แอดมิน เพจข่าวสารการขนส่งฯ งัดเบื้องหลัง ตีแผ่นความไม่ชอบมาพากล โครงการอุตสาหกรรมจะนะ เผยเป็น คนในพื้นที่ และ เคยลงไปสัมผัสคลุกคลีกับชาวบ้าน และ รู้ดีว่า คนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ คิดอย่างไรกับโครงการนี้
แอดมิน เพจ ข่าวสารการขนส่งและการพัฒนา หรือ Logistics & Development Thailand Forum นำประเด็นร้อน โครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา มาตีแผ่ โดยระบุว่า …วันนี้แอดมินจะนำเสนอข่าวที่เป็นประเด็นร้อนแรงและน่าจับตาถึงความผิดปกติใน Timeline เบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับคน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4อำเภอของจังหวัดสงขลา รวมไปจนถึงอำเภอ “จะนะ” 1ในพื้นที่ที่ถูกประกาศให้อยู่ในพื้นที่ที่มี “เหตุการณ์กระทบความมั่นคง” และเกิดโครงการพัฒนาสำคัญที่จะพลิกระบบเศรษฐกิจในพื้นที่นี้ นั่นคือโครงการ “นิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตจะนะ”
แอดมินเองออกตัวก่อนว่าเป็นคนในพื้นที่จังหวัดสงขลา และเคยลงพื้นที่อำเภอจะนะ บ้านสวนกง 1ในพื้นที่ที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะนะ พร้อมกับสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แต่ทำงานกันคนละส่วน และทราบดีว่าชาวบ้าน “ส่วนใหญ่” คิดเห็นอย่างไรกับโครงการนี้และกลุ่มคนที่คัดค้านโครงการนี้ แต่ที่รับไม่ได้คือการนำเสนอของสำนักข่าวบางสำนักที่พูดความจริงแค่เพียงครึ่งเดียว หรือไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าทำไมโครงการนี้จึงสำคัญ โครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต มีทั้งสิ้น 4 โครงการคือ
1. โครงการก่อสร้างท่าเรือเพื่อการพาณิชย์และการท่องเที่ยว ซึ่งเขาคงหมายถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ วงเงินลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท มีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการขนส่งเชิงพาณิชย์ เป็นเกตเวย์ที่ 3 ของประเทศไทย โดยมีรูปแบบที่รวมเอาท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือคลองเตยเข้าด้วยกัน 2. การสร้างรางรถไฟเชื่อมท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า 3. พลังงานไฟฟ้าทางเลือก เช่น โรงไฟฟ้าพลังลม 800-1,500 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 1,500-2,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 300-500 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 300-500 เมกะวัตต์ และ
4. นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ประกอบด้วย 1. อุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, การแพทย์ครบวงจร 2. อุตสาหกรรมเกษตร เช่น โรงงานอาหารแปรรูป, อาหารฮาลาล และ 3. อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตกังหันลมและเครื่องกำเนิด, ผลิตหัวรถจักรและแคร่ขนตู้, ผลิตแท่นเจาะน้ำมัน, ผลิตรถไฟฟ้า (EV car) เป็นต้น
