ปภ. ประกาศ เตือนปชช.ในพื้นที่เฝ้าระวัง “ท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก-น้ำล้นตลิ่ง”

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ประกาศ เตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก-ล้นตลิ่ง เผย พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ระบุ ขอให้เจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ

วันที่ 21 ต.ค.2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวัน ระบุว่า พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ภาคเหนือ จ.อุทัยธานี (อ.ลานสัก หนองฉาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านเขว้า บ้านแท่น เทพสถิต จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เกษตรสมบูรณ์ เนินสง่า หนองบัวระเหว), ขอนแก่น (อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท มัญจาคีรี พระยืน บ้านแฮด บ้านไผ่ เมืองฯ), มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองฯ), กาฬสินธุ์ (อ.ฆ้องชัย), ร้อยเอ็ด (อ.ทุ่งเขาหลวง เชียงขวัญ), นครราชสีมา (อ.โนนสูง สีคิ้ว พิมาย ด่านขุนทด สูงเนิน ขามทะเลสอ ปักธงชัย เมืองฯ คง เมืองยาง ประทาย โนนไทย), บุรีรัมย์ (อ.นางรอง เมืองฯ เฉลิมพระเกียรติ) และ ศรีสะเกษ (อ.ภูสิงห์ ขุนหาญ ขุขันธ์)

ภาคกลาง จ.ลพบุรี (อ.บ้านหมี่ โคกสําโรง ชัยบาดาล ลำสนธิ), สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า สองพี่น้อง), สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี พรหมบุรี), อ่างทอง (อ.เมืองฯ ไชโย ป่าโมก วิเศษชัยชาญ สามโก้), พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ เสนา บางบาล พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน บางปะหัน มหาราช บางซ้าย), นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน), ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก), ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ ประจันตคาม กบินทร์บุรี), ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต) และ สระแก้ว (อ.เมืองฯ วัฒนานคร)

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ จ.เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี, ภาคกลาง จ.ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคใต้ จ.พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และ สตูล (อ.ทุ่งหว้า)

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย