เปิดคำวินิจฉัยจุฬาราชมนตรีร่วมงานศพต่างศาสนิก แบบไหนได้หรือไม่ได้

พิธีรดน้ำศพ ภาพ wikipedia

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีคำถามถึงข้อปฏิบัติของข้าราชการมุสลิมเกี่ยวกับพิธีการต่างๆต่อจุฬาราชมนตรี เมื่อปี 2524 จุฬาราชมนตรี ประเสริฐ มะหะหมัด ได้ตอบข้อวินิจฉัยทางศาสนาจำนวน 23 ข้อ เกี่ยวกับปัญหาคในการปฏิบัติตัวของข้าราชการและมุสลิม โดย ปัญหาที่ 18 เรื่องของการเข้าร่วมงานศพ

ปัญหาในพิธีฌาปนกิจศพของคนไทย ที่นับถือศาสนาพุทธ ใคร่ขอทราบว่ามุสลิมจะเข้าร่วมในพิธีเผาศพได้หรือไม่ และจะเป็นการขัดกับหลักศาสนาหรือไม่

คำตอบ

การเข้าร่วมพิธีเผาศพ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม การเข้าไปร่วมแสดงความเสียใจในงาน และเยี่ยมเยียนครอบครัว ของผู้ตายต่างศาสนา รวมทั้งการช่วยเหลือด้านต่างๆ นั้น ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการรดนำสำที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กรณีของประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่นั้น ไม่มีรายละเอียดของการวินิจฉัย แต่รองประธานกอจ.กระบี่ ได้อ้างความเห็นของอ.ฮากัม วันแอเลาะ ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี ให้ความเห็นว่า การรดน้ำศพไม่ใช่พิธีทางศาสนา แตมีข้อโต้แย้งว่า แม้ไม่ใช่พธีทางศาสนาพุทธ แต่เป็นพิธีทางพราหมณ์ที่พุทธศาสนิกชนนำมาปฏิบัติ

ในเวบไซด์ wikipedia ให้รายละเอียดพิธีรดน้ำศพไว้ว่า ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้วจะนำศพมาทำพิธี ซึ่งพิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า “พิธีรดน้ำศพ” ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป

เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพจากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ ท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับ