเดียว ทำให้เกิดผลกระทบต้องไล่รื้อ และพรากคนที่อยู่อาศัยในแนวพื้นที่โครงการจำนวนมาก จึงเป็นปัญหาที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสรัฐอ้างว่า เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา เพื่อการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่พบว่า เอกชนคู่สัญญาครบกำหนดชำระค่าให้สิทธิ์ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นเงินจำนวน 10,671 ล้านบาทเศษ (ถึงกำหนดชำระวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ) เบี้ยวชำระเงินให้รัฐ ขอขยายระยะเวลาการชำระโดยอ้างปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด ทั้งที่เอกชนคู่สัญญาเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ กิจการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่เป็นบริษัทลูกของการรถไฟ มีมูลค่าการลงทุนเกือบ 4 หมื่นล้านบาท รัฐต้องกู้เงินเป็นหนี้สาธารณะ จำนวน 34,362 ล้านบาทเศษ เอกชนจ่ายค่าสัมปทานเพียงจำนวน 10,671 ล้านบาทเศษเท่านั้นรัฐต้องรับภาระหนี้ของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ อีกจำนวน 22,558 ล้านบาทเศษ คู่สัญญาสามารถเข้ามาหาผลประโยชน์ได้เลยทันทีเสมือน “เสือนอนกิน” ขณะนี้เวลาผ่านเลยมา 6 เดือน รัฐยังมีความเมตตากับคู่สัญญาที่เป็นเอกชนอย่างไม่คำนึงถึงความชอบธรรม แต่สำหรับชาวบ้านไร้ที่อาศัยเป็นผู้เดือดร้อนไม่มีที่อาศัย ครอบครัวมีทั้งเด็กเล็ก ผู้สูงอายุจำนวนมาก มีความยากไร้ ปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง รายได้ตกต่ำ โรคระบาดโควิดในชุมชน กับการถูกขับไล่ออกจากบ้านที่อยู่มานานหลายชั่วอายุคน กลับไม่ได้รับการประนีประนอม รัฐยังไม่มีแผนสำรองในการหาที่อยู่ใหม่โดยทันที ซึ่งสถานการณ์ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย หรือการไร้ที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และยังเป็นปัญหาหนักยิ่งขึ้นที่ต้องถูกไล่รื้อจากโครงการพัฒนาที่ไม่เห็นคุณค่าของคนที่อาศัยอยู่เดิม