และโครงการนี้ได้ทำการประชาพิจารณ์แก่ประชาชนในพื้นที่กว่า 3,000-4,000คน คลอบคลุมพื้นที่ทุกตำบลในเขตที่จะเกิดนิคมอุตสาหกรรม และมีการประชาพิจารณ์ครั้งใหญ่สุดเมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2563 ที่ชาวบ้านกว่า 15,000 คน หรือประชาชนที่มาจากทั้งอำเภอจะนะพื้นที่ที่เข้าข่ายได้รับผลกระทบโดยตรง ร่วมกันกำหนดอนาคต เสนอปัญหาที่ชาวบ้านอยากให้แก้ไข มีการนำเสนอการดำเนินงานทุกขั้นตอนให้แก่ชาวบ้านทั้งกระบวนการทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรือ EIA และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนหรือ EHIA ตามหลักสากลให้ชาวบ้านรับรู้รับทราบร่วมกัน และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นความสำคัญเห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะคือการกำหนดอนาคตของพวกเค้าและพี่น้องในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโครงการต่อเนื่อง
คือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อตอบรับผลผลิตและวิถีชีวิตของพี่น้องในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่ที่ผิดปกติคือ ปลายปี2563 มีกลุ่มคัดค้านเดินทางด้วยรถบัสมาจากจังหวัดสตูล มุ่งหน้ามายังพื้นที่ที่กำลังทำประชาพิจารณ์พร้อมเครื่องขยายเสียงซึ่งมีความเสี่ยงที่จะมาก่อกวนการทำประชาพิจารณ์ ฝ่ายความมั่นคงจึงได้เข้าตรวจสอบกลุ่มคัดค้าน ตรวจบัตรประชาชนจึงได้ทราบว่าไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ตามที่กฏหมายว่าด้วยการทำประชาพิจารณ์ที่คลอบคลุมประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ คำถามคือมาทำไม ด้วยเหตุผลอะไร อนาคตจะนะควรจะให้คนจะนะตัดสิน
กุญแจสำคัญในโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตคือท่าเรือขนส่งสินค้าเพื่อนำเข้าและส่งออกขนาดเทียบเท่าท่าเรือน้ำลึกปีนัง มาเลเซีย เพราะในพื้นที่มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมด้านยางพารา แปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และสินค้าแปรรูปจากปาล์มน้ำมันซึ่งมีศักยภาพที่สูงมากย้ำว่าสูงมาก โดยรับซื้อผลผลิตจากคนในพื้นที่ เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของพื้นที่คนใต้มีงานทำ มีพืชผลผลิตอะไรก็มีตลาดรองรับโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่แอดมินกล่าวไปข้างต้น แต่ส่งออกไม่ได้ต้องไปใช้ท่าเรือปีนังของประเทศมาเลเซียเพื่อส่งออกคนที่เสียประโยชน์คือคนในพื้นที่ และที่เป็นผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และ SME ต้องเสียภาษีผ่านแดนเสียภาษีต่างๆมากมายจนต้นทุนสินค้าพุ่งสูงเป็น3-4เท่าตัว จากราคาต้นทุนหลังผ่านระบบการผลิต
หากใครนึกไม่ออกว่าเสียหายปีละเท่าไหร่ จากข้อมูลกองความร่วมมือการค้าและการลงทุนกรมการค้าต่างประเทศ และกรมศุลกากรรายงานตัวเลขมูลค่าสินค้าผ่านแดนสุทธิครึ่งปี2562 กว่า 564,628.87 ล้านบาท หรือกว่าครึ่งของมูลค่าสินค้าผ่านแดนรวมทั้งประเทศ!! โดยมาจากการส่งออกเป็นหลัก และสินค้าส่วนใหญ่จะมานำผ่านแดนในพื้นที่ด่านศุลกากรในจังหวัดสงขลาทั้ง 3 แห่ง เพื่อเตรียมส่งออกไปขึ้นเรือที่ท่าเรือน้ำลึกปีนัง มาเลเซีย เนื่องจากอยู่ไกล้ท่าเรือปีนังมากที่สุด และภาคใต้ไม่มีท่าเรือส่งออกที่รองรับจำนวนสินค้ามหาศาลขนาดนี้ได้ท่าเรือน้ำลึกสงขลาไม่สามารถขยายได้อีกต่อไปเพราะติดปัญหาการขวางกระแสน้ำไหลเข้าออกทะเลสาบสงขลาเกิดการทับถมของตะกอนทำให้ทะเลสาบสงขลาตื้นเขินขึ้นทุกปี กรมเจ้าท่าต้องเสียงบประมาณกว่า15-30ล้านบาทต่อปีเพื่อขุดลอกเปิดการไหลของน้ำ มูลค่ามหาศาลที่เราสูญเสียไปคนไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แต่ฝ่ายที่ได้ประโยชน์คือประเทศมาเลเซีย ที่มีลูกค้าที่ใช้บริการท่าเรือหลักของประเทศแห่งนี้คือคนไทย
