ผู้ปกครองฟังไว้”มะฮัรแพง” นำไปสู่การทำบาป

สาระหน้ารู้เกี่ยวกับเรื่อง”มะฮัร”

จากปัญหาที่กำลังเป็น ประเด็นในสังคมมุสลิมเราอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง”มะฮัร” ที่ทางฝ่ายพ่อแม่ของหญิงมักจะเรียกมะฮัรที่สูงลิ่ว จนทำให้ฝ่ายชายไม่สามารถหามาสู่ขอได้ผลที่ตามมา คือได้รับความเสียหายจนเกิดเป็นฟิตนะอ์ขึ้นอย่างที่เราเห็นกันเป็นประจำในสังคมบ้านเมืองของเรา เพราะเราไม่ได้เอาชะรีอัตมาเป็น บรรทัดฐานนั่นเองแต่กลับไปเอาค่านิยมของคนต่างศานิกมาเป็นบรรทัดฐานแทน
มะฮัร หมายถึง: ทรัพย์สินเงินทอง หรือคุณประโยชน์อื่นๆ ที่ฝ่าชายต้องมอบ ให้กับฝ่ายหญิง เนื่องจากการสมรส ดังปรากฏในอัลกรอ่าน ความว่า “และพวกเจ้าจงให้ทรัพย์มะฮัร แก่บรรดาหญิง (ที่พวกเจ้าแต่งงาน)
ด้วยความเต็มใจ (อัลนิซาอ :4)

สาระที่ควรรุ้ของมะฮัรมีดังนี้:

ฝ่ายหญิงมีสิทธิ ที่จะเรียกรองมะฮัร จากฝ่ายชาย ได้ตามความเหมาะสม
บิดามารดา หรือวะลีย์ ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินมะฮัรดังกล่าว เว้นแต่ฝ่ายหญิงมอบให้ ยกให้ หรืออนุญาตให้ใช้จ่ายได้
ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ ขอลดปริมาณทรัพ์มะฮัร ที่ได้ตกลงกันแล้ว
ถ้าฝ่ายชายเสียชีวิตก่อนได้ร่วมประเวณี ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องมะฮัร ที่คงค้างได้ ไม่เกินครึ่งหนึ่งของมะฮัรทั้งหมด
ก่อนการร่วมประเวณีครั้งแรกฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะขัดขืนไม่ยินยอมให้ฝ่ายชายร่วม ประเวณีได้ จนกว่าฝ่ายชายจะจ่ายทรัพย์มะฮัรตามที่ได้ตกลงกันไว้
ถ้าฝ่าชายหย่าร้างก่อนร่วมประเวณีอันเนื่องมาจากฝ่ายหญิงไม่ยินยอมฝ่ายชายมิ สิทธิเรียกทรัพย์มะฮัรกลับคืนได้ทั้งหมด

การที่ฝ่ายหญิงจะกำหนดปริมาณทรัพย์มะฮัร ควรพิจารณาปริมาณทรัพย์มะฮัรของพี่สาวหรือน้องสาวของบิดา หรือญาติผู้หญิงของบิดาเป็ยเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในระยะเวลาที่ห่างกันไม่มากนัก
ทั้งฝ่ายชายและหญิง มีสิทธิที่จะตกลงกำหนดเวลาชำระ เพิกถอน เพิ่มเติม หรือลดทรัพย์อยย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้วก็ย่อมได้

ข้อควรคำนึงสำหรับฝ่ายหญิง คือไม่ควรกำหนดค่ามะฮัร มากจนเกินไป เพราะมีรายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ รอฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า:” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “ความดีของสตรีนั้น คือทรัพย์มะฮัรน้อย การแต่งงานง่าย ๆ อุปนิสัยดี และที่ชั่ว ๆ ของนาง คือทรัพย์มะฮัรแพง การแต่งงานแบบลำบาก อุปนิสัยไม่ดี ”

นอกจากนั้น การกำหนดค่ามะฮัรแพง เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระ ให้แก่ฝ่ายชาย ซึ่งจะเกิดผลกระทบ กับการใช้ชีวิตในอนาคตนั่นเอง