เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกเข้าเยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี พร้อมปาฐกถาพิเศษเน้นกานให้ความสำคัญกับการฟัตวาในพื้นที่เพื่อให้การปฏิบัติของพี่น้องมุสลิม เป็นด้ววยคสามเหมาะสม
วันที่ 15 กุมถาพันธ์ ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ได้เข้าคารวะนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราบมนตรี และพบปะพี่น้องมุสลิมไทย ณ หอประชุมศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ถนนคลองเก้า เขตหนองจอก
กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสนี้ ได้ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ
ความเอื้ออาทรระหว่างศาสนากับการสร้างสัมพันธภาพ ประเด็นน่าสนใจที่ ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกได้นำเสนอ คือ
ความสำคัญของการคำนึงถึงการออกประกาศคำวินิจฉัยด้านศาสนา (ฟัตวา) ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่มุสลิมส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยให้ความสนใจกัน
ด้วยเหตุนี้แล้ว สมควรอย่างยิ่ง ในทุกสำนักงานอิสลาม หรือองค์กรศาสนาอิสลามทั่วโลก จะต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการด้านการชี้ขาด วินิจฉัยด้านศาสนา (ฟัตวา) ที่คอยคัดสรรบุคคลที่จะทำหน้าฟัตวาในแต่ละเมือง หรือประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต้องเป็นนักวิชาการศาสนา (อุละมาอ์) ในเมืองหรือประเทศนั้น ๆ ด้วย
ด้วยเหตุนั้นแล้ว ในงานสัมมนาความเป็นเอกภาพอิสลามของนักวิชาการอิสลามทั่วโลก ได้มีคำชี้แจงสรุปจากการสัมมนาฯ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามออกประกาศฟัตวานอกเขตพื้นที่ เพราะเหตุใด …..??
เพราะนักวิชาการศาสนา (อุละมาอ์) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า การฟัตวา การตัดสินข้อชี้ขาดนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ 6 ประการ ดังนี้
1.กาลเวลา 2. สถานที่ 3.สภาพการณ์ 4.ขนบธรรมเนียมประเพณี (อาดะห์)
5.หลักเจตนารมณ์ 6. ตัวบุคคล
ฉะนั้น เป้าหมาย หลักเจตนารมณ์จากตัวบทของบทบัญญัติศาสนานั้นมาเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุงกิจการของคนมุสลิมทั้งในเรื่องศาสนาและทางโลก แน่นอนว่า หลักเจตนารมณ์นั้นจึงจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา และสถานที่ ด้วยเหตุนั้นบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามนั้นจะต้องคงอยู่ถาวร ชั่วนิรันดร และเป็นบทบัญญัติสุดท้าย (ที่เหมาะสม สอดคล้องแก่ทุกกาลเวลาและสถานที่
ถอดความ อิสมาอีล สิงหาด