และที่แอดมินสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดและพร้อมรับฟังเสียงคนเห็นต่างเพราะปัจจุบันคนในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4อำเภอของสงขลามีปัญหาการว่างงานมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของประเทศ และคนในพื้นที่จำนวนมากต่างต้องเดินทางไปขายแรงงานที่ประเทศมาเลเซียข้อมูลจากกรมแรงงาน ปีละกว่า 40,000คน ส่วนใหญ่ไปโดยผิดกฏหมายซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากเนื่องจากพื้นที่ไม่มีตำแหน่งงานรองรับจากการไม่มีนักลงทุนกล้าไปลงทุนในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ และอย่าลืมไม่ใช่ทุกคนจะมีที่ดินทำกินหรือมีบ้านอยู่ติดทะเลที่สามารถออกเรือไปหาปลาได้เช่นชาวบ้านบางกลุ่ม ทางรัฐบาลเลยมีความเห็นจะสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านอาหารฮาลาล ยางพารา
และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเนื่องจากห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาไปเพียง200 กิโลเมตรก็เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติและนำ้มันขนาดใหญ่ ที่ใหญ่ที่สุดในทะเลอ่าวไทย ที่มีการขุดเจาะอยู่ โดยพื้นที่ในส่วนนี้ได้มาจากการวัดเส้นฐานทวีปออกไปจากอาณาเขต3จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4อำเภอของสงขลา รวมไปถึงเกาะสำคัญที่ทำให้พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นของคนไทยคือ “เกาะโลซิน” เกาะหินเล็กๆที่เพื่อนบ้านจ้องตาเป็นมันจนเกิดข้อโต้แย้งอ้างสิทธิจากฝ่ายมาเลเซียเพื่ออยากได้เกาะนี้มาไว้ในครอบครอง เนื่องจากมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท ฝ่ายไทยเสียเปรียบอย่างมากจากการใช้วิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของเขตไหล่ทวีปและจะทำให้พื้นที่ที่มีก๊าซธรรมชาติทั้งหมดตกเป็นของมาเลเซีย แต่ด้วยอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958ได้กำหนดนิยามคำว่าเกาะรวมไปถึงกองหินและแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ และกองทัพเรือได้ไปสร้างประภาคารเพื่อแสดงอาณาเขตไว้ก่อนจะเกิดกรณีพิพาท ทำให้เกาะนี้ยังเป็นของไทย และได้ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติส่งไปยังโรงไฟฟ้าจะนะและโรงไฟฟ้าขนอมหล่อเลี้ยงทั้งภาคใต้ ก่อนที่จะหมดอายุลงในปี 2572 ที่ข้อตกลงจะหมดอายุและเกาะโลซินจะหมดสภาพความเป็นเกาะ ลูกเพจเห็นความสำคัญของพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้และ4อำเภอของจังหวัดสงขลาที่เกิดความขัดแย้งอยู่ในขณะนี้หรือยัง
จึงโยงไปถึงนโยบายที่ทั่วโลกใช้และได้ผลเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง คือการนำความเจริญด้านเศรษฐกิจและการศึกษาเข้าไปเพื่อสลายความขัดแย้งทางเชื้อชาติหรือทางศาสนา สร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันและเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีงานทำมีแหล่งรองรับสินค้าทางการเกษตรจำนวนมหาศาลประชาชนได้ลืมตาอ้าปาก เราได้เห็นบทเรียนจากทั่วโลกมาแล้วในการใช้คนเป็นเครื่องมือในผลประโยชน์ด้วยการใช้ศาสนามาทำให้เกิดความแตกแยกและความรุนแรง แอดเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีหมด ทุกศาสนาสอนให้คนรักกัน ไม่ว่าจะศาสนาอิสลาม พุทธ หรือคริสต์ เป็นศาสนาที่ดีและค้ำจุนโลกเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่ผิดคือกลุ่มคนที่ใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมือ ปลุกระแสโน้มน้าวใจแทรกแซงกิจการภายในผ่านระบบ NGO ที่มีอยู่ในพื้นที่จำนวนมากทั้งถูกฏหมายและผิดกฏหมาย การใช้เด็กเป็นกระบอกเสียงเพื่อชิงพื้นที่สื่อ และกำลังเกิดแบบนี้ขึ้นใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่ทุกคนรู้ดีและข่าวออกเป็นประจำคือขบวนการกลุ่มแบ่งแยกดินแดนใช้ 2 สัญชาตินั่นคือไทย มาเลเซีย ก่อเหตุในไทยก็หลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติโดยที่ทางการไทยไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเค้าเหล่านั้นเป็นพลเมืองของประเทศมาเลเซียเช่นกัน ที่น่าสงสัยและสร้างความเคลือบแคลงใจต่อประชาชนในพื้นที่คือเมือจะเห็นความเชื่อมโยงไปยังกลุ่มสส.พรรคการเมืองหนึ่งที่มีฐานเสียงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกมาคัดค้านการสร้างกำแพงกั้นชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่จะสร้างว่าปิดกั้นสายสัมพันธ์พี่น้องมาลายู ทั้งๆที่กำแพงที่สร้างนี้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองผิดกฏหมายผ่านช่องทางธรรมชาติ ป้องกันการขนสินค้าผิดกฏหมาย และชาวบ้านปกติก็ใช้ด่านชายแดนเพื่อเดินทางติดต่อกันอย่างถูกต้อง เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนว่าอำนาจมืดที่แท้จริงแฝงตัวอยู่ในพื้นที่มานานมากแล้วและมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกลับกลุ่มการเมืองส่วนกลางที่กำลังเคลื่อนไหวในขณะนี้ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่นจากสำนักข่าวท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เป็นวงกว้างถึงความผิดปกติในครั้งนี้
เหตุนี้เองรัฐบาลได้นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดการจ้างงานการลงทุน เกิดระบบเศรษฐกิจที่รองรับจากอาชีพที่ประชาชนในพื้นที่ทำอยู่ และปัจจุบันสถาบันอาชีวะศึกษาในภาคใต้กว่า20แห่งได้ประกาศเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมผลิตบัณฑิตที่มีทักษะสูงตอบสนองอุตสาหกรรมเกิดใหม่ในพื้นที่จากการลงทุนในครั้งนี้ หรือเสียงของประชาชนอีกกลุ่มมันไม่มีความหมายไม่ดังพอที่จะทำให้สื่อทั้งหลายนำเสนอข่าวอีกด้านเลยหรือ?
ก่อนกลับจากลงพื้นที่วันนั้น บังเลาะบอกกับผมทิ้งท้ายว่า “เอ๋นจีโอเท่นี้มันแร้งหลูกบ่าวเห้อ โลกหลานโม๋เราไปทำงานไปอยู่เท่เอินกันเหม็ดแล้ว ไม่ต้องพัฒนาอะไรกั๋นแล๋วหยอมนี้ โบ๋ค้าน ค้านกันจนยังรถ ยังบ้าน รวยหยั่งๆกั๋นไปแล้วนุ” แปล : NGO ที่นี่มันแรงนะลูก ลูกหลานพวกเราไปทำงานที่อื่นกันหมดแล้ว ไม่ต้องพัฒนาอะไรกันแล้วแผ่นดินตรงนี้ คนค้าน ค้านกันจนรวยเอาๆ มีบ้าน มีรถกันไปหมดแล้